เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก


813 ผู้ชม


เครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เกิดเหตุขัดข้อง ส่วนหางของเครื่องแตก จนต้องลงจอดฉุกเฉินเพื่อซ่อมบำรุง   

        ได้เกิดเหตุการณ์น่าตื่นเต้นเมื่อเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง  B747-400  ของสายการบิน
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เกิดเหตุขัดข้อง ส่วนหางของเครื่องแตก ขณะทำการเทคออฟ จากซิดนีย์ จุดหมาย
ปลายทางยังซานฟรานซิสโก จนต้องลงจอดฉุกเฉินเพื่อซ่อมบำรุง  แต่ก็สามารถลงจอดโดยปลอดภัย  
ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/oversea/81621)

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

ภาพที่ 1  เครื่องบิน
(ที่มา  
https://www.dektube.com/files/articles/0f9cafd014db7a6L.jpg)


         ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1926 โดยในปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่ ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์  โดยมีสนามบินหลักคือท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ เป็นหนึ่งในสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์  สำหรับเครื่องบิน โบอิ้ง  B747-400 ก็ถือว่าเป็น
เครื่องบินโดยสารที่ได้รับความนิยมอีกประเภทหนึ่งนะคะ และประเภทเครื่องบินก็มีหลายประเภท
ที่รู้จักกันก็มี เครื่องบินโดยสาร  เครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินรบ  เป็นต้น ซึ่งโลหะที่นิยมใช้ทำเครื่องบิน
ก็จะมี พวก ไททาเนียม  และโลหะผสมค่ะ

               **********  มาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินกันนะคะ   **********

                               เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

ภาพที่ 2  เครื่องบิน
(ที่มา https://muukatha.blog.so-net.ne.jp/blog/_images/blog/_83f/muukatha/7789689.jpg
)


เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง   เครื่องบิน

            เครื่องบิน คือ พาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถเคลื่อนที่หรือบินไปในอากาศได้ (อากาศยาน)
โดยเครื่องบินเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ เครื่องบินสามารถบินได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกตาม
หลักการของอากาศพลศาสตร์ (อากาศยานที่เบากว่าอากาศถูกเรียกว่า "เรือเหาะ")  เครื่องบินมีทั้ง
แบบที่ใช้เครื่องยนต์ และไม่ใช้เครื่องยนต์ เครื่องบินแบบที่ไม่ใช้เครื่องยนต์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า 
เครื่องร่อน  เครื่องบินที่มีใช้งานอยู่ทั้งสิ้นเป็นอากาศยานปีกตรึง ( fixed-wing aircraft) 
ส่วนอากาศยานปีกหมุน/เฮลิคอปเตอร์ หรือที่บางแห่งเรียกว่า เครื่องบินปีกหมุน เป็นอากาศยาน
อีกชนิดหนึ่งที่มีจำนวนรองลงไป
           
           หลักการบินของเครื่องบิน
           
           พบว่ามีหลายทฤษฎีที่ใช้อธิบายการบินของเครื่องบิน  ดังนี้
           1.ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของอากาศ (กฎของแบร์นูลลี) ที่ว่า อากาศที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะมี
แรงกดดันต่ำกว่า โดยออกแบบให้ปีกของเครื่องบินมีความโค้งทางด้านบนและเรียบแบนทางด้านล่าง อากาศที่เคลื่อนที่ผ่านใต้ปีกเครื่องบินจะมีความเร็วต่ำกว่าทางด้านบนของปีกเครื่องบิน ความดันใต้ปีกเครื่องบินจึงสูงกว่าความดันเหนือปีกเครื่องบิน ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ทำให้เครื่องบินบินได้ 
           2. ทฤษฎีของนิวตันกับแรงยก ที่ว่าแรงยกที่ทำให้เครื่องบินบินได้เกิดจากปีกเคลื่อนที่ด้วย
ความเร็วทำ มุมปะทะ (angle of attack) ที่เหมาะสมกับอากาศ และแรงยกนี้เท่ากับโมเมนต์(moment) ที่เปลี่ยนไปของอากาศ ที่ถูกปีกของเครื่องบินบังคับให้ไหลลงข้างล่าง (พฤติกรรมที่อากาศ
ถูกบังคับให้ไหลลงข้างล่างนี้เรียกว่า "การล้างลง" (downwash) 
           
