นักวิจัยพบว่าการได้รับสารเคมีบางชนิดตั้งแต่เด็ก อาจทำให้เด็กหญิงเป็นสาวก่อนวัยและมีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและโรคเบา หวานเมื่อโตขึ้น
นักวิจัยพบว่าการได้รับสารเคมีบางชนิดตั้งแต่เด็ก อาจทำให้เด็กหญิงเป็นสาวก่อนวัยและมีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและโรคเบาหวานเมื่อโตขึ้น (ที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์https://paidoo.net/tag/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5)
ปฏิกิริยาเคมีมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การที่ร่างกายได้รับสารเคมีมากเกินไปทำให้
อัตราการเกิดปฏิริยาเคมีในร่างกายสูงขึ้นและมีผลทำให้ร่างกายแก่ก่อนวัยและนอกจากนั้นยัง
เป็นสารตกค้างก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วย
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 3.2
เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิด
การเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิมการเกิดปฏิกิริยาเคมี
จำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)
ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่
ที่เรียกว่า " ผลิตภัณฑ์ " (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจาก
สารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมัน
โดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี
โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ(เป็นที่รู้จักกันในนาม
ของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตาม คำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดย
ปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับ
คู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์
ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็ว
หรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยา
ได้เร็วขึ้น
5. ธรรมชาติของสารตั้งต้น
คำถามพิเศษ
1. สาเหตุที่ทำให้เด็กสาวแก่ก่อนวัยคืออะไร
2. มีวิธีป้องกันสารเคมีจากการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
3. ตัวเร่งปฏิกิริยามีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นในการป้องกันตนเองจากสารเคมีต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
2.จัดกิจกรรมให้นักเรียนยกตัวอย่างกิจกรรมใดในชีวิตประจำวันที่อาจมีผลให้ได้รับสารเคมีที่เป็น สารตก
ค้างมีอันตรายต่อร่างกายได้
การบูรณาการ
1.ให้นักเรียนวาดภาพอาหารที่อาจมีสารเคมีปลอมปนอยู่
2.ให้สำรวจสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และแยกได้ว่าสารใดที่พบมากที่สุด
อ้างอิงข้อมูลจาก
1.https://paidoo.net/tag/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5
2.https://sites.google.com/site/suwitklong/rate3
3.https://learners.in.th/blog/chem21/242087
4.https://th.wikipedia.org/wiki/ปฏิกิริยาเคมี
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2225