พายุฤดูร้อนมักจะเกิดในเดือนเมษายน เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่คนไทยต้องเตรียมรับมือทุกปี แต่มีวิธีแก้ไข
ก่อนการเกิดพายุฤดร้อน อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว เวลาเกิด พายุลมแรง อาจมีลูกเห็บ เกิดนานประมาณ 1 ชั่วโมง หลังพายุสงบจะพบต้นไม้ใหญ่ล้ม บ้านเรือนเสียหายส่วนใหญหลังคาจะปลิวหาย
ที่มา หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2553
ประเด็นจากข่าว
เมื่อวันที่ 27 เมษายน ตำบล(อบต.)แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงรายได้เกิดพายุฝนซึ่งมีลมกรรโชกแรงตกในพื้นที่อย่างหนักนานกว่า 1 ชั่วโมง ส่งผลทำให้บ้านเรือนของราษฎรซึ่งส่วนใหญ่สร้างด้วยบ้านไม้ กระเบื้องลอนคู่ โดนแรงลมได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง มีบ้านเรือนของราษฎร 10 หมู่บ้าน ถูกกระแสลมพัดพาเอาหลังคาปลิวออกจากตัวบ้าน และถูกต้นไม้ขนาดใหญ่โค่นทับ รวมจำนวนกว่า 700 หลัง ในจำนวนนี้มีจำนวนหลายหลังที่ได้รับความเสียหายทั้งหลัง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 4
เนื้อเรื่อง
ทฤษฎีที่อ้างอิงได้ในเรื่องนี้เป็นของ ดาเนียล แบร์นูลลี (Daneil Bernoulli) นักคณิตศาสตร์ซึ่งเกิดในฮอลแลนด์ ได้คิดค้นสมการที่ชื่อเดียวกับตัวเขา คือ สมการแบร์นูลี กล่าวว่า “เมื่อความเร็วของของไหลเพิ่มขึ้น ความดันของของไหลจะลดลง เมื่อความเร็วของของไหลลดลง ความดันของของไหลจะเพิ่มขึ้น” โดย “ผลรวมของความดันและความหนาแน่นพลังงาน ทั้งพลังงานจลน์ และพลังงานศักย์ ของของไหลผ่านท่อ จะมีค่าคงตัวเสมอ”
สมการแบร์นูลลี (Bernoulli Equation)
ถ้าเหนือหลังคาบ้านความเร็วลมสูง ความกดดันอากาศจะต่ำ P1
แต่ในบ้านลมสงบความเร็วลมต่ำ ความกดดันอากาศจะสูง P2
P2 - P1 = ผลต่างความดันอากาศ หน่วย นิวตัน/ตารางเมตร
A = พื้นที่รองรับ หน่วย ตารางเมตร
F = แรงยกตัวยก หน่วย นิวตัน
l
สมัยเป็นเด็กดิฉันก็เคยอยู่ต่างจังหวัด และเคยเผชิญกับพายุฤดูร้อน ขณะพายุมาดิฉันจะถูกไล่เข้าไปอยู่ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่างพร้อมกับสวดมนต์(ยังจำได้จนทุกวันนี้) ปีไหนพายุแรงมากหลังคาบ้านก็ปลิวเหมือนเพื่อนบ้านเช่นกัน การที่พายุมาแล้วเราปิดประตูหน้าต่างจนหมดด้วยกลัวทั้งเหตุการณ์ข้างนอกบ้านพร้อมกับกลัวว่าฝนที่กระหน่ำตกลงมาจะทำให้ข้าวของเราเสียหาย เรียกได้ว่าเป็นสัญชาติญาณของการหลบภัยของมนุษย์ทุกคน มาบัดนี้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่า การที่ลมในบ้านสงบในเวลาเดียวกันกับลมที่ผ่านหลังคาบ้านรุนแรงนั้นจะก่อให้เกิดความแตกต่างกันของความดันอากาศอย่างสูง (ลมพัดแรงความเร็วลมสูงความกดดันอากาศจะต่ำ แต่ลมสงบมีความเร็วต่ำจะมีความกดดันอากาศสูง) โดยในตัวบ้านที่ลมนิ่งมีความดันสูงกว่าความดันเหนือหลังคาที่มีลมแรงมาก ความแตกต่างของความดันนี้เองส่งผลให้เกิดแรงดันยกสังกะสีหรือกระเบื้องหลังคา ให้หลุดออกไป ...ดังนั้น วิธีแก้ไขผ่อนหนักให้เป็นเบาก็คือต้องไม่ให้ในบ้านกับนอกบ้านมีความแตกต่างกันของความเร็วลม หรือความดันกันมากนั่นเอง ท่านผู้เป็นเจ้าของบ้านที่อยู่ในร่องพายุก็ลองนำไปพิจารณาดูนะคะ.. เวลา พายุพัดเข้ามาเรา ควรเปิดหน้าต่างไว้ เพื่อไม่ให้ หลังคาบ้านกระเจิง
ประเด็นคำถาม
รูปร่างลักษณะหลังคาบ้านแตกต่างกัน ส่งผลต่อแรงยกหรือไม่
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้ออกแบบบ้านที่เวลามีพายุมาแล้วไม่ทำให้หลังคาปลิว
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
คณิตศาสตร์ คำนวณ สมการ
การงานอาชีพและเทคโนโลยี การออกแบบ
ที่มาของภาพประกอบ
https://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99&imgurl=https://203.150.225.235/img_cms/rain_1.jpg&imgrefurl=https://sanroo.kapook.com/thunderstorms/&h=600&w=450&sz=34&tbnid=C6XvZM-XX8R1kM:&tbnh=135&tbnw=101&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A4%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599&hl=th&usg=__bgmewb7o1ZUEzNq9lVsvykviot0=&ei=EAbZS77zMcu1rAfg_8jfDw&sa=X&oi=image_result&resnum=7&ct=image&ved=0CBoQ9QEwBg&start=0#tbnid=C6XvZM-XX8R1kM&start=3
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2278