กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ ชาวเบลเยียมได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะสุดเจ๋ง ที่ชื่อว่า "ดินสอ ปะทะ กล้อง"
เบน ไฮเน กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ ชาวเบลเยียมได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะสุดเจ๋ง
ที่ชื่อว่า "ดินสอ ปะทะ กล้อง" ด้วยการใช้ดินสอวาดภาพลงบนแผ่นกระดาษเพื่อแต่งแต้มภาพถ่าย
จากกล้องให้มีสีสันน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยไม่ได้ใช้โปรแกรมตกแต่งถาพช่วยแต่อย่างใด
สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นของเขา เกิดจากการดูทีวี พร้อม ๆ กับอ่านจดหมาย
จึงอยากต่อยอดจินตนาการขึ้นมา (ที่มา https://www.thairath.co.th/content/oversea/80564 )
(ภาพที่ 1 ที่มา https://www.thairath.co.th/content/oversea/80564 )
(ภาพที่ 2 ที่มา https://www.thairath.co.th/content/oversea/80564 )
(ภาพที่ 3 ที่มา https://www.thairath.co.th/content/oversea/80564 )
ดินสอ เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะใช้ในการวาดภาพต่าง ๆ ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำดินสอมีความหลากหลาย มากกว่า 40 ชนิดและทันสมัยมากขึ้น โดยเชื่อกันว่าดินสอ
ที่ดีที่สุดจะทำจาก Graphite จากประเทศศรีลังกา มาดากัสการ์ และเม็กซิโก Clay จากประเทศเยอรมัน ยาง (ใช้ทำยางลบ) จากประเทศมาเลเซีย แร่พลวง (ใช้เป็นตัวเชื่อมของ Graphite กับ Clay) จากประเทศเบลเยี่ยม และตามบริเวณชายฝั่งของประเทศเดนมาร์กเท่านั้น ไม้ที่นำมาห่อหุ้มแท่งดินสอส่วนใหญ่จะทำจาก "ไม้ซีดา" ที่มีอายุ 200 ปีขึ้นไป เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม โดยนำมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย
จะพบบนเขาสูง ๆ เท่านั้น ( ไม้ซีดาเป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อนและเหลาง่าย ) แต่ใส้ดินสอ ส่วนใหญ่ที่ทำได้ง่ายและพบมากคือ ทำจากคาร์บอน หรือเรียกว่าดินสอคาร์บอน
(ภาพที่ 4 ที่มา https://2.bp.blogspot.com/_WUzdAy5uIGs/SFT2tqd1JGI/AAAAAAAAAEk/uXcxjgxdf90/s320/pencil.jpg)
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
เรื่อง คาร์บอน
คาร์บอน (อังกฤษ: Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ อิเล็กตรอนเท่ากับ 4
และมีหลายอัญรูป ดังนี้
(ภาพที่ 5 ผงคาร์บอน ที่มา https://gotoknow.org/file/pichaisongkram/1.JPG)
1. เพชร (แร่ธาตุที่แข็งที่สุด) โครงสร้างยึดเหนี่ยว: 4 อิเล็กตรอนใน sp3-orbital แบบ 3 มิติ
2. แกรไฟต์ (หนึ่งในสารที่อ่อนที่สุด) โครงสร้างยึดเหนี่ยว: 3 อิเล็กตรอนใน sp2-orbital
2 มิติ และ 1 อิเล็กตรอนใน p-orbital
3. ฟูลเลอไรต์ (หรือ ฟูลเลอรีน) คือโมเลกุลขนาดนาโนเมตร ในรูปแบบที่เรียบง่าย คาร์บอน
60 อะตอมจะเรียงตัวคล้ายกับชั้นแกรไฟต์ ซึ่งงอตัวจนเป็นโครงสร้างสามมิติที่คล้ายกับ
ลูกฟุตบอล
Lamp black ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นแกรไฟต์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะกระจายสุ่ม จึงมีโครงสร้างไอโซโทรปิก
Glassy carbon มีโครงสร้างไอโซโทรปิกและมีความแข็งพอ ๆ กับกระจก ซึ่งต่างจากแกรไฟต์ที่ชั้นแกรไฟต์ไม่ได้เรียงซ้อนกันเหมือนกระดาษเรียบ ๆ
แต่เรียงเมือนกับกระดาษที่ขยำแล้ว
คาร์บอนไฟเบอร์มีลักษณะคล้ายกับ glassy carbon ภายใต้การผลิตแบบพิเศษ (การยืดไฟเบอร์อินทรีย์และการทำเป็นคาร์บอน) ทำให้สามารถ
จัดระนาบคาร์บอนในทิศทางของไฟเบอร์ได้ ในทิศตั้งฉากกับแกนไฟเบอร์ ไม่มีการตั้งระนาบของคาร์บอน ทำให้ไฟเบอร์ที่ได้มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กกล้า
(ภาพที่ 6 เพชร ที่มา https://www.bloggang.com/data/nara-gorn/picture/1226589013.jpg)
คาร์บอนปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี นอกจากนี้ อโลหะนี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่น่าสนใจ คือ สามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดได้เป็นสารประกอบเกือบ 10 ล้านชนิด เมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้
รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด ไอโซโทป คาร์บอน-14 ใช้ในการวัดอายุโดยใช้กัมมันตภาพรังสี
**** ดังนั้น ใส้ดินสอส่วนใหญ่จึงทำจากคาร์บอน ที่เรียกว่าดินสอคาร์บอน ****
คำถาม VIP
1.ใส้ดินสอทำจากวัสดุอะไรได้บ้าง
2.แกรไพต์และเพชร เกี่ยวข้องกับคาร์บอนอย่างไร
3.คาร์บอนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
4.คาร์บอนรูปใดมีความแข็งแรงมากที่สุด
5.แกรไพต์มีสมบัติพิเศษอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนศึกษาวัสดุที่นำมาทำใส้ดินสอต่าง ๆ ว่าทำจากอะไรได้บ้าง
2.ให้นักเรียนเปรียบเทียบใส้ดินสอที่ทำด้วยวัสดุใดที่แข็งแรงและใช้ได้ดีที่สุด
3. ให้นักเรียนลองเผาชิ้นไม้เล็ก ๆ เพื่อดูผงถ่านคาร์บอนที่เกิดขึ้น
การบูรณาการ
1. ให้นักเรียนลองประดิษฐ์ดินสอขึ้นด้วยตัวเอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
2. ให้นักเรียนลองเปรียบเทียบสีของเส้นและผงถ่านที่เกิดขึ้นจากไม้ต่างชนิดกัน
3. ให้นักเรียนลองวาดภาพจากดินสอที่ประดิษฐ์ขึ้นดู
4. ให้นักเรียนเปรียบเทียบและเรียงลำดับราคาดินสอที่พบในชีวิตประจำวัน
5. ให้นักเรียนนับจำนวนรูปแบบดินสอว่ามีความหลากหลายเพียงใด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. www.thairath.co.th/content/oversea/80564
2. https://blog.eduzones.com/rangsit/12848
3. https://th.wikipedia.org/wiki/คาร์บอน
4. https://2.bp.blogspot.com/_WUzdAy5uIGs/SFT2tqd1JGI/AAAAAAAAAEk/uXcxjgxdf90/s320/pencil.jpg
5. https://gotoknow.org/file/pichaisongkram/1.JPG
6. https://www.bloggang.com/data/nara-gorn/picture/1226589013.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2361