อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้


1,444 ผู้ชม


อย.ตรวจพบ 26 เครื่องสำอางอันตราย มีสารประกอบของปรอท ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก และจุลินทรีย์ ปนเปื้อน   

        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศรายชื่อเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้
ที่เป็นอันตรายเพิ่มเติมอีก 26 รายการ ที่เก็บตัวอย่างจากร้านจำหน่ายเครื่องสำอางในเขต กรุงเทพฯ และนนทบุรี   หลังตรวจพบสารประกอบของปรอท ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก และจุลินทรีย์ ปนเปื้อน อยู่ด้วย ขออย่าได้ซื้อเครื่องสำอางทั้ง 26 รายการนี้ มาใช้อย่างเด็ดขาด
มีรายการ  ดังนี้  
 ( ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/edu/82020 )

                                            อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้

     
                                                                                      ภาพที่ 1  อย.
                                                      ( ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/edu/82020 )

        ตรวจพบสารประกอบของปรอท ได้แก่ 
          1.) S.S.Night Cream ครีมก่อนนอน (1) 
          2.) ครีมชุดน้ำนมข้าว หน้าเด้ง หน้าใส น้ำนมข้าวแท้ 100% 
          3.) สุภัชชา โสมสมุนไพร 
          4.) หน้าเด้ง หน้าใส น้ำนมข้าวแท้ 100%
          5.) ครีมนมแพะ
          6.) ไพลสดแท้ 100% (ชุดบำรุงหน้า รักษาสิว ฝ้า จุดดำ (คุณหมอจุฬา)
          7.) SUO BAI NING Whitening cream NIGHT CREAM
          8.) ครีมรกแกะผสมใยไหม 
          9.) ครีมโสมเห็ดหลินจือ กวาวเครือ 
          10.) BASCHI FADE-OUT CREAM DAY CREAM 
          11.) BAOJU WHITENING CREAM DAY CREAM
          12.) YANKO Fade-out Cream Day Cream YK-868 
          13.) atlie Day Cream โดยลำดับที่ 1-13 ไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย 
          
เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต 
          14) Fruity VITAMIN C ระบุผลิตโดย บริษัท K.K.T. คอสเมติก จำกัด 
          28/24 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ แต่ไม่ระบุเลขที่ผลิต
          และวันที่ผลิต
          15.) Mild & mind ครีมโสมผสมหัวไชเท้าสกัด ระบุผู้ผลิตคือ บริษัท มายด์แอนด์
          มายด์   
คอสเมติคส์ จำกัด เลขที่ 189 ถ.เพชรเกษม 52/2 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
         ไม่ระบุเลขที่ผลิต แต่ระบุ วันที่ผลิตคือ 200409 
          16.) คลินิกแคร์ไวท์เทนนิ่งไนท์ครีม สูตร 2ระบุผู้ผลิตคือ คลินิกแคร์เทนเดอร์ 
          เลขที่ 189 ถ.เพชรเกษม 52/2 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ไม่ระบุเลขที่ผลิต แต่ระบุ
          วันที่ผลิตคือ 200409 

      ตรวจพบไฮโดรควิโนน ได้แก่ 
       
   17.) ครีมทาฝ้า-กระ 
          18.) สมุนไพรสุภัชชา (2) ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุผู้ผลิต /ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิต
          และวันที่ผลิต 
          
      ตรวจพบกรดเรทิโนอิก ได้แก่ 
     
     19.) BASCHI WHITENING CREAM NIGHT CREAM 
          20.) BASCHI NIGHT POWDER 
          21.) YANKO Whitening Cream Night Cream YK-883 โดยทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุ
          ผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต 
        
        ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก ได้แก่ 
       
   22.) S.S.Night Cream ครีมก่อนนอน (2)
          23.) FADE OUT ครีมขาวหน้าใส Kiev/Beauty Face USA Original 
          24.) WL WHITE LADY ครีมรักษาฝ้า ทาหน้าขาว 
          25.) Pharmacy Cream ครีมขาวเนียน ซึ่งทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย 
          เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต
 
        
      ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ คลอสตริเดียม (Clostridium spp.) ที่ก่อให้เกิดโรค และพบแบคทีเรีย ยีสต์ รวมทั้งรา ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ 
        