           ตัวอย่างประเภทเครื่องบินที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด   มีดังนี้
           
          1. MiG-29
          
               MIG-29 Fulcrum เป็นเครื่องบินรบ ที่ใช้นักบินเพียงคนเดียว สร้างโดย Moscow Aircraft Production Organization MiG (MAPO MIG). Mig-29 ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ turbofan 2 เครื่อง คือ Tumansky RD-33 พร้อมด้วยระบบ เผาไหม้ภายหลัง และภายนอก ห้องเผาไหม้(Afterburn) มิก -29 มีปืนขนาด 30 มม. หนึ่งกระบอก และจรวดอากาศ สู่อากาศ มิก -29 เข้าประจำ
การเมื่อปี 1983 ระยะ ทำการบินที่ไม่ไกลของมิก -29 ในขณะนั้น เป็นจุดอ่อนสำคัญของเครื่อง แต่ในรุ่นต่อมา ได้ปรับปรุง ให้สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้มากขึ้น การปรับปรุงเครื่องให้มีประสิทธิภาพ และก้าวหน้ามากขึ้น ก็ได้รับการสนับสนุน ให้ดำเนินการ ปรับปรุง เครื่อง มิก- 29 ซึ่งเดิม เครื่องมิก- 29   
มีระบบ ควบคุมเป็น ระบบกลไก (mechanical) ขณะที่เครื่องรุ่นใหม่ ที่พัฒนา เป็นระบบที่ควบคุมด้วยไฟฟ้า รุ่นใหม่คือ รุ่น Mig- 29M และรุ่นที่ ใช้กับกองทัพเรือโซเวียต คือรุ่น Mig- 29K องค์กรสนธิสัญญา 
แอตแลนติคเหนือ (NATO) ให้ชื่อ รหัสเครื่องบินรบ mig-29 ทั้งหมดว่า Fulcrum จุดมุ่งหมายของ
เครื่อง มิก-29 คือ ทำลายผู้บุกรุก ทางอากาศ ที่เรดาร์ จับได้ และทำลายเป้าหมายภาคพื้นดิน ด้วยอาวุธ
ที่อยู่ในทัศนะวิสัย  กองทัพอากาศโซเวียต ได้ดำเนินโครงการปรับปรุง มิก-29 รุ่นเก่า เป็นรุ่นใหม่ 
คือรุ่น มิก-29M โดยเพิ่มระยะปฏิบัติการ,เพิ่ม น้ำหนักบรรทุก,เปลี่ยนกระจกห้องนักบิน,ใช้ระบบอิเล็คโทรนิค, เพิ่มประสิทธิภาพของ เรดาร์ และระบบ เติมเชื้อเพลิง ในอากาศบริษัทเดมเลอร์ ไคซ์เลอร์ แอร์โรสเปซ (DaimlerChryler Aerospace (DASA)) ก็ได้ทำการปรับปรุง มิก-29 ของ กองทัพอากาศ โปแลนด์ เพื่อให้เข้ากับมาตรฐานขององค์กรนาโต้ ก่อนที่โปแลนด์ จะเข้ารวมกับนาโต้ และ DASA 
ยังทำการปรับปรุงมิก-29 ให้กับเยอรมันตะวันออกด้วยอาวุธของ มิก-29 ประกอบด้วย6 จุด ที่สำหรับติดอาวุธภายนอก+1 option  จรวดอากาศ สู่ อากาศ ระยะปานกลาง R-27 สามารถต่อต้าน เป้าหมาย
จรวดอากาศ สู่ อากาศ ระยะสั้น R-73 ( NATO ใช้เรียกรหัส AA-11 Archer) จรวด อากาศ สู่ อากาศ ระยะสั้น R-60 (NATO ใช้เรียกรหัส AA-8 Aphid) จรวด และ ระเบิด (Unguided rockets and 
air bombs)

                                    เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก 

ภาพที่  3  เครื่องบิน MiG-29
(ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/mig29.html
)

