การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่ทารกจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการ ในน้ำนมแม่มีความสมดุลของสารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน นอกจากนี้นมแม่มีสารที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และภูมิต้านทานที่ดีที่
นมแม่เป็นยามะเร็ง ฆ่าเซลล์เนื้อร้ายลงได้มากถึง 40 ชนิด
สารอย่างหนึ่งในน้ำนม ซึ่งตั้งชื่อให้ว่า แฮมเลต สรรพคุณฆ่าเซลล์มะเร็งได้ มันสามารถฆ่าเซลล์มะเร็ง และขับออกมาทางปัสสาวะ โดยไม่ทำอันตรายกับเซลล์ปกติ...
นักวิจัยชาติสแกนดิเนเวียพบพระคุณของนมแม่อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นยารักษามะเร็งได้ นอกจากนี้นักวิจัยมหาวิทยาลัยลันด์และโกเตนเบิร์ก ของสวีเดน ได้พบสารอย่างหนึ่งในน้ำนม สรรพคุณฆ่าเซลล์มะเร็งได้ สารซึ่งตั้งชื่อให้ว่า แฮมเลต ความจริงถูกค้นพบมานานหลายปีแล้ว
จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ได้รู้ว่า มันสามารถฆ่ามะเร็งชนิดต่างๆ ได้ถึง 40 ชนิด ขณะนี้กำลังมีการทดลองใช้รักษามะเร็งผิวหนัง และมะเร็งสมองอยู่.(หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วันเสาร์ ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2553https://www.thairath.co.th/content/life/80083)
น้ำนมจากมารดา..โภชนาการที่แสนวิเศษ(^__^*)
ภาพที่ 1 มาของภาพ : กมลรัตน์ ฉิมพาลี
(คำอธิบายภาพ : การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่)
สารอาหารในนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่ทารกจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการ ในน้ำนมแม่มีความสมดุลของสารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วน นอกจากนี้นมแม่มีสารที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และภูมิต้านทานที่ดีที่สุดสำหรับทารกจะถูกถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกผ่านทางนมแม่
น้ำนมแม่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สำคัญ 2 ชนิด คือ AA และ DHA นักวิจัยเชื่อว่า AA และ DHA ที่มีอยู่ในน้ำนมแม่มีส่วนสำคัญในด้านพัฒนาทางสมอง อารมณ์และการมองเห็น
นมแม่มีนิวคลีโอไทด์ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการย่อยอาหารของเด็ก จึงช่วยลดอาการท้องผูกและท้องเสีย นมแม่เป็นแหล่งของแคโรทีนและซิลิเนียม ที่มีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระและสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
( https://www.wyethnutrition.co.th/$3$Golden%20Ingredients.html?menu_id=215&menu_item_id=8
โภชนาการแสนพิเศษ เพื่อคนพิเศษ)
ภาพที่ 2 https://www.enfababy.com/genius_code/detail/26/
(คำอธิบายภาพ : การเลี้ยงดูทารกหลังคลอดด้วยความรักและนมแม่)
หลังคลอด ระดับฮอร์โมนในตัวแม่จะเปลี่ยนแปลงและร่างกายจะสร้างน้ำนมขึ้น น้ำนมเหลือง (Colostrums) จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นน้ำนมขาวซึ่งอุดมไปด้วยไขมัน โปรตีนต่างๆ น้ำตาลแล็คโตส วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ และน้ำ ซึ่งในน้ำนมแม่นั้น สารอาหารต่างๆมีอยู่ในระดับที่พอเหมาะ เหมาะสมสำหรับทารกแต่ละวัย
ภาพที่ 3 :https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Taurine_molecule.png
(คำอธิบายภาพ :โครงสร้างของโมเลกุลกรดอะมิโนทอรีน)
** โปรตีนคุณภาพ**
โปรตีนในนมแม่มีโปรตีนต่ำกว่านมวัว แต่ก็มีอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองทารก กรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนในนมแม่นั้นสำคัญยิ่ง กรดอะมิโน “ทอรีน” พบได้มากในนมแม่ ช่วยอย่างยิ่งในการสร้างสมองและจอตาของทารก การให้ทารกกินนมแม่จึงเป็นการช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองลูก !!!
