เมื่อไขมันรังแกตับ


966 ผู้ชม


โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ สาเหตุเรามักจะนึกถึงการดื่มสุรา ไวรัสตับอักเสบ หรือมาจากยาบางชนิด แต่ตัวการสำคัญอีกประเภทที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับตับได้เช่นกันคือ ภาวะไขมันสะสมในตับ   

       โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ  สาเหตุเรามักจะนึกถึงการดื่มสุรา ไวรัสตับอักเสบ หรือมาจาก
ยาบางชนิด แต่ตัวการสำคัญอีกประเภทที่ทำให้เกิดโรคร้ายกับตับได้เช่นกันคือ ภาวะไขมันสะสมในตับ 
หรือโรคไขมันเกาะตับ  คือภาวะที่มีการสะสมของไขมันภายในเซลล์ตับ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่พบบ่อย 
และพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน  (ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/life/79947)

เมื่อไขมันรังแกตับ

ภาพที่ 1  (ที่มา  https://learners.in.th/file/zipzapjoy/photo.jpg)

       ภาวะไขมันสะสมในตับ (หรือโรคไขมันเกาะตับ) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ 
โดยอาจมีเพียงการสะสมของไขมันอย่างเดียว หรืออาจมีการอักเสบ  ของตับร่วมด้วย ซึ่งในผู้ป่วย
บางรายการอักเสบเรื้อรังนี้อาจนำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ หรือที่เราเรียกว่าภาวะตับแข็งได้
โดยไตรกลีเซอไรด์  เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอล 
หนึ่งโมเลกุล  ซึ่งได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย โดยตับ
และลำไส้เล็ก จะละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัว กับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย 
บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน วิธีป้องกันการสะสมของไขมัน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ
ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี เราก็จะปลอดภัยจากโรคนี้ได้ค่ะ
       
                                      เมื่อไขมันรังแกตับ

         ภาพที่  2  (ที่มา  https://weightloss2dmw.info/wp-content/uploads/2008/08/oil.jpg)
                       
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง  ไขมัน

        ไขมัน (Lipid) หรือลิปิด คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด 
หรือ สารประกอบไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มาก
จะเป็นสารประกอบจำพวกมีขั้ว (polar)  ลิปิดบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) 
บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic) บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง ลิพิดมี โมเลกุล 
ส่วนใหญ่เป็นโพลาร์ และมีบางส่วนที่เป็น นอนโพลาร์ ผลคือลิพิดตัวนี้สามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลาย
ที่เป็น โพลาร์ เช่นน้ำ และนอนโพลาร์ เช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้ เราเรียกว่า แอมฟิฟิลิก (amphiphilic) คือใน โมเลกุล เดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่เป็นโพลาร์คือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล์)

เมื่อไขมันรังแกตับ

ภาพที่ 3  (ที่มา https://www.promma.ac.th/chemistry/boonrawd_site/images/62218oil.jpg)

        กรดไขมัน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของไขมันทุกชนิด มีคาร์บอนตั้งแต่ 4 – 36 ตัว ไม่แตกกิ่ง พันธะระหว่างคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ากรดไขมัน
อิ่มตัว หรือมีพันธะคู่ ปนอยู่กับพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว จำนวนของคาร์บอนในกรดไขมันส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ จุดหลอมเหลวของกรดไขมันขึ้นกับจำนวนคาร์บอนและจำนวนพันธะคู่ เช่น
ที่อุณหภูมิห้อง กรดไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 – 24 ตัวอยู่ในสภาพเป็นไข ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีคาร์บอนเท่ากันยังเป็นน้ำมันอยู่ เป็นต้น

       ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอล 
หนึ่งโมเลกุล เป็นโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย    ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) คือ สารอาหารประเภทไขมันที่ได้จากอาหารที่
เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย โดยตับและลำไส้เล็ก เป็นตัวสร้างไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลรี่ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัว กับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่
เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน   ปัญหาและอันตรายจาก
โรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาตหรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต    ม้ามโต และทำให้
ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ
        สาเหตุของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดจาก การกินอาหารไม่ถูกส่วน โดยเฉพาะกินอาหารที่มีไขมันหรือกินขนมหวานมากเกินไป หรือ ความผิดปกติของระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต การดื่มเหล้าเป็นประจำ และขาดการออกกำลังกาย และสุดท้ายคือการเกิดจากความผิดปกติ
ทางกรรมพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับ ไลโปโปรตีน (lipoprotein) เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์
ที่จะย่อยไตรกลีเซอไรด์แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์คนอายุ 30 ปีไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl

