คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)ใช้ทำเหรียญบาท


1,956 ผู้ชม


เหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ จะทำด้วยโลหะผสมซึ่งจะเป็นโลหะใดผสมกันนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของเหรียญและราคาที่ต้องการ   

        การซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐฯ  ดัชนีดิ่งลงอย่างหนักจากแรงเทขายตลาดการซื้อขาย ขณะที่ค่าเงินยูโร 
เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ดิ่งลงหนักสุดในรอบ 19 เดือน (ที่มา https://www.thairath.co.th/content/eco/83035) 
                                                      
                                                              คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)ใช้ทำเหรียญบาท    
  

                                                            ภาพที่  1 เหรียญยูโร
                              (ที่มา  
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/2/2d/Euro_coins_version_II.png )
                                            
        ยูโร (euro) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 13 ประเทศตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่  
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี  ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวีเนีย และ สเปน โดยรวมเรียกกันว่า 
ยูโรโซน (Eurozone) 1 ยูโร สามารถแบ่งได้เป็น 100 เซนต์ (เหมือน 1 บาทไทย แบ่งได้ 100 สตางค์) ซึ่งมีเหรียญและธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบในปัจจุบัน  และค่าเงิน  1 ยูโร  จะมีค่าประมาณ  48 บาท ค่ะ

                                    คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)ใช้ทำเหรียญบาท
                                                         
ภาพที่  2  เหรียญบาทกับเหรียญยูโร                            
                                 (ที่มา  https://webboard.siamza.com/data/chiraphan/bpic/675580178.gif
 )

        สำหรับเหรียญกษาปณ์ หรือเงินเหรียญที่เราใช้จะมีส่วนประกอบเป็นโลหะผสมต่าง ๆ เช่น เหล็กกล้า 94.35% ผสมกับทองแดง 5.65%  หรือ ส่วนผสมทองแดง 89%อะลูมิเนียม 5%สังกะสี 5% ดีบุก 1%  หรือ 
ทองแดง 75% ผสมกับนิกเกิล 25% ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของเหรียญแต่ละราคานั้นเองค่ะ  เหรียญที่มีส่วนผสมระหว่างทองแดง 75 % กับ นิกเกิล 25 %  เรียกว่า คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel) เช่น เหรียญบาท เหรียญ 5 บาทค่ะ 
                
     ***   เรามาศึกษารายละเอียดของโลหะผสมที่ใช้ทำเหรียญกันนะคะ   ***
                           
                           
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ทุกระดับชั้น   และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง   อัลลอยหรือโลหะผสม

          อัลลอย หรือ โลหะผสม หรือโลหะเจือ  (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน 

        โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy)ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน 
                                    คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)ใช้ทำเหรียญบาท
                                                          
ภาพที่  3  โลหะอัลลอย                          
                                (ที่มา https://www.igetweb.com/www/akesteel/private_folder/st2/40.jpg
 )

        ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง 
แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสีต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลวแทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมด เรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม

        โลหะเจือ มีดังนี้
        
                    อะลูมิเนียมสัมฤทธิ์ (aluminium bronze) 
                    อัลนิโก (alnico) 
                    อะมันกัม (amalgam) 
                    ทองเหลือง (brass) 
                    ทองสัมฤทธิ์ (bronze) 
                    ดูราลูมิน (duralumin) 
                    อีเล็กตรัม (electrum) 
                    กาลินสแตน (galinstan) 
                    อินเตอร์เมทัลลิก (intermetallics) 
                    มู-เมทัล (Mu-metal) 
                    นิกโครม (Nichrome) 
                    ปิวเตอร์ (pewter) 
                    ฟอสเฟอร์สัมฤทธิ์ (phosphor bronze) 
                    โซลเดอร์ (solder) 
                    สไปเจไลเซน (spiegeleisen) 
                    เหล็กไร้สนิม (stainless steel) 
                    เหล็กกล้า (steel) 
                    เงิน สเตอริ่ง (Sterling silver) 
                    โลหะไม้ (Wood's metal)

                                   คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)ใช้ทำเหรียญบาท

                                                                           ภาพที่  4  เหรียญบาท                         
                                        (ที่มา https://img383.imageshack.us/img383/1148/img015uj2.jpg 
)

 ** ดังนั้นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ จะทำด้วยโลหะผสมซึ่งจะเป็นโลหะใดผสมกันนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของเหรียญและราคาที่ต้องการค่ะ ส่วนเหรียญในประเทศไทยเรา คือเหรียญ 1 บาท และ 5 บาท จะทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดง 75% และนิกเกิล 25% ซึ่งเรียกโลหะผสมนี้ว่า  
คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)  ค่ะ **
 

คำถาม VIP ชวนคิด

       1. ยูโรคืออะไร
       2. โลหะผสมหรืออัลลอยคืออะไร
       3. โลหะผสมที่ใช้ทำเหรียญประกอบด้วยโลหะใดบ้าง
       4. คิวโปรนิกเกิล เป็นอัลลอยประกอบด้วยโลหะชนิดใดบ้าง
       5. ยกตัวอย่างอัลลอย ที่นักเรียนรู้จัก

กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนนำเสนอประโยชน์ของโลหะอัลลอยในชีวิตประจำวัน
       2.ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความแข็งแรงระหว่างโลหะธรรมดาและโลหะผสม
       3.ให้นักเรียนอธิบายการเกิดสารประกอบระหว่างโลหะที่เกิดเป็นโลหะอัลลอย
       
การบูรณาการ

      1. ให้นักเรียนนับชนิดของโลหะที่เกิดสารประกอบเป็นโลหะอัลลอย อัลลอยชนิดใดมีโลหะผสมอยู่มากที่สุด
      2. ให้นักเรียนนำเสนอการใช้ประโยชน์ของอัลลอยด้านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน
      3. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าชนิดของอัลลอยที่ใช้ทำเหรียญในประเทศต่าง ๆ 
      4. ให้นักเรียนเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของเหรียญในแต่ละประเทศ
     
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

      1. https://www.thairath.co.th/content/eco/83035
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/ยูโร
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/โลหะเจือ
      4. https://th.wikipedia.org/wiki/คิวโปรนิกเกิล
      5. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/2/2d/Euro_coins_version_II.png
      6. https://webboard.siamza.com/data/chiraphan/bpic/675580178.gif
      7. https://img383.imageshack.us/img383/1148/img015uj2.jpg
      8. https://www.igetweb.com/www/akesteel/private_folder/st2/40.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2515

อัพเดทล่าสุด