           ระบบเครื่องยนต์ของ มิก-29 ; ขณะที่เครื่องบินอยู่ ช่องทางเข้าอากาศจะเปิดให้อากาศเข้าเครื่องยนต์, แต่ขณะที่เครื่องเคลื่อนที่อยู่บนพื้นดิน ช่อง ทางเข้าอากาศ จะปิดและ จะเปิดช่องบานเกล็ดด้านบน ของโคนปีก เพื่อป้องกันเศษวัสดุ และสิ่งแปลกปลอมจากทางวิ่ง ไม่ให้ เข้าไปในเครื่องยนต์

          2. F-15
          
                F-15  อีเกิล  เป็นเครื่องบินรบแบบผสม มีสถิติยอดเยี่ยมในการออกปฎิบัติ การ ซึ่งชนะทั้ง 100 เปอร์เซ็น และไม่สูญเสีย ให้ข้าศึกเลย (1 ส.ค. 2543) F-15 เคยทำศึกเวหาใน สงคราม พายุทะเลทราย และสงครามความขัดแย้งบอลข่าน F-15 มีประสิทธิภาพในการบินในเวลา กลางคืน และเวลาอากาศไม่ดี เพื่อโจมตีฐานยิงจรวด เคลื่อนที่สคัด และจุดสำคัญทางทหาร บน ภาคพื้นดิน. ระบบอินฟาเรดของ ลอคฮีดมาติน LANTIRN (Low Altitude Navigation and Targeting Infrared for Night) ช่วยให้ F-15E สามารถที่จะบินด้วยความเร็วสูง และระยะต่ำ ในเวลา กลางคืน และอากาศไม่ดี เพื่อโจมตีเป้าหมาย เพราะการชี้เป้าหมายที่แม่นยำของระบบนี้ ณ ปัจจุบัน มีเครื่องชนิดนี้ใช้งานอยู่ประมาณ 1150 เครื่องทั่วโลก  เดิมเครื่องนี้บริษัท McDonnell douglas เป็นผู้สร้าง แต่ปัจจุบันบริษัท Boeing เป็นผู้สร้าง ส่วนประกอบต่างๆทางกายภาพและ กำลังของ เครื่องยนต์ ทำให้ F-15 สามารถบินได้เร็วถึง 2.5 เท่าความเร็วของเสียง ความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเร็วนี้ทำให้โครงสร้างของเครื่องบิน ทำด้วย titanium เป็นจำนวนมาก และการที่เครื่อง F-15 ไม่เป็นที่กล่าวถึงมากนักเมื่อเทียบกับ F-16 ก็เป็นเพราะว่า ราคาที่ แตกต่างกัน ราคา F-15C ราคาประมาณ  เครื่องละ 35 ล้าน เหรียญ สหรัฐฯ F-16 
ราคาประมาณ 42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ.

                                 เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

ภาพที่  4  เครื่องบิน F-15
(ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/f-15.html
)

          3. F-16
          
                F-16 Fighting Falcon เป็นเครื่องบินรบ แบบปฏิบัติการผสมทั้ง การรบ ในอากาศ และการโจมตีภาคพื้นดิน การร ในอากาศ F-16 มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องบินรบอื่นๆ มันสามารถที่จะชี้ หรือบอก ตำแหน่ง เป้าหมาย ได้ทุกสภาพ อากาศ และสามารถตรวจจับอากาศยานที่บินในระยะต่ำ ในการโจมตีภาคพื้นดิน F-16 สามารถบินได้ไกลกว่า 500 ไมล์ (860 ก.ม.) ทิ้งระเบิดได้แม่นยำ ป้องกันตัวเอง และ บินกลับฐาน ความสามารถปฏิบัติการได้ ทุกสภาพอากาศ ทำให้การโจมตีได้อย่างแม่นยำ โดยที่มองไม่เห็น โครงสร้างที่เบา และยังคงแข็งแรง สามารถรับแรงได้ถึง 9 G ( เก้าเท่าของ แรงดึงดูดของโลก) ซึ่งมากกว่า เครื่องบินในปัจจุบัน ที่มีอยู่ F-16 ใช้ระบบ ควบคุมการบินด้วยระบบ FIRE BY WIRE ใช้ไฟฟ้าแทนระบบ สายเคเบิล และใช้คันควบคุมด้านข้าง ( side stick) แทนคันควบคุมที่อยู่ตรงกลาง

