สุขภาพจากเสียงกริ๊ด...


616 ผู้ชม


ประเทศญี่ปุ่นจัดงาน "เนกิ ซูโม คอนเทส" แข่งขันให้ทารกร้องไห้ หากลูกใครร้องก่อน ร้องดัง และร้องนาน จะเป็นผู้ชนะ เป็นการแสดงว่า ทารกสมบูรณ์แข็งแรง...   

ชื่อเรื่อง : สุขภาพจากเสียงกริ๊ด...

ประเด็นข่าว : ประเทศญี่ปุ่นจัดงาน "เนกิ ซูโม คอนเทส" แข่งขันให้ทารกร้องไห้ หากลูกใครร้องก่อน ร้องดัง และร้องนาน จะเป็นผู้ชนะ เป็นการแสดงว่า ทารกสมบูรณ์แข็งแรง...

ที่มา : นสพ.คอม (https://www.norsorpor.com)

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
ช่วงชั้นที่ 4
มาตรฐานที่ 5.1

       เสียง เป็นคลื่นกลที่ใช้อากาศเป็นกลาง เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่าน สุญญากาศ เช่น ในอวกาศ ได้เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้

ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเด็นคำถาม :
       คำถามที่ 1 : เราสามารถทำให้เกิดเสียงดังและนานได้อย่างไร
       คำถามที่ 2 : เสียงดังมีประโยชน์และโทษต่อผู้ฟังอย่างไรบ้าง
       คำถามที่ 3 : เราสามารถทำให้ไม่เกิดเสียงดังได้อย่างไรบ้าง
       คำถามที่ 4 : เสียงดังสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องมืออะไรได้บ้าง

       เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ

สุขภาพจากเสียงกริ๊ด...

ที่มา : https://fashiondukdik.blogspot.com/2009/03/blog-post_1757.html

ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
       1. ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเคลียดทางประสาท 
       2. รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร 
       3. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้ 
       4. มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
       5. การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

ที่มา : https://www.school.net.th/library/snet6/envi3/soundpol/soundpol.ht

กิจกรรมเสนอแนะ

    1.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นในการป้องกันตนเองจากเสียงดัง
    2.จัดกิจกรรมให้นักเรียนแข่งขันการเก็บเสียงดัง
   

บูรณาการความรู้สู่การเรียนรู่ที่เป็นเลิศ

   1.ให้นักเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการเก็บเสียง
   2.ให้ทำกิจกรรมวาดภาพจากเสียงที่ได้ยิน

อ้างอิงแหล่งที่มา

1.นสพ.คอม (https://www.norsorpor.com)

2.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

3.https://www.school.net.th/library/snet6/envi3/soundpol/soundpol.ht

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2260

อัพเดทล่าสุด