น้ำปลาจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการปรุงอาหารของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพบว่าการบริโภคน้ำปลาทำให้ได้รับปริมาณของโซเดียมที่มากเกินความต้องการโดยทั่วไปร่างการต้องการปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หากได้รับในปริมาณมาก จากผลงานวิจัยของน.ส.ณฐมล จินดาพรรณ นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเริ่มมีการผลิตน้ำปลาเกลือโซเดียมต่ำโดยทดแทนด้วยเกลือโปแตสเซียมแทนในกระบวนการหมักปลา ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงอย่างไรก็ตาม น้ำปลาที่มีปริมาณโซเดียมต่ำลงจากการทดแทนด้วยโปแตสเซียมก็ยังไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการผลิตน้ำปลาโซเดียมต่ำ โดยไม่ใช้วิธีการแทนโซเดียมด้วยโปแตสเซียม แต่ใช้เทคนิคอิเล็กโทรไดอะไลซิส จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่าน้ำปลาที่มีปริมาณโซเดียมต่ำใช้วิธีดึงโซเดียมออกจากน้ำปลาด้วยเทคนิคอิเล็กโทรไดอะไลซิส (Electrodialysis) หรือ การแยกสารผ่านเยื่อด้วยไฟฟ้า เพื่อทำให้น้ำปลามีเกลือต่ำลงโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนสูตรเกลือในการหมักปลาทำให้คุณภาพของน้ำปลาเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคจึงถือว่าเทคนิคอิเล็กโทรไดอะไลซิสมีประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรมอาหาร เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการอิเล็กโทรไดอะไลซิส (Electrodialysis) ภาพที่ 1 แสดงกระบวนการอิเล็กโทรไดอะไลซิส ที่มา https://www.idswater.com/Common/Paper/Paper_220/f1.jpg คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน - แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสำรวจสินค้ากลุ่มน้ำปลาที่วางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อจำแนกประเภทตามปริมาณของโซเดียม - ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการจำแนก และประโยชน์ที่ได้รับจากการทราบปริมาณของโซเดียมในน้ำปลา - ให้นักเรียนเขียนแผนภาพการใช้กระบวนการอิเล็กโทรไดอะไลซิสในการแยกน้ำทะเล พร้อมบอกแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ - สุขศึกษา (ประโยชน์และโทษของการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม) - ภาษาอังกฤษ (การแปลเนื้อหาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับกระบวนการอิเล็กโทรไดอะไลซิส) อ้างอิง/แหล่งที่มา - เทคนิคอิเล็กโทรไดอะไลซิส ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2239 |