               F-16A ใช้นักบินเพียงคนเดียว สร้างเสร็จส่งมอบเมื่อ เดือนมกราคม 1979.
               F-16B ใช้นักบินทำการบินสองคน โดยต่อฝาครอบนักบิน (canopy) ออกไป คลุมนักบิน
คนที่สอง และลดพื้นที่ถังน้ำมัน และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ avionics เพื่อนักบินที่สอง
              F-16C&D เพียงเป็นรุ่นที่เพิ่ม แรงขับให้กับรุ่น F-16A&B การเปลี่ยนแปลง หลัก คือการเปลี่ยนแปลงในห้องนักบิน ทั้งอุปกรณ์ และ software
              F16-E เป็นรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาโดยบริษัท GENERAL DYNAMICS. ทราบกันโดยทั่ว ไปว่า Supersonic Cruise Aircraft Modification Program(SCAMP). เพิ่มพื้นที่ปีกสามเหลี่ยม เพิ่มความจุถังเชื้อเพลิง เพิ่มน้ำหนักบรรทุก เพิ่มระยะทางทำการบิน ลดระยะทางในการวิ่งขึ้น  และบินเร็วขึ้นอีก 90 ไมล์อากาศ.

                                    เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

                                                       ภาพที่  5  เครื่องบิน F-16
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/f-16.html
)

              สำหรับประเทศไทย โดยกระทรวงกลาโหม ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง F-16 A/B ที่ใช้แล้ว 
จากกองทัพสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีกจำนวน 16 เครื่อง ในราคาเครื่องละประมาณ 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 132,770,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ประเทศไทยเรียกว่าเป็นรุ่น F-16ADF 
(Air Defence Fighter) ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน จากต้นปี 2542 ในปี 2545 คาดว่า
จะได้รับ 10 เครื่อง และปี 2546 จะได้รับส่วนที่เหลือ

          4. Mirage
          
              เครื่องบินขนส่งมีภารกิจหลักคือขนส่งสิ่งของและยุทธปัจจัยต่าง ๆ ไปสู่ที่หมาย รวมถึงสามารถ
ใช้ขนอากาศยาน พลร่ม ปืนใหญ่ฯลฯ

                                      เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

                                                                   ภาพที่  6  เครื่องบิน Mirage
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/mirage.html)

          5. เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิค
          
               มีหน้าที่ทำสงครามอิเล็กทรอนิค ซึ่งก็คือการเฝ้าฝังทางอิเล็กทรอนิก การก่อกวนสัญญาณ (Jamming) หรือการตอบโต้การก่อกวนสัญญาณ(ECM) เครื่องบินชนิดนี้ส่วนใหญ่มีราคาแพงมาก 
และมีความซับซ้อนสูง

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

 ภาพที่  7  เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิค
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/warplane.html
)

          6. เครื่องบินทิ้งระเบิด
          
              เครื่องบินทิ้งระเบิดมีภารกิจหลักคือโจมตีทิ้งระเบิด แต่จะแตกต่างกับเครื่องบินโจมตีก็คือ 
เครื่องบินโจมตีนั้นสามารถทำการโจมตีในทางยุทธวิธี(tectical) ซึ่งอยู่ในวงจำกัด แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถทำการโจมตีในทางยุทธศาสตร์ (Strategic) คือสามารถเปลี่ยนผลของสงครามทั้งหมดได้
เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถบินได้ไกล บรรทุกระเบิดได้มาก แต่มีอาวุธป้องกันตัวเองจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันก็คือ B-1B, B-2, B-52, F-111, Tu-22M, Tu-160 เป็นต้น

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

 ภาพที่ 8  เครื่องบินทิ้งระเบิด
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/bombplane.html
)

          7. เครื่องบินลาดตระเวน
          
               เครื่องบินประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ติดอาวุธป้องกันตัว โดยเครื่องจะทำภารกิจลาดตระเวนหาข่าวเป็นหลักเครื่องที่เรารู้จักกันดีก็คือ 
SR-71 และ U-2 นั้นเอง

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

  ภาพที่ 9  เครื่องบินลาดตระเวน
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/findplane.html
)