26.) ร้อยมาลี AROMATHREPY(Roi Malee (สเปรย์เซรั่ม)) โดยไม่ระบุผู้ผลิต / 
         ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต
 
        
        การใช้เครื่องสำอางจัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ จีน อินเดีย และต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอาง  เป็นสิ่งสำคัญต้องใช้ให้ถูกต้อง สม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวัน  ชาวอาหรับก็ได้มีการดัดแปลง แก้ไขส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้กรรมวิธีการกลั่น เพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูง การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย  ชาวฝรั่งเศส ได้แยกศิลปะการใช้เครื่องสำอางออกมาจากกิจการด้านการแพทย์อย่างชัดเจน การผลิตเครื่องสำอางในช่วงแรก ๆ นั้น ยังมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่แน่นอน เครื่องสำอางบางประเภทมีขายในร้านขายยา การผลิตเป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ได้รับสืบทอดมาหรือได้จากการศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูก ต่อมาได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอาง

                              อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้

                                                 ภาพที่  2  เครื่องสำอาง
                                            ( ที่มา https://image.dek-d.com/21/2070601/101407203)

       โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเคมี ได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูง ในการผลิตแต่ละครั้งต้องมีส่วนประกอบที่คงที่ ได้ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน มีหลักการเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานในการผลิต และมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากการที่ปัจจุบันมีการนำสารเคมีหลายชนิดมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เพื่อให้ได้ผลทางการค้า แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง อัตราส่วนไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดอันตรายชนิดถึงชีวิตได้ค่ะ 


         **   มาศึกษารายละเอียดของสารเคมีที่ตรวจพบในเครื่องสำอางกันนะคะ   **

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
 
เรื่อง   สารเคมีในเครื่องสำอาง

          สารปรอท    
          ปรอท ( Mercury) เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดย
การนำหินนั้นนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59) และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก 
เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ. นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย  ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง
        การใช้สารประกอบของปรอทที่สำคัญสองชนิด ชนิดแรกคือ 3% mercuric iodine และชนิดที่สอง 10% ammoniated mercury ทั้งสองชนิดเป็นสารปรอทชนิดอนินทรีย์ ซึ่งเมื่อรวมตัวกับ iodide หรือ chloride เกลือที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซึมทางผิวหนังอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่เป็นพิษได้ ในกรณีที่สารปรอทกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสาร methyl mercury สารนี้มีความเป็นพิษสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิษต่อระบบประสาทและพิษต่อไต ในบางรายเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรง บางรายเกิดปัญหาสิวเห่อ ผิวหนังยุบเป็นร่องรอยบนผิวหนัง ผิวด่าง-ดำ
                            อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้
                                                ภาพที่  3  ปรอท
                              (ที่มา  https://www.amulet.in.th/forums/images/1905.jpg)

          ไฮโดรควิโนน    
          ไฮโดรควิโนน เป็นสารฟีนอลชนิดหนึ่ง เรียกชื่อทางเคมีว่า benzene-1,4-diol เป็น
อนินทรียสารที่มีสูตรเคมี C6H4(OH)2 ลักษณะโครงสร้างทางเคมีเป็น hydroxyl groups สองกลุ่มเชื่อมต่อกับ benzene ring ลักษณะการเชื่อมต่อเป็นแบบ para สถานะของไฮโดรควิโนนที่อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศไฮโดรควิโนนจัดเป็นของแข็งสีขาวเนื้อละเอียด 
ไฮโดรควิโนน ทำปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่นเกิดเป็นสารพาราเบนโซควิโนน parabenzoquinone หรือที่เรียกว่า p-quinone
        ไฮโดรควิโนนถูกนำมาใช้เป็นสารช่วยลดปริมาณของเม็ดสีในชั้นผิวหนัง แต่ในบางประเทศก็ไม่อนุมัติให้วางจำหน่าย เช่น ฝรั่งเศส  เนื่องจากอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ บางประเทศอนุมัติให้วางจำหน่ายได้เฉพาะรูปแบบ 2% cream ในบางผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของไฮโดรควิโนนอาจมากถึง 4% ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การนำไฮโดรควิโนนมาผสมอย่างไม่ถูกต้อง โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าปริมาณความเข้มข้นมากน้อยเพียงใด และบางรายอาจใช้วัตถุดิบปลอมในการผลิตอีกด้วย 