           ฟอสโฟลิปิด หรือ กลีเซอโรฟอสโฟลิพิด เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มต่างๆ
ในสิ่งมีชีวิต โครงสร้างคล้ายไตรกลีเซอไรด์ แต่มีกรดไขมันเพียงสองโมเลกุล โดยอีกตำแหน่งหนึ่งจะ
มีหมู่ฟอสเฟตมาเกาะและจะมีสารอื่นมาเกาะที่หมู่ฟอสเฟตอีกต่อหนึ่งซึ่งเป็นการกำหนดชนิดของ
ฟอสโฟลิปิด เช่น โคลีน (choline) หรือ เซอรีน (serine)ถูกสร้างบนแกนกลางที่เป็น กลีเซอรอล (glycerol) ซึ่งเชื่อมต่อกับหางสองเส้นที่เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันโดยรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นเอสเตอร์ (ester) และหนึ่งหัวที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อเป็นฟอสเฟตเอสเตอร์

          กรดไขมันเป็นสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีสาขาและเชื่อมต่อกันด้วย 
พันธะเดี่ยว (single bonds) ตามลำพัง เช่น กรดไขมันอิ่มตัว ทั้งพันธะเดี่ยว (single bonds) และ 
พันธะคู่ (double bond) เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนหัวของฟอสโฟลิพิด  ที่พบใน เมมเบรน 
ทางชีวภาพ (biological membrane) คือ
          ฟอสฟาติดิลคอลีน (phosphatidylcholine-lecithin) 
          ฟอสฟาติดิลเอตทาโนลามีน (phosphatidylethanolamine) 
          ฟอสฟาติดิลเซอรีน (phosphatidylserine) 
          ฟอสฟาติดิลอินโนซิทอล (phosphatidylinositol)

                                  เมื่อไขมันรังแกตับ

   ภาพที่ 4  (ที่มา  https://www.mppm5.com/blog/wp-content/uploads/2009/08/159781.jpg)

         ไขมันอื่น ๆ ที่มีบทบาทในสิ่งมีชีวิต  นอกจากไตรกลีเซอไรด์และฟอสโฟลิปิดแล้ว ในสิ่งมีชีวิตยังมีสารกลุ่มไขมันที่มีบทบาทสำคัญอีกหลายชนิด เช่น
          สฟิงโกลิปิด (sphingolipids) เป็นการรวมตัวของสฟิงโกซายน์ (sphingosine) กับกรดไขมัน   และ
หมู่ฟอสเฟต เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้ม และมีบทบาทในการจดจำระหว่างเซลล์ 
          สเตอรอล (sterols) เป็นไขมันที่พบในเยื่อหุ้มของเซลล์ยูคาริโอต สเตอรอลชนดหนึ่งคือ
          คอเลสเตอรอล พบมากในเซลล์สัตว์ 
         ไขมันที่เป็นตัวส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ เช่น ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล (phosphatidylinositol) 
          เป็นตัวส่งสัญญาณเกี่ยวกับการรวมตัวของเยื่อหุ้มระหว่างเกิดการหลั่งสารออกนอกเซลล์ หรือ
อีโคซานอย (eicosanoi)  เป็นตัวส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน 
         ไขมันที่เป็นฮอร์โมน ได้แก่ฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ 
         ไขมันที่เป็นวิตามิน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค


คำถาม VIP

       1.สาเหตุของภาวะไขมันสะสมในตับ คืออะไร
       2.ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร
       3.ไตรกลีเซอไรด์เกี่ยวข้องกับไขมันอย่างไร
       4.มีวิธีการป้องกันภาวะไขมันสะสมในตับได้อย่างไร
       5.มีวิธีการบริโภคอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยจากภาวะไขมันสะสมในตับ

กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนเสนอวิธีการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาพดี
       2.ให้นักเรียนเปรียบเทียบอาหารประเภทใดบ้างที่มีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงที่สุด
       3. ให้นักเรียนเสนอวิธีการป้องกันภาวะไขมันสะสมในตับ

การบูรณาการ

      1. ให้นักเรียนเขียนเรียงความการบริโภคอาหารให้ปลอดภัยจากไขมันสะสมในตับ
      2. ให้นักเรียนลองเปรียบเทียบปริมาณไขมันในอาหารชนิดต่าง ๆ 
      3. ให้นักเรียนลองวาดภาพโครงสร้างกรดไขมัน
      4. ให้นักเรียนเปรียบเทียบและเรียงลำดับอาหารที่ควรบริโภค
      5. ให้นักเรียนนับจำนวนอาหารที่มีส่วนผสมของไขมัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

      1.https://www.thairath.co.th/content/life/79947
      2.https://th.wikipedia.org/wiki/ไตรกลีเซอไรด์
      3.https://th.wikipedia.org/wiki/ไขมัน
      4.https://learners.in.th/file/zipzapjoy/photo.jpg
      5.https://weightloss2dmw.info/wp-content/uploads/2008/08/oil.jpg
      6.https://www.promma.ac.th/chemistry/boonrawd_site/images/62218oil.jpg
      7.https://www.mppm5.com/blog/wp-content/uploads/2009/08/159781.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2376

อัพเดทล่าสุด