พลังเสียงสะกดใจจากคุณทวดวัย 81


687 ผู้ชม


คุณทวดเจนีย์ คัตเลอร์ วัย 81 ปี พกความมั่นใจมากับเสียงอันทรงพลัง ร้องเพลงคลาสสิกในรายการ บริเทน'ส ก็อต ทาเลนท์ (Britain's Got TalentJarney)   

        ในรายการ  บริเทน'ส ก็อต ทาเลนท์  (Britain's Got TalentJarney) คุณทวดเจนีย์ คัตเลอร์  วัย  81 ปี 
พกความมั่นใจมากับเสียงอันทรงพลัง ร้องเพลงคลาสสิก ของ เอดิทห์  ปิอาฟ ชื่อว่า "นง, เฌอ เนอ เรอแกรตต์ เรียง"
(Non, Je Ne Regrette Rien ) ซึ่งหมายความว่า "ไม่, ฉันไม่เสียใจเลย" ค่ำคืนนั้น เสียงขับร้องของคุณทวดทำผู้ชมทั้งห้องส่ง รวมถึงบรรดากรรมการอดใจไม่ไหวที่จะลุกขึ้นปรบมือให้คุณทวดดังกึกก้อง และขณะนี้คุณทวดคัตเลอร์ได้ฉายาใหม่ว่า 'นูโบ' ( ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/oversea/82193 ) 
                             
          พลังเสียงสะกดใจจากคุณทวดวัย 81
                                                           ภาพที่ 1 คุณทวดเจนีย์ คัตเลอร์  วัย 81 ปี 
                                                       (ที่มา  https://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=71803)
       การร้อง หรือ การเปล่งเสียง ของมนุษย์มีความหมายหลายอย่าง และมีประโยชน์มากมาย  บางคนร้องเพื่อระบายอารมณ์  เพื่อสื่ออารมณ์ แสดงถึงความสุข ทุกข์ เศร้า เหงา และรัก การร้องเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ และยังช่วยในเรื่องสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย  แต่เสียงคืออะไร  เกิดขึ้นมาได้อย่างไรมาดูกัน
ค่ะ   

พลังเสียงสะกดใจจากคุณทวดวัย 81
    ภาพที่  2  กรรมการโบกมือให้คุณทวดเจนีย์ คัตเลอร์  วัย 81 ปี   
  
(ที่มา  
https://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=71803
)

                             *********   มาศึกษารายละเอียดเรื่องเสียงกันนะคะ *********
                        
                           
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ทุกระดับชั้น   และผู้สนใจทั่วไป


เรื่อง   เสียง

          เสียง เป็นคลื่นกลที่ใช้อากาศเป็นพาหะ เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่าน สุญญากาศ เช่น ในอวกาศ ได้   เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้

          คุณลักษณะของเสียง
          
          คุณลักษณะเฉพาะของเสียง ได้แก่ ความถี่ ความยาวช่วงคลื่น แอมปลิจูด และความเร็ว   เสียงแต่ละเสียงมีความแตกต่างกันเสียงสูง-เสียงต่ำ, เสียงดัง-เสียงเบา, หรือคุณภาพของเสียงลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และจำนวนรอบต่อวินาทีของการสั่นสะเทือน

          ความถี่
           
          ระดับเสียง (pitch) หมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด

          ความยาวช่วงคลื่น
          
          ความยาวช่วงคลื่น (wavelength) หมายถึง ระยะทางระหว่างยอดคลื่นสองยอดที่ติดกันซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการอัดตัวของคลื่นเสียง (คล้ายคลึงกับยอดคลื่นในทะเล) ยิ่งความยาวช่วงคลื่นมีมาก ความถึ่ของเสียง (ระดับเสียง) ยิ่งต่ำลง

          แอมปลิจูด
          
          แอมปลิจูด (amplitude) หมายถึง ความสูงระหว่างยอดคลื่นและท้องคลื่นของคลื่นเสียง ที่แสดงถึงความเข้มของเสียง (Intensity) หรือความดังของเสียง (Loudness) ยิ่งแอมปลิจูดมีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

                                              แหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญ 
                                              
                      ระดับเสียง (เดซิเบลเอ)*                          แหล่งกำเนิดเสียง 
                                30                                           เสียงกระซิบ 
                                50                                           เสียงพิมพ์ดีด 
                                60                                           เสียงสนทนาทั่วไป 
                                70                                                     - 
                                80                                           เสียงจราจรตามปกติ 
                                90                                                     - 
                              100                                           เสียงขุดเจาะถนน 
                              120                                           เสียงค้อน เครื่องปั๊มโลหะ 
                              140                                           เสียงเครื่องบินขึ้น 
                             
 * เดซิเบลเอ  dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป
                               

พลังเสียงสะกดใจจากคุณทวดวัย 81

                                                                                     ภาพที่  3                                               
                  (ที่มา  https://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0014/EAK_EnergyWEB1/800px-WEAs_in_Neuenkirchen.jpg
)


      ** เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่  ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ ค่ะ  **


                                ***    ฟังพลังเสียงคุณทวดเจนีย์ คัตเลอร์'  ได้ที่นี้ค่ะ  ***

                                                                 คลิกนะคะ  
     https://www.youtube.com/watch?v=JAwOZvvGsRs&feature=player_embedded
                         
       
คำถาม VIP ชวนคิด

       1. เสียงคืออะไร
       2. เสียงเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
       3. เพราะเหตุใดจึงเกิดเสียงสูงและเสียงต่ำแตกต่างกัน
       4. คุณลักษณะของเสียงมีอะไรบ้าง
       5. เสียงที่เป็นอันตรายที่องค์การอนามัยโลกกำหนดมีค่าเท่าใด

กิจกรรมเสนอแนะ

      1. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแหล่งกำเนิดของเสียงมีผลต่อคุณภาพของเสียงอย่างไร
      2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายการเกิดเสียงต่ำ เสียงสูง สาเหตุเพราะเหตุใด
     
การบูรณาการ

      1. ให้นักเรียนเปล่งเสียงร้องและนับจำนวนนักเรียนที่มีเสียงต่ำและสูง และทำสถิติระดับเสียงใดมี
จำนวนมากที่สุด
      3. ให้นักเรียนร้องเพลงที่ชอบ  1 เพลงและเปรียบเทียบระดับเสียงนักเรียนแต่ละคน
    
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

      1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/82193 
       2. https://www.posttoday.com/lifestyle/health-me/เปล่งเสียง ร้องเพลง เพื่อสุขภาพกาย-ใจ
       3. https://th.wikipedia.org/wiki/เสียง
       4. https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/soundpol/soundpol.htm
       5. https://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=71803
       6. 
https://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0014/EAK_EnergyWEB1/800px-WEAs_in_Neuenkirchen
.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2500

อัพเดทล่าสุด