ไอน์สไตน์ ลูกม้าน้อยตัวเล็กที่สุดในโลก


912 ผู้ชม


ไอน์สไตน์ ลูกม้าน้อยลายจุด มีความสูงแค่ 14 นิ้ว ทำสถิติใหม่เป็นลูกม้าตัวเล็กที่สุดในโลก มีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 6 ปอนด์ (ไม่ถึง 3 กิโล)   
        ฟาร์มในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ เป็นบ้านเกิดของ ไอน์สไตน์ ลูกม้าน้อยลายจุด มีความสูงแค่ 14 นิ้ว 
ทำสถิติใหม่เป็นลูกม้าตัวเล็กที่สุดในโลก  มีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 6 ปอนด์ (ไม่ถึง 3 กิโล)  
(ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite/280410/21385)


(ที่มา  https://hilight.kapook.com/view/48123)

        การเกิดลวดลายหรือสีสันต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตทั้งในพืชและสัตว์ รวมทั้งลายจุดขาวดำของลูกม้าน้อย
ไอน์สไตน์เกิดเนื่องมาจากสารเมลานีนหรือเม็ดสีที่สร้างจากเซลล์ผิวหนัง ลักษณะของเส้นขนจะเหยียดตรงหรือ

หยิกขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของต่อมรากผม ต่อมรากผมจะสร้างเมลานีนสีแดง ดำ ซึ่งทำให้สีผมและขนของสิ่งมีชีวิตมีสีต่างๆ กันตาม ปริมาณเมลานีนที่ต่อมรากผมสร้างขึ้นนั้นเอง


(ที่มา  https://hilight.kapook.com/view/48123)

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  และผู้สนใจทั่วไป
        สารเมลานิน (melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte)
เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์
 
หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์
เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่
เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
       1.ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเซลล์เม็ดสีเข้ม เพราะมีเมลานินบรรจุอยู่ในแคปซูลมาก
       2.ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเซลล์สีเหลืองหรือแดง เพราะมีเมลานินน้อย
       ฉะนั้นคนผิวขาว ผมแดง จึงมีฟีโอเมลานินมาก ส่วนคนผิวเข้ม ผมดำ จึงมียูเมลานินมาก ยังมีปัจจัยอื่นๆ 
ที่ทำให้คนผิวดำแตกต่างจากคนผิวขาว ผิวเหลือง คือคนผิวเข้มจะมีการสร้างเมลาโนโซมขนาดใหญ่กว่า
มีจำนวนมากกว่า จึงทำให้สร้างเมลานินได้มากกว่า รวมถึงเมลาโนโซมถูกทำลายช้ากว่าคนผิวขาวด้วย
แต่สีผิวของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเมลานินเพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับเส้นเลือดและสารบางชนิด เช่น 
เบต้าแคโรทีนที่ทำให้ผิวเหลือง นอกจากนี้ผิวหนังทั่วร่างกายของเราก็ยังมีการกระจายตัวของเม็ดสีไม่สม่ำเสมอ
ดังนั้น สีผิวหนังรวมทั้งผมและขนของสิ่งมีชีวิตก็จะมาจากสารเมลานีนนี้เอง ค่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติม 

หน้าที่ของเมลานิน

เมลานินมีกลไกออกฤทธิ์ป้องกันแสงหลายประการ ได้แก่
        1.ทำหน้าที่เหมือนแผ่นกรองแสง
        2.ช่วยกระจายแสง เช่น แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นอย่างแสงสีม่วงฟ้าที่เมื่อกระทบผิวหนังจะถูกหักเหออกไป
        3.ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่เห็นด้วยตาเปล่า แล้วกระจายออกเป็นความร้อน
        4.ทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระ
สาเหตุความผิดปกติ
สาเหตุของความผิดปกติของเม็ดสีมีหลายปัจจัย เช่น
       1.โรคจากพันธุกรรม
       2.การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน
       3.การโดนแสงแดดจัด
       4.การกินยาคุมกำเนิดที่มีเอสโทรเจนปริมาณสูงและยาประเภทฮอร์โมนอื่นๆ
       5.โรคผิวหนังบางชนิด เช่น กลาก เกลื้อน โรคด่างขาว ไฝและขี้แมลงวัน กระ ฝ้า
       6.การได้รับสารเคมี
       7.การขาดวิตามิน
การป้องกัน
        1.หลีกเลี่ยงแสงแดดด้วยเสื้อผ้า หรือครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป
        2.ผ่อนคลายความเครียดและความกังวลใจ
        3.ใช้สมุนไพร
          o วุ้นว่านหางจระเข้สดถูที่ผิว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วล้างออก ก่อนนำมาใช้ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
          o น้ำมะเฟืองคั้น สดทาบริเวณฝ้า ทิ้งให้แห้งแล้วล้างออก เพราะในมะเฟืองมีความเป็นกรดสูง เวลาใช้ 
         ต้องผสมน้ำให้เจือจาง แล้วทดสอบกับผิวบริเวณอื่นก่อนนำมาทาหน้า
         4.การบริโภคผักและผลไม้สดที่มี วิตามินเอ ซี ดี และอี ในปริมาณที่พอเหมาะ
คำถาม VIP
1.ลูกม้าน้อยไอน์สไตน์มีลักษณะพิเศษอย่างไร
2.ลายจุดในลูกม้าน้อยไอน์สไตน์เกิดจากสารใด
3.สารเมลานีนมีความสำคัญอย่างไร
4.เพราะเหตุใดสิ่งมีชีวิตจึงมีสีผิว ผมหรือขนแตกต่างกัน
5.มีปัจจัยอื่นหรือไม่ที่มีผลทำให้สีผิวของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน
กิจกรรมเสนอแนะ  
1.ให้นักเรียนเปรียบเทียบลายจุดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสัตว์ชนิดเดียวกันว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เช่น สุนัข  แมว เสือ เป็นต้น
2.ให้นักเรียนเปรียบเทียบลายจุดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสัตว์ต่างชนิดกันว่ามีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร เช่น เสือกับแมว  ม้ากับม้าลาย เป็นต้น
การบูรณาการ
1. วาดภาพลูกม้าน้อยไอน์สไตน์ จากจินตนาการ
2. นับและบอกจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มีลวดลายสีสันต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด
3. เขียนชื่อสัตว์ที่มีลวดลายต่าง ๆ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


(ที่มา  https://hilight.kapook.com/view/48123)


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.https://www.thaipost.net/x-cite/280410/21385
2.https://dnfe5.nfe.go.th/ilp/mybody/sc31_9_2.html
3.https://hilight.kapook.com/view/48123
4.https://th.wikipedia.org/wiki/เมลานิน

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2247

อัพเดทล่าสุด