ยางรถยนต์เก่าอย่าเผาทิ้ง


2,076 ผู้ชม


ยางเก่าอย่าเพิ่งเผาทิ้ง! นักวิจัยชี้มีวิธีเปลี่ยนให้เป็นน้ำมัน   

        นักวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่ายางรถยนต์เก่าสามารถนำมาทำให้เป็นน้ำมัน เชื้อเพลิงโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ไพโรไลซิส น้ำมันที่ได้มีคุณภาพที่ดีกว่า  อีกทั้งยังไร้โลหะเจือปนอีกด้วย


ที่มา https://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=494

ประเด็นข่าว
        ยางรถยนต์เก่าเมื่อนำมาผ่านกระบวนการไพโรไลซิส สามารถทำให้เปลี่ยนกลับมาเป็น    น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งนับว่าเป็นการ    ค้นพบที่เป็นความหวังท่ามกลางวิกฤติพลังงานของโลก

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ช่วงชั้นที่ 4
สาระที่ 3   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1
 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับ 
             โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหา
             ความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
             ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
             การเกิดสารละลาย  การเกิดปฏิกิริยาเคมี  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
             และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์

        ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังอยู่ในยุคที่เฟื่องฟู อุตสาหกรรมยางรถยนต์ก็พลอยได้รับอานิสงค์ตามไปด้วย แต่ใครจะรู้บ้างว่าในแต่ละปีมียางรถยนต์เก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมากมายสักเพียงใด  มีผู้คาดการณ์ว่าทั่วโลกมียางรถยนต์เก่าสะสม ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านเส้น สำหรับในประเทศไทยมีรายงานว่าในแต่ละปีมียางเก่าประมาณ 100 ล้านเส้น ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
        ยางรถยนต์เก่านั้น หากนำมาเผาทิ้ง นอกจากจะเป็นการทำลายสภาพอากาศและทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าเดิมแล้ว หาก     สูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดผลเสียต่อทางเดินหายใจ เช่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ระบบทางเดินหายใจ      ติดเชื้อ หอบหืด จนถึงขั้นอาจเป็นมะเร็งได้หรืออาจเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หมดสติ นอกจากนี้ยังเป็นการปล่อยโลหะหนักเข้าสู่บรรยากาศอีกด้วย       

ยางรถยนต์เก่าอย่าเผาทิ้ง

       ภาพควันพิษจากการเผายางรถยนต์เก่า (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสดhttps://www.khaosod.co.th/)

        ในปัจจุบันยางเก่าถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น เผาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์ นำมารีไซเคิลทำ    ยางมะตอย หรือนำมารีไซเคิลทำยางรถยนต์ใหม่ เป็นต้น
        นักวิจัยจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาวิธีการนำยางรถยนต์เก่ามาผลิตเป็น        เชื้อเพลิงแปรรูป ซึ่งสามารถทำได้ด้วย 3 กระบวนการ คือ
        1.ไพโรไลซิส (Pyrolysis) เป็นการย่อยสลายโมเลกุลของสารด้วยความร้อนในบรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซและน้ำมัน 
        2.แก๊สซิฟิเคชัน (Gasification) เป็นการย่อยสลายโมเลกุลของสารด้วยความร้อนเพื่อผลิตก๊าซสังเคราะห์คือ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ 
        3.ลิควิแฟคชัน(Liquefaction) เป็นการย่อยสลายโมเลกุลด้วยความร้อนร่วมกับการใช้ตัวทำละลายหรือของเหลวที่ไม่ใช่น้ำเพื่อผลิตน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งเรียกทั้ง 3 กระบวนการนี้เรียกรวมกันว่า กระบวนการพีจีแอล (PGL Process)
        แต่กระบวนการที่มักถูกนำมาใช้คือ กระบวนการไพโรไลซิส เนื่องจากง่ายกว่าวิธีอื่นๆ  
        กระบวนการดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักการที่ว่าน้ำมันเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยโซ่ไม่ใหญ่นัก ดังนั้นหากนำผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบเป็นไฮโดรคาร์บอนสายโซ่ขนาดใหญ่เช่น ยางรถยนต์ มาทำปฏิกิริยาให้สายโซ่เหล่านั้นแตกออก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็จะให้น้ำมันออกมา 
        ทั้งนี้ผลผลิตจากกระบวนการไพโรไลซิสยางรถยนต์เก่า จะได้น้ำมันดิบ ซึ่งสามารถนำไปปแยกเป็นน้ำมันชนิดต่างๆ ตามลำดับของจุดเดือด เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล เป็นต้น ต้น เช่นเดียวกับการกลั่นน้ำมันดิบในอุตสาหกรรมทั่วไป นอกจากนี้คุณภาพของน้ำมันที่ได้ยัง     ดีกว่าน้ำมันที่ได้จากการขุดเจาะ เนื่องจากไม่มีการปนเปื้อนของยางมะตอยและโลหะหนักนั่นเอง
 รู้กันอย่างนี้แล้ว หวังว่าคงจะไม่เอายางรถยนต์เก่าไปเผาทิ้งให้เป็นการทำลายสภาพอากาศโดยเปล่าประโยชน์ แถมยังเพิ่มภาวะโลกร้อนให้ร้อนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ประเด็นคำถามสู่การอภิปราย
        1.โทษหรือพิษภัยของการเผายางรถยนต์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
        2.โทษหรือพิษภัยของการเผายางรถยนต์ที่มีต่อมนุษย์
        3.แนวทางในการนำยางรถยนต์เก่าไปใช้ให้เกิดประโยชน์

กิจกรรมเสนอแนะ
        1.นักเรียนสำรวจปริมาณยางรถยนต์เก่าในชุมชน
        2.นักเรียนคิดค้นโครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากยางรถยนต์เก่า

กิจกรรมบูรณาการ
        1.บูรณาการกับวิชาชีววิทยาและสุขศึกษาเกี่ยวกับโรคภัยจากการสูดดมควันพิษ
        2.บูรณาการกับวิชาในกลุ่มการงานอาชีพเกี่ยวกับการรีไซเคิลยางรถยนต์เก่า

แหล่งอ้างอิง
        https://www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=494
        https://health.kapook.com/view13049.html
        https://www.khaosod.co.th/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2532

อัพเดทล่าสุด