อาวุธมหาประลัย M 79


1,129 ผู้ชม


เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ 40 มิลลิเมตร หรือเอ็ม 79 เป็นอาวุธสงครามอานุภาพทำลายล้างสูง หัวกระสุนมีหลายแบบ เช่นกระสุนยาง และแก๊สน้ำตา กระสุนยางก็ทำจาก " ยาง " ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ ประเภทหนึ่ง ส่วนแก๊สน้ำตาก็เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง   

        เครื่องยิงลูกระเบิดแบบ 40 มิลลิเมตร หรือเอ็ม 79 เป็นอาวุธสงครามอานุภาพทำลายล้างสูง ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 2496-2503 ตามโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการรบของทหารราบสหรัฐฯ หาอาวุธขนาดพกพามาแทน "ปืนครก" ที่มีขนาดหนักและใช้เวลานานกว่าจะตั้งยิงได้ เป็นอาวุธที่ใช้ในการทหาร
(ที่มา  https://www.thairath.co.th/column/oversea/worldwide/83941)

                                    อาวุธมหาประลัย M 79
                                                              ภาพที่  1  M 79 
                                (ที่มา  https://www.thairath.co.th/column/oversea/worldwide/83941)

         เอ็ม 79 ผลิตโดยบริษัท "สปริงฟิลด์ อาร์เมอรี" ในรัฐแมสซาชูเสตต์ มีขนาดความยาว 73 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.7 กิโลกรัม ระยะยิงหวังผล 350-400 เมตร บรรจุกระสุนทีละนัดโดยการหักลำกล้อง  หัวกระสุนจะถูกยิงออกไปในลักษณะวิถีโค้งและระเบิดเมื่อกระทบเป้าหมาย มีรัศมีทำลายประมาณ 30 เมตร ขึ้นอยู่กับหัวกระสุน ซึ่งมีมากมายหลายชนิดทั้งแบบระเบิดแรงสูง ระเบิดเพลิง ระเบิดพลุส่องแสง ระเบิดเคมี รวมถึงกระสุนสำหรับใช้ควบคุมฝูงชนอย่างแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง จะเห็นได้ว่า M 79 เป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงมากสามารถทำลายล้างชีวิตอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ได้อย่างน่ากลัวเลยที่เดียวค่ะ   
       กระสุนที่ใช้ใน M 79 ที่ได้ยินบ่อย ๆ คือ กระสุนยาง และแก๊สน้ำตา   ซึ่งกระสุนยางที่พูดถึงก็ทำจาก " ยาง " ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ ประเภทหนึ่ง โดยกระสุนยางจะใช้ยางเคลือบโลหะ หรือเหล็กบาง ๆ เพื่อใช้ในการฝึกหรือเวลามีจราจล ส่วนแก๊สน้ำตาเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก ค่ะ

                                  อาวุธมหาประลัย M 79
                                                           ภาพที่  2  กระสุนยาง
                                        (ที่มา  https://img143.imageshack.us/img143/1707/dsc07839to0.jpg)

  
       *** มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับ พอลิเมอร์ ประเภท ยาง ที่ใช้ทำกระสุนยาง และแก๊สน้ำตา 
                                       เพื่อเป็นประดับความรู้ด้วยกันค่ะ  ***
       
                        
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง   พอลิเมอร์

          พอลิเมอร์ เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นโฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็นโคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จัดเป็นพอลิเมอร์   พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer)
                                  อาวุธมหาประลัย M 79
                                                 ภาพที่  3  ฝ้าย (พอลิเมอร์ธรรมชาติ)
    (ที่มา https://byfiles.storage.live.com/y1pjSSLZZlTQRPmPldNAN4I-H7J8T9hEvdM79FrlM6yYcCHmFmm_G8XZdBg0TLsRs2ZDdf-ix3iYpo)
 
          พอลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ 
          พอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์เพราะพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้

         รูปแบบการใช้งานของพอลิเมอร์
         พอลิเมอร์ที่เรามีการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น สามารถแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้ออกมา
กว้าง ๆ ได้ 4 แบบ ก็คือ