** ไขมันที่ย่อยสลายได้เอง**
เอ็นไซม์ไลเปส (Lipase) ในนมแม่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำลกุลให้นมแม่ย่อยง่าย ไลเปสจะช่วยในการย่อยสลายไขมันในนมแม่ ทำให้การดูดซึมของสารอาหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
** สารอาหารที่เปลี่ยน เมื่อความต้องการเปลี่ยน
ไขมันในนมแม่จะเปลี่ยนแปลงตลอดไม่เหมือนเดิม เมื่อลูกเริ่มต้นดูดนม น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) จะมีไขมันต่ำแต่มีปริมาณน้ำสูง ช่วยดับกระหายได้ดี แต่น้ำนมส่วนหลัง (hind milk) จะมีไขมันสูง ทารกที่ได้ดูดนมบ่อยจะได้รับน้ำนมส่วนหลังมากกว่า ทารกควรที่จะได้ดูดนมบ่อยๆเมื่อต้องการ ไม่ใช่ตามตารางที่ตั้งไว้
ภาพที่ 4 :https://sites.google.com/a/luther.edu/genetics/students/anna-simonson
(คำอธิบายภาพ :ปลอกหรือเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath) จะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายและเป็น ฉนวนกั้นการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ระหว่างข้างนอกกับข้างในแอกซอน นอกจากนี้ยังช่วยให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น)
** ไขมันอันชาญฉลาด
ไขมันที่พิเศษในนมแม่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูก ในช่วงที่ทารกเติบโต เส้นประสาทที่ประกอบด้วย Myelin จะรับส่งสัญญาณระหว่างสมองและร่างกาย Myelin จะสมบูรณ์แข็งแรงเมื่อได้รับกรดไขมัน Linoleic และ Linolenic ที่สามารถพบได้มากในนมแม่
** วิตามันและแร่ธาตุ
เมื่อนึกถึงแร่ธาตุหลักที่สำคัญ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และ เหล็ก มีปริมาณที่ต่ำกว่าในนมแม่เมื่อเทียบกับนมผงดัดแปลง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ในนมแม่สามารถดูดซึมได้ถึง 50 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากแร่ธาตุสังเคราะห์ในนมผง ที่สามารถดูดซึมได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ลำไส้อันบอบบางของทารกจะต้องถูกทำงานอย่างหนักเพื่อขจัดสิ่งที่ “เกิน” ความต้องการ ในขณะเดียวกัน การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปจะทำให้เกิดสภาวะที่ไม่เป็นกลางในลำไส้ ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียดีเติบโตในลำไส้ กลับกระตุ้นให้แบคทีเรียไม่ดีเจริญพันธุ์ได้ดีมากขึ้น นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่อุจจาระของทารกที่กินนมผง แข็งกว่าและมีกลิ่นที่รุนแรงกว่าทารกที่กินนมแม่
** ฮอร์โมนและเอ็นไซม์
เอ็นไซม์อื่นๆ นอกจากไลเปส (Lipase) ที่มีอยู่ในนมแม่จะช่วยให้ร่างกายของทารกย่อยอาหาร epidermal growth factor ยังสามารถช่วยให้การสร้างเนื้อเยื่อในระบบย่อยอาหารและในส่วนอื่นของร่างกาย อีกทั้งฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีอยู่ในนมแม่จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ การเจริญเติบโต และสรีรวิทยาของทารก (บทความจาก AskDrSears.com Nutrient by Nutrient Why Breast is Best Mother’s Milk: Ideal Nutrition for Human Babies.https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=narcosis&month=01-2008&date=09&group=3&gblog=2)
ภาพที่ 5 :https://www.vcharkarn.com/vcafe/58172
(คำอธิบายภาพ : การที่เซลล์มะเร็งกระจายไปตามส่วนต่างๆของร่างกายเรียกว่า metastasis ซึ่งเป็นขั้นที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โรคนี้อยู่ในระยะรุนแรงมากที่สุด)
มะเร็ง เป็นมากว่าแค่มาเล็งอย่างเดียว..เพราะมันจัดการเซลล์รอบด้านเลยทีเดียว
มะเร็ง(Cancer) คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ มะเร็งมาจากรากศัพท์ของ Carcinus หรือ Karkinos ที่แปลว่า ปู ซึ่งหมายถึง "กระบวนการไร้ระเบียบ ไม่มีอะไรมาขัดขวางการใช้อำนาจควบคุม" ที่ใช้คำนี้ อาจเป็นเพราะลักษณะการโตของก้อนมะเร็ง จะมีส่วนยื่นเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติโดยรอบเหมือนขาปู (ฉะนั้น สัญลักษณ์ของมะเร็งหรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นเครื่องหมาย(https://www.vcharkarn.com/vblog/38571.Cancer) แขนงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งเรียกว่า "เนื้องอกวิทยา" (oncology) ซึ่งมาจากภาษากรีก onkos แปลว่า tumour หรือ mass มะเร็งอาจจะเกิดในลักษณะที่เป็นก้อนมะเร็ง หรืออาจจะเกิดในลักษณะที่เซลล์มะเร็งกระจายไปทั่วระบบอวัยวะนั้น ๆน จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์(https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK9/chapter6/t9-6-l1.htm.มะเร็งคืออะไร )
อาการของมะเร็ง
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่
1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล
5 ประการเพื่อการป้องกัน