          1. สารไฮโดรควิโนนมีคุณสมบัติในการฟอกสีผิว เป็นสารที่เคยอนุญาตให้ใช้ในครีมแก้ฝ้า แต่ภายหลังพบว่า สารไฮโดรควิโนนทำให้เกิดการระคายเคือง 
          และจุดด่างขาวที่หน้าผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย 
          2. สารไฮโดรควิโนนมีความเป็นพิษ โดยมีค่า LD50 orally in rats เท่ากับ 320 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 
          3. พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และก่อมะเร็งในหนูทดลอง 
          4. สามารถใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในสูตรตำรับยาชนิดครีม ที่ระดับความเข้มข้น 2-4% 
          5. สารไฮโดรควิโนนถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับใบหน้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535

                          อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้
                                                                             ภาพที่  4  เครื่องสำอาง  
                              (ที่มา  https://www.anattara.com/images/cosmetics300.jpg )

          
         กรดเรทิโนอิก
         กรดเรทิโนอิก หรือกรดวิตามินเอ (retinoic acid)  ในร่างกายพบว่ามีโมเลกุลของวิตามินเอ 3 ชนิดด้วยกัน คือ retinol, retinal (retinaldehyde) และ retinoic acid ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากสาร beta-carotene ซึ่งประกอบไปด้วยโมเลกุลของ retinal สองโมเลกุลเชื่อมต่อกันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า provitamin A ปัญหาของการใช้สารกรดวิตามินเอ อยู่ที่ความเข้มข้นของสารและปริมาณที่ได้รับ แม้ว่าการดูดซึมผ่านทางผิวหนังจะไม่มากเหมือน  การดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหาร แต่ในบางรายทางการแพทย์ พบว่าผู้ป่วยมีผลขเางเคียงจากฤทธิ์ของยาได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พบความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนชนิด retinol to aporetinol binding protein (RBP) หรือ ความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้าง cellular retinol binding protein (CRBP)
      
          1. กรดเรทิโนอิกเป็นสารที่ช่วยให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและหลุดลอกได้ จึงช่วยให้สิวเสี้ยน และผิวหนังที่หยาบกร้านหลุดลอกออกง่าย
          ขึ้นทำให้ผิวผ่องใส และนุ่มเนียน โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับสารไฮโดรควิโนน จะช่วยให้สารไฮโดรควิโนนซึมเข้าสู่ผิวหนัง และออกฤทธิ์ได้มากกว่าปกติ 
          2. ความเป็นพิษคือทำให้หน้าแดง และแสบร้อนรุนแรง เกิดการระคายเคืองอักเสบ แพ้แสงแดด หรือแสงไฟได้ง่าย 
          3. เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด 
          4. พบว่ามีค่า LD50 orally in rats เท่ากับ 2,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 
          5. กรดเรทิโนอิกถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 และเป็นสารห้ามใช้ลำดับที่ 375 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
          เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 
          6. กรดเรทิโนอิกสามารถใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในสูตรตำรับยาชนิดครีมที่ระดับความเข้มข้น 0.01-0.1%

ของแถมค่ะ         

         ส่วนจุลินทรีย์ คลอสตริเดียม Clostridium botulinum เป็นแบคทีเรียที่สร้างสปอร์และเจริญได้ในสภาวะไม่มีออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน  ติดสีแกรมบวก   สร้างสปอร์รูปไข่อยู่ค่อนทางปลายเซลล์  เจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ  25-40  องศาเซลเซียสในสภาวะไม่มีออกซิเจน เป็นแบคทีเรียที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ  เช่น อาหารหมักดองกระป๋อง ผักผลไม้กระป๋อง และไส้กรอก เป็นต้น  เชื้อสามารถสร้างสารพิษที่มีผลต่อการทำลายระบบประสาท(neurotoxin) หากบริโภคอาหารที่มี สารพิษชนิดนี้ปนเปื้อนเพียง 1 ไมโครกรัม จะทำให้เกิดอาการป่วยที่เรียกว่า "botulism” ซึ่งมีลักษณะอาการ คือ  อาการกลืนลำบาก และพูดไม่ชัด อาการปากแห้ง  หนังตาตก เสียงแหบ แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน เจ็บคอ เห็นภาพซ้อน ปวดท้อง และอุจจาระร่วง หน้ามืด เป็นอัมพาต หายใจขัด และ   เสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว อาการจะเกิดภายใน 12-36 ชั่วโมง หลัง
การบริโภคอาหาร และอาจเสียชีวิตภายใน 3-6 วัน  