          8. เครื่องบินฝึก
          
                เครื่องบินฝึกมีหน้าที่ฝึกศิษย์การบินเพื่อไปทำการบินกับเครื่องบินแบบต่าง ๆ 
             * เครื่องบินฝึกขั้นต้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องบินฝึกใบพัดที่ไม่ซับซ้อน เพื่อฝึกให้กับผู้ที่ไม่เคยบินมาก่อน ตัวอย่างเช่นเครื่อง PC-7 หรือ T-6 เป็นต้น
             *  เครื่องบินฝึกขั้นปลาย เป็นเครื่องบินที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จบจากการฝึกขั้นต้นมาแล้ว เครื่องบินแบบนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้น หลาย ๆ รุ่นเลียน แบบห้องนักบินและระบบต่าง ๆ มาจากเครื่องบินรบจริง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับศิษย์การบิน ส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินประเภทนี้สามารถปรับเปลี่ยน
ภารกิจไปทำภารกิจโจมตีเบาได้ด้วย
             * เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ หรือ Lead-In Fighter Trainer เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ฝึกศิษย์การบินที่จะไปบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นต่าง ๆ เครื่องบินเหล่านี้ทำภารกิจได้ทั้งฝึกและโจมตี 
ดังนั้นเราจะเห็นเครื่องบินรุ่นนี้ในหลากหลายภารกิจ  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ Hawk, MB339, L-15 
เป็นต้น

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

  ภาพที่  10  เครื่องบินฝึก
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/trainplane.html
)

          9. เครื่องบินสอดแนม
          
               เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์ชั้นแนวหน้าของโลกในปัจจุบันได้แก่ U-2 Dragon Lady, JSTARS และ Nimrod U-2 เป็นเครื่องบินตรวจการณ์เพดาบิน สูงกว่า 70,000 ฟุต ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทั้งสถานการณ์สู้รบ  ข่าวกรองการสื่อสาร และถ่ายภาพทางอากาศ เริ่มปฏิบัติการครั้งแรกตั้งแต่
ปี 1955 แต่ก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยอย่างต่อเนื่อง U-2 สามารถปฏิบัติงานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนและทุกสภาพอากาศ

เครื่องบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ หางแตก

  ภาพที่  11  เครื่องบินสอดแนม
         (ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/02.html
)

**นี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างเครื่องบินประเภทต่าง ๆ นะคะ  ส่วนเครื่องบินโบอิ้ง  
B747-400  ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์  จัดเป็นเครื่องบินโดยสารค่ะ **


 คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. เครื่องบิน โบอิ้ง  B747-400  ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ จัดเป็นเครื่องบินประเภทใด
        2. โลหะที่ใช้ทำเครื่องบินมีโลหะใดบ้าง
        3. เครื่องบินมีหลักการบินอย่างไร
        4. ปัจจุบันใช้ทฤษฎีใดในการอธิบายการบินของเครื่องบิน
        5. เครื่องบินรบมีลักษณะพิเศษอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนลองอธิบายหลักการบินของเครื่องบิน
        2.ให้นักเรียนนำเสนอว่าเครื่องบินควรทำจากโลหะชนิดใดจึงจะเหมาะสม
        3. ให้นักเรียนอธิบายการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน
   
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนแบ่งประเภทของเครื่องบินที่รู้จัก มีประเภทใดบ้าง
        2. ให้นักเรียนวาดภาพเครื่องบินมา 1 ประเภท
        3. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับเครื่องบิน
        6. ให้นักเรียนนับสายการบินที่นักเรียนรู้จักและสายการบินในประเทศไทย
    
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

        1.  https://www.thairath.co.th/content/oversea/81621
          2.  https://th.wikipedia.org/wiki/ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
          3.  https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องบิน
          4.  https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/kind.html
          5.  https://www.dektube.com/files/articles/0f9cafd014db7a6L.jpg
          6.  
https://muukatha.blog.so-net.ne.jp/blog/_images/blog/_83f/muukatha/7789689.jpg
          7.  https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/mig29.html
          8.  https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/f-15.html
          9.  https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/f-16.html
         10.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/mirage.html
         11.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/warplane.html
         12.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/bombplane.html
         13.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/findplane.htm
         14.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/trainplane.html
         15.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/trainplane.html
         16.https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/09/02.html


       

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2421

อัพเดทล่าสุด