         1. เส้นใย เป็นพอลิเมอร์กลุ่มที่แข็งแรงที่สุด เนื่องจากพื้นที่หน้าตัดของเส้นใยนั้นมีขนาดที่เล็กมาก ตัวพอลิเมอร์เองจึงจำเป็นต้องรับแรงในแนวแกนเส้นใยให้ได้สูงสุด เส้นใยจึงมีลักษณะทางกายภาพที่ดูเบาบาง แต่มีความแข็งแรงสูง 
        2.  พลาสติก มีความแข็งแรงรองจากเส้นใย แม้ว่าการใช้งานพลาสติกนั้น จะมีมิติความกว้าง ยาว สูง มากกว่าเส้นใยหลายเท่า ทำให้ดูเหมือนว่าแข็งแรงกว่าเส้นใย แต่ถ้าลองนำพลาสติกไปฉีดให้มีความบางเท่าเส้นใย จะพบว่ามันแข็งแรงน้อยกว่ามาก 
        3. ยาง มีจุดเด่นคือความยืดหยุ่นสูง เราจึงไม่เปรียบเทียบเรื่องความแข็งแรง แต่มักจะคำนึงถึงค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวก่อนขาด (elongation at break) และแรงดึงที่จุดขาด (load at break) แทน นอกจากนี้พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการคืนตัวกลับได้ดีด้วย (recovery property) จึงต้องมีการเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่โมเลกุลด้วยการเชื่อมขวาง (crosslink) ซึ่งจุดที่เชื่อมขวางนี้ควรจะอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม เนื่องจากหากถี่เกินไป ยางที่ได้จะมีลักษณะแข็งไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ถ้าห่างเกินไป ก็จะได้ยางที่มีลักษณะนิ่มเกินไป 
        4. สารละลายและลาเทกซ์ ใช้งานในรูปของพอลิเมอร์ที่กระจายตัวในของเหลวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวทำละลายของพอลิเมอร์เอง หรือกระจายตัวเป็นอิมัลชันในน้ำ ลักษณะการใช้งานคือเป็น กาว สีทาบ้าน เชลแล็ค หรือ สารเคลือบผิวอื่น ๆ พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ควรจะกระจายตัวได้ดี และมีความสามารถในการเชื่อมขวางได้ในสภาวะ
ที่มีแสง หรือแก๊ซออกซิเจนได้ หรือไม่ก็สามารถที่จะนำตัวเองไปเกี่ยวพัน (entanglement) กับวัสดุอื่น ๆ ได้

        ตัวอย่างประเภทของพอลิเมอร์
        
         ยาง  
         
         ยาง  คือวัสดุพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน ยางเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ยางที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจะมาจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ ยางในสภาพของเหลวเรียกว่าน้ำยาง ยางที่เกิดจากพืชนี้เรียกว่า
ยางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันมนุษย์สามารถสร้างยางสังเคราะห์ได้จากปิโตรเลียม
                                อาวุธมหาประลัย M 79
                                                   ภาพที่  4  ยางธรรมชาติ
                         ( ที่มา  https://www.tmc.nstda.or.th/htmlweb/admin/photo_new_large/1189-2.jpg)

         การผลิตยางธรรมชาติ
         
         แหล่งผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นร้อยละ 90 ของแหล่งผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือมาจากแอฟริกากลาง ซึ่งพันธุ์ยางที่ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พันธุ์ฮีเวียบราซิลเลียนซิส (Hevea brasiliensis) น้ำยางที่ได้จากต้นยางมีลักษณะเป็นเม็ดยางเล็ก ๆ กระจายอยู่ในน้ำ 
(emulsion) มีปริมาณของแข็งประมาณร้อยละ 30-40 การใส่กรดอะซิติกเจือจางลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เกิดการแยกชั้นระหว่างเนื้อยางและน้ำ ส่วนน้ำที่ปนอยู่ในยางจะถูกกำจัดออกไปโดยการรีดด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูกกลิ้ง วิธีการหลัก ๆ ที่จะทำให้ยางแห้งสนิทมี 2 วิธีคือ การรมควันยาง และการทำยางเครพ แต่เนื่องจากยางผลิตได้มาจากเกษตรกรจากแหล่งที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการแบ่งชั้นของยางตามความบริสุทธิ์ของยางนั้น ๆ
       