การทดสอบสารปรอทและไฮโดรควิโนน  

        สารปรอทนิยมใช้ในเครื่องสำอางประเภทครีมหน้าขาว ผลคือทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง 
ผิวหน้าดำ ผิวบางลง สำหรับวิธีการทดสอบแบบง่าย ๆคือ ผสมน้ำกับผงซักฟอกให้มีลักษณะข้นคล้าย ๆ ครีมป้ายครีมทาหน้าลงบนกระดาษทิชชูแล้วเทน้ำผงซักฟอกลงไปบนครีมทาหน้า
ทิ้งไว้ ไม่เกิน 5 นาที ถ้ามีสารปรอทอยู่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลค่ะ  ส่วนสาร ไฮโดรควิโนน 
ปกติใช้ในครีมรักษาฝ้า การทดสอบเพื่อความแน่นอนควรใช้วิธี Test Kit ของกรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ ค่ะ

อันตราย 26 เครื่องสำอาง อย.เตือนห้ามใช้
ภาพที่  5  แมวยิ้ม
( ที่มา  https://storage.msn.com/x1pAdjo0uCo2H2ic0SXt32J02oFVcED8gpgyv8cLqCoSANSa1oD8JGVuOw_U0_pepCkHwe_  

H3yHldq74ZzJwM8CZ7oXc6BqaPdQmZqim2bW_h11qk9YsTW2fQt0Fg3iym-2Oj8Sb1WobAi0IykB7iWOfQ )


****  จะเห็นได้ว่าในการเลือกใช้เครื่องสำอางต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี  แต่ถ้าจะให้ดีเลือกสวยแบบธรรมชาติ งามจากภายใน(ทำความดี )กันดีกว่าค่ะ เพื่อความสวยที่จะติดตัวเราไปตลอดชีวิต 
ไม่มีโรยราค่ะ  ****


คำถาม VIP ชวนคิด

        1. สารอันตรายใดบ้างที่ถูกตรวจพบในเครื่องสำอาง
        2.  สารปรอทคืออะไร
        3.  การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของปรอทมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
        4.  สารไฮโดรควิโนนถูกใช้ในเครื่องสำอางเพื่ออะไร
        5.  การทดสอบสารปรอทในเครื่องสำอางทำได้อย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนเสนอวิธีการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ปลอดภัยจากสารเคมี
        2.ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแทนการใช้ผลิตภัณฑ์
        ทางเคมีดีหรือไม่
     
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนสำรวจส่วนผสมของสำอางในท้องตลาดและนับจำนวนว่าผลิตภัณฑ์ใดใช้
        สารเคมีมากที่สุด
        2. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องการเลือกใช้เครื่องสำอางให้ปลอดภัย
        3. ให้นักเรียนรวมกันอภิปรายและนำเสนอในหัวข้อ " สวยด้วยการทำความดี 
        (งามจากภายใน) กับสวยด้วยเครื่องสำอางแบบไหนมีคุณค่ามากกว่า"
        4. ให้นักเรียนวาดภาพในหัวข้อ " งามจากใบหน้ากับงามจากภายใน(ในใจ) 
        แบบไหนดีกว่า  
                
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
                                 
        1. https://www.thairath.co.th/content/edu/82020
        2. https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องสำอาง
        3. https://th.wikipedia.org/wiki/ปรอท   
        4. https://www.giftyourlife.wechange.in.th/เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ 
        5. https://www.ecitizen.go.th/view.php?SystemModuleKey=&id=691
        6.https://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=2431
        7.https://www.amulet.in.th/forums/images/1905.jpg
        8.https://image.dek-d.com/21/2070601/101407203

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2478

อัพเดทล่าสุด