สถานีไทยคมสถานที่สำคัญเดี๋ยวถูกสังเปิดเดี๋ยวถูกสั่งเปิด คนทำงานผวาแต่ยังทุนสูงพร้อมส่งดาวเทียมขึ้นฟ้าเพิ่มได้ตลอดเวลา
บริษัทไทยคม ได้ส่งดาวเทียมไทยคมไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 5 ดวง ปัจจุบันไทยคมให้บริการดาวเทียมอยู่ทั้งสิ้น 3 ดวงด้วยกัน ได้แก่ ไทยคม 2 ไทยคม 4 และไทยคม 5 โดยที่ หลังจากที่ไทยคม 1 และ ไทยคม 3 ปลดระวางไปแล้ว และภายในกลางปี 2553 นี้ ดาวเทียมไทยคม 2 ก็จะปลดระวางไปอีก 1 ดวง
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 13 พฤษภาคม 2553
www.thairath.co.th/content/eco/82597
ประเด็นจากข่าว
ประธานคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ากำลังขอรับการอนุมัติจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เจ้าของสัมปทาน ในการที่จะยิงดาวเทียมดวงใหม่แทนที่ดาวเทียมไทยคม 2 ซึ่งจะปลดระวางราวกลางปีนี้ ท่ามกลางแรกกดดันเนื่องจาก เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงไอซีทีไปพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานดาวเทียมกับไทยคม เนื่องจากไทยคมไม่ปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล (PTV) ตามที่รัฐบาลร้องขอ อย่างไรก็ตามไทยคมเป็นคู่สัญญาที่ดีเกินกว่าที่เจ้ากระทรวงจะตัดสินใจได้ง่ายๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 4
เนื้อเรื่อง
ดาวเทียมไทยคม เป็นดาวเทียมของประเทศของไทยจัดอยู่ในประเภทดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมาก การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดิน ส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง
ประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันประเทศไทยส่งดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าหลายดวง โดยมีไทยคมเป็นดาวเทียมประเภทเพื่อการสื่อสาร
วงโคจรดาวเทียม
วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit:แซทเทลไลท์ ออบิท) เมื่อแบ่งตามระยะความสูงจากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
1.วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit "LEO") อยู่สูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม ถ่ายภาพ เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง
2. วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา
3. วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ ดาวเทียมสื่อสารโดยทั่วไปเมื่อส่งขึ้นไปแล้วจะโคจรอยู่ที่ระดับความสูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กิโลเมตร เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรและจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับที่โลกหมุนรอบ 1 รอบ (23 ชั่วโมง 56 นาที)ทำให้เหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือจุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา จึงเรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า" วงโคจรพิเศษของดาวเทียมนี้เรียกว่า “วงโคจรค้างฟ้า” หรือ “วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นายอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก
แต่เดิมเวลาเราจะดูการถ่ายทอดสดรายการต่างๆจากต่างประเทศโดยใช้สัญญาณดาวเทียม เราจะใช้ดาวเทียมในการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ข้ามประเทศ แล้วจึงส่งออกอากาศโดยเสาอากาศโทรทัศน์บ้านธรรมดาไปตามบ้านเรือน แต่ขณะนี้ประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่จะมีดาวเทียมของตนเอง (ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม) เพื่อส่งรายการไปยังสถานีภาคพื้นดินในพื้นที่ที่ห่างไกลภายในประเทศ แล้วจึงส่งสัญญาณต่อไปทางเสาอากาศธรรมดา หรือทางสายเคเบิลไปตามบ้านต่างๆ หรืออาจใช้วิธีส่งรายการโดยตรงจากดาวเทียมไปยังจานรับสัญญาณตามบ้านก็ได้
ดาวเทียมแต่ละวงโคจรจะมีความเร็วไม่เท่ากัน ถ้าโคจรในระดับต่ำจะต้องมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกมีค่ามากในระยะใกล้โลกถ้าความเร็วไม่มากพอแรงดึงดูดของตกจะทำให้ดาวเทียมตกกลับสู่พื้นโลกได้ และถ้าโคจรในระดับสูงขึ้นไปจะมีความเร็วในการโคจรต่ำลงได้เพราะแรงดึงดูดของโลกน้อยลง โดยทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาจะมีสูตรในการคำนวณความเร็วโคจรรอบโลกที่สามารถทำให้ดาวเทียมโคจรเป็นวงกลมได้พอดี และเสมือนว่าอยู่นิ่งเมื่อเทียบกับผู้สังเกตบนโลก สูตรคือ
เมื่อ v = ขนาดของความเร็วโคจรรอบโลก
R = รัศมีวงโคจรดาวเทียม
T = เวลาในการโคจร ครบ 1 รอบ
เวลาที่ดาวเทียมใช้ในการโคจรครบ 1 รอบจะเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ คือ 1 วัน เท่ากัน (23 ชั่วโมง 56 นาที) ดังนั้นแม้ดาวเทียมจะเคลื่อนที่ก็จะทำให้เหมือนดาวลอยนิ่งอยู่เหนือจุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา
ภาพโดย: ทัศนาพร กันพรหม
ประเด็นคำถาม
1.เราสามารถบอกความแตกต่างของดวงดาว และดาวเทียม ขณะมองเห็นบนท้องฟ้าได้อย่างไร
2. ดาวเทียมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนฝึกประดิษฐ์จานรับคลื่นสัญญาณจากดาวเทียม
2.ให้นักเรียนออกแบบดาวเทียมตามจินตนาการที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
คณิตศาสตร์ คำนวนความเร็ว
ที่มาของเนื้อหา/ภาพประกอบ
th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
www.thaikidsthaicom.net/knowledge_satellite.php
https://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928013/link1.htmlwww.google.co.th/imglanding
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2484