          กระสุนยาง
         
          กระสุนยางเป็น ยาง หรือยางเคลือบ projectiles ที่สามารถยิงจากมาตรฐานทั้ง ปืน หรือเฉพาะ ปืนจลาจล They are intended to be a less lethal alternative to metal projectiles. พวกเขามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น พิษน้อยกว่า ทางเลือก projectiles โลหะ Like other similar projectiles made from plastic , wax , and wood, rubber bullets may be used for short range practice and animal control, but are most commonly associated with use in riot control and to disperse protests  เช่น  projectiles คล้ายกันทำจาก พลาสติก , ขี้ผึ้ง , และ ไม้ , กระสุนยางอาจใช้ในการฝึกช่วงสั้นและการควบคุมสัตว์ แต่ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการใช้ในการ จลาจล การควบคุมและกระจายไป ประท้วง  Such "kinetic impact munitions" are meant to cause pain but not serious injury. เช่น"สัมภาระทหารผลกระทบ ต่อการเคลื่อนไหว"จะหมายถึงการทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่ไม่ร้ายแรงบาดเจ็บ They are expected to produce contusions, abrasions, and hematomas. However, they may cause bone fractures, injuries to internal organs, or death. พวกเขาคาดว่าจะผลิต contusions, ถลอก, และ hematomas แต่พวกเขาอาจทำให้กระดูกหัก, บาดเจ็บที่อวัยวะภายในหรือเสียชีวิต In a study of 90 patients in Northern Ireland, one died, 17 suffered permanent disabilities or deformities and 41 required hospital treatment after being fired upon with rubber bullets. ในไอร์แลนด์ศึกษา 90 ผู้ป่วยในภาคเหนือหนึ่งตาย 17 ประสบความพิการถาวรหรือความผิดปกติและการรักษาพยาบาลที่จำเป็น 41 หลังถูกยิงด้วยกระสุนยาง
                                อาวุธมหาประลัย M 79
                                                ภาพที่  5  กระสุนยาง (ยางเคลือบ)
                             
    ( ที่มา  https://img131.imageshack.us/img131/4831/p1000726b.jpg)

        กระสุนยางใช้ควบคุมจลาจล 
        
         จลาจลยาง bullet การควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของสายยาวของการพัฒนาน้อยหมึกควบคุมจลาจลร้ายแรงที่วันที่กลับไปใช้ส่วนของไม้กวาดด้ามสั้นยิงที่ rioters ใน สิงคโปร์ ใน 1880s [1] British รอบยางพัฒนาเพื่อแทนที่ รอบไม้ที่พวกเขาใช้ใน ไอร์แลนด์เหนือ Israeli rubber bullets are produced in two main types. 
อิสราเอล กระสุนยางผลิตในสองประเภทหลัก The older type, the standard rubber bullet, is a 2 cm steel sphere coated in a thin layer of rubber, weighing 14 grams, while the new improved rubber bullet, introduced in 1989, is a rubber coated metal cylinder 1.7 cm in diameter, weighing 15.4 grams. These bullets are fired from a special adapter attached to the muzzle of a rifle, similar to those used to launch rifle grenades . ชนิดเก่า bullet ยางมาตรฐานเป็นทรงกลมเหล็ก 2 ซม. เคลือบในชั้นบางของยางน้ำหนัก 14 กรัมในขณะที่ bullet ยางใหม่ดีขึ้นนำในปี 1989 เป็นยางถังโลหะเคลือบ 1.7 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางชั่ง 15.4 กรัม [6] หัวข้อย่อยเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงจากอะแดปเตอร์พิเศษแนบมาเพื่อเปิดปากกระบอกปืนของปืนยาวคล้ายกับที่ใช้ในการ grenades ปืนยาว The rubber bullets are loaded into the front of the adapter, and propelled with a blank cartridge . Lethal injuries are often the result of head injuries caused by misuse. กระสุนยางจะถูกโหลดลงในอะแดปเตอร์ด้านหน้าของและขับเคลื่อนด้วย หมึกเปล่า . มักจะผิดผลหัวของการบาดเจ็บที่เกิดจาก  Two rounds of Fiocchi 12 gauge rubber buckshot รอบสองของ Fiocchi 12 กระสุนขนาดกลางยางวัด Smaller rubber bullets are used in riot shotguns , and are available in a variety of types. เล็กกว่ากระสุนยางที่ใช้ใน shotguns จลาจล และมีอยู่ในประเภทต่างๆ One company, for example, makes both rubber buckshot rounds, containing 15 8.3mm diameter rubber balls per cartridge, and rubber baton rounds, containing a single 4.75 gram projectile. บริษัท หนึ่งเช่นทำให้ทั้งสองรอบกระสุนขนาดกลางยางมี 15 8.3mm ลูกยางขนาดต่อตลับและรอบกระบองยางมีเดียวพุ่ง 4.75 กรัม 
         ในบางประเทศ  projectiles ปืนยิงยางอาจจะใช้สำหรับการป้องกันพลเรือน In Russia, a variety of handguns are carried with specially weakened construction and barrel with internal lugs, making use of full-power loads and/or firing hard projectiles impossible, while rubber bullets just compress when passing the lug and so may be fired. ในรัสเซียหลาย handguns จะดำเนินการกับการก่อสร้างลดลงพิเศษและถังกับ lugs ภายในทำให้การใช้ไฟฟ้าโหลดเต็มและ / หรือยิง projectiles ยากเป็นไปไม่ได้ในขณะที่กระสุนยางก็อัดเมื่อผ่านลากและเพื่อจะยิง  Most common calibers are 9 mm and 10 mm with muzzle velocity sometimes almost matching normal handguns and bullets as light as 0.7 g. ที่สุด calibers ทั่วไปเป็น 9 มม. และ 10 มม. ความเร็วปากกระบอกปืนบางครั้งเกือบจะจับคู่ handguns ปกติและหัวข้อย่อยเป็นไฟเป็น 0.7 กรัม 
         