1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2.รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลือง เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัว โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออก กำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็ง เหล่านี้ได้
7 ประการเพื่อลดการเสี่ยง
1.ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น อาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว-เหลือง จะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนซึ่งอาจเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งตับ
2. ลดอาหารไขมัน อาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมาก
3.ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท- ไนไตร์ท อาหารเหล่านี้ จะทำให้เสี่ยงต่อ มะเร็ง หลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4.ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ จะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีในตับ
5.หยุดหรือลดการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด กล่องเสียง ฯลฯ การเคี้ยว ยาสูบจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ
6.ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแอลกอฮอล์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตับ ถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และหลอดอาหาร
7. อย่าตากแดด ตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งผิวหนัง
(https://www.nci.go.th/knowledge/action.html)
คุยกันต่อ
1. เหตุใดเด็กทารกจึงต้องการดื่มนมแม่
2. นมแม่ดีมากมาย เหตุใดแม่ไทยจึงไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
3. สารอาหารในแม่ มีประโยชน์ต่อลูกรักอย่างไร
4. มะเร็ง คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และเป็นอันตรายกับมนุษย์อย่างไร
5. แนวทางป้องกันมะเร็งของวัยทารก วัยรุ่น และวัยชรา มีแนวทางอย่างไร
กิจกรรมเพิ่มเติม เสริมความรู้
ความรู้เรื่องนี้ พัฒนาให้ดีทำข้อสอบ O-NET ฉลุย!!!
1. การรณรงค์ให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ในระยะหลังคลอดเนื่องด้วยเหตุผลสำคัญในข้อใด(O-NET 49)
ก.น้ำนมแม่มีโปรตีนสูง
ข.น้ำนมแม่ไม่มีเชื้อโรค
ค.น้ำนมแม่มีแอนติบอดี
ง.น้ำนมแม่มีแอนติเจน
2. วัคซีนที่ใช้หลอดป้องกันโรคโปลิโอในเด็กเป็นสารใด(O-NET 49)
ก.แอนติบอดี ข. แอนติเจน
ค.เอนไซม์ ง.แอนติไบโอติก
3. ข้อใดเป็นความจริง (O-NET 51)
ก.ภูมิคุ้มกันที่ทารกได้จากแม่สามารถคุ้มกันโรคได้ทุกชนิด
ข.วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิต
ค.ม้ามเป็นอวัยวะน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุดของมนุษย์
ง.ส่วนประกอบหลักของเซรุ่มคือสารพิษของจุลินทรีย์
ที่หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว
เฉลย
(เฉลย: ข้อ 1 ค.น้ำนมแม่มีแอนติบอดี ข้อ 2 ข. แอนติเจน ข้อ 3 ค.ม้ามเป็นอวัยวะน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุดของมนุษย์)
หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด ที่ 4. อธิบายเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง ร่างกายมนุษย์ มีภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นกลไก ในการป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เข้าสู่ร่างกาย ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบน้ำเหลืองเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันมีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกาย การดูแลสุขอนามัย ตลอดจนการหลีกเลี่ยงสารเสพติด และพฤติกรรมที่เสี่ยงทางเพศ และการได้รับวัคซีนในการป้องกันโรคต่าง ๆ ครบตามกำหนด จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
ความรู้ บูรณาการ
1. สามารถบูราการกับวิชาสุขศึกษา
อ้างอิง
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วันเสาร์ ที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ.2553https://www.thairath.co.th/content/life/80083)
AskDrSears.com Nutrient by Nutrient Why Breast is Best Mother’s Milk: Ideal Nutrition for Human Babies.https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=narcosis&month=01-
2008&date=09&group=3&gblog=2
https://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK9/chapter6/t9-6-l1.htm.มะเร็งคืออะไร
https://www.nci.go.th/knowledge/action.html
https://www.vcharkarn.com/vblog/38571.Cancer.
https://www.wyethnutrition.co.th/$3$Golden%20Ingredients.html?menu_id=215&menu_item_id=8
โภชนาการแสนพิเศษ เพื่อคนพิเศษ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2347