         พอลิเมอร์ ประเภทอื่น ๆ 
         
         พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ พลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ 
พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

         พอลิเมอร์สังเคราะห์ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด พอลิเมอร์มีการใช้ในการยึดเกาะและการหล่อลื่นอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการใช้เป็นโครงสร้างตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงยานอวกาศ มีการใช้เป็นยาทางชีวภาพในฐานะเป็นตัวขนส่งยาในสิ่งมีชีวิต พอลิเมอร์เช่น พอลิ เมทิล เมทาคริเลต ที่ใช้ในกระบวนการโฟโตเรซิสในอุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และสารไดอิเล็กทริกโปแทสเซียมต่ำสำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้สำหรับอิเล็กทรอนิกส์

        โครงสร้างของพอลิเมอร์

        คุณสมบัติทางโครงสร้างของพอลิเมอร์ เกี่ยวข้องกับการจัดตัวทางกายภาพของลำดับโมโนเมอร์ตลอดแกนหลักของสาย โครงสร้างทีอิทธิพลต่อคุณสมบัติอื่นๆ ของพอลิเมอร์ ตัวอย่างเช่น พอลิเมอร์สายตรงอาจจะละลายหรือไม่ละลายในน้ำขึ้นกับว่าหน่วยย่อยนั้นมีขั้วหรือไม่ แต่ในกรณีของยางธรรมชาติ ยางธรรมชาติสองชนิด
อาจจะแสดงความทนทานต่างกันแม้จะมีหน่วยย่อยเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์พยายามพัฒนาวิธีการเพื่ออธิบายทั้งธรรมชาติของหน่วยย่อยและการจัดเรียงตัว

        คุณสมบัติของพอลิเมอร์
        
         ชนิดของคุณสมบัติของพอลิเมอร์แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็นหลายหมวดขึ้นกับความละเอียด ในระดับนาโนหรือไมโครเป็นคุณสมบัติที่อธิบายลักษณะของสายโดยตรงโดยเฉพาะโครงสร้างของพอลิเมอร์ ในระดับกลาง เป็นคุณสมบัติที่อธิบายสัณฐานของพอลิเมอร์เมื่ออยู่ในที่ว่าง ในระดับกว้างเป็นการอธิบายพฤติกรรมโดยรวมของพอลิเมอร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติในระดับการใช้งาน

         ข้อมูลเพิ่มเติม

         แก๊สน้ำตา  
         
         แก๊สน้ำตา ( lachrymatory agent, lachrymator หรือ tear gas) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง  แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง  ในประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกได้ทำวิจัยลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตา มีระยะเวลาการเกิดควัน 50 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางเมตร 

        ส่วนประกอบ
        
        สารที่ใช้เป็นแก๊สน้ำตามีโดยลักษณะเป็นฝุ่นผงหลายแบบ เช่น แก๊สซีเอส แก๊สซีเอ็น แก๊สซีอาร์ และ สเปรย์พริกไทย
                                     อาวุธมหาประลัย M 79

                                                          ภาพที่  6  แก๊สน้ำตา
                             ( ที่มา  https://media.cru.in.th/~scicomm/web/images/thumb_1223873530.jpg)

        
        การเป็นพิษ

        ถ้ามีการสูดหายใจแก๊สน้ำตาเข้าไป จะทำให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก หลอดลมและปอด ทำให้ มีอาการไอและจาม ถ้าเป็นมากอาจถึงหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบได้  การสัมผัสดวงตาและผิวหนัง มีผลให้เกิดการไหม้และระคายเคืองทันทีตามบริเวณที่สัมผัสกับแก๊สน้ำตา อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา ได้แก่
       น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง 
       น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง 
       ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย 
       แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่ 
       ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น 
       คลื่นไส้ อาเจียน  
       หากโดนในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดและหูหนวกได้ 
      
      โดยทั่วไปแล้วแก๊สน้ำตาจะไม่มีส่วนผสมของวัตถุระเบิด แต่หากแก๊สน้ำตามีส่วนผสมของวัตถุระเบิด เมื่อยิงเข้าในแนววิถีตรงจะทำให้สูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้ว หลังจากออกมาจากบริเวณที่มีแก๊สน้ำตาและทำความสะอาดร่างกายแล้ว อาการที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ประมาณ 30-60 นาที เท่านั้น ถ้าสัมผัสแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานๆ เช่น มากกว่า 1 ชั่วโมง หรือได้รับสัมผัสปริมาณมากๆ ในพื้นที่อับอากาศ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงได้ เช่น ตาบอด ต้อหิน ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตเนื่องจากสารเคมีจะไหม้ลำคอและปอด

                                 อาวุธมหาประลัย M 79
                                                         ภาพที่   7  ดอกไม้
                                           (ที่มา  https://gotoknow.org/file/localwisdom/RZDputthachad.jpg)
        **  เอ็ม 79 มีประสิทธิภาพแบบไหนขึ้นกับหัวกระสุน แต่สำหรับกระสุนที่เราได้รู้จักกันตอนนี้ คือกระสุนยาง และแก๊สน้ำตา  แต่ถึงอาวุธจะมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน  มนุษย์ทุกคนและทุกประเทศ 
ทั่วโลกก็ต้องการความสงบสุข ไม่อยากให้มีการใช้อาวุธที่ร้ายแรงเหล่านี้เลยค่ะ **

       
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1.  เอ็ม 79 คืออะไร
        2.  กระสุนยางเกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์อย่างไร
        3.  พอลิเมอร์มีสมบัติพิเศษอย่างไร
        4.  แก๊สน้ำตาคืออะไร
        5.  แก๊สน้ำตามีฤทธิ์อย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนยกตัวอย่างพอลิเมอร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
        2.ให้นักเรียนยกตัวอย่างพอลิเมอร์ธรรมชาติ
        3.ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยชน์ของยางธรรมชาติ
        4. ให้นักเรียนบอกประโยชน์และโทษของสารเคมี
   
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนแยกประเภทของพอลิเมอร์ที่พบในชีวิตประจำวัน
        2. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องการสร้างสันติภาพในโลก
        3. ให้นักเรียนเสนอวิธีการใช้ประโยชน์จากยางธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า
      
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

   1. https://www.thairath.co.th/column/oversea/worldwide/83941
    2. https://th.wikipedia.org/wiki/พอลิเมอร์
    3. https://en.wikipedia.org/wiki/Rubber_bullet
    4. https://th.wikipedia.org/wiki/แก๊สน้ำตา
    5. https://www.sisamrongbbgun.com/botkhwam/botkhwam_2551/gun/M79.jpg
    6. 
https://img143.imageshack.us/img143/1707/dsc07839to0.jpg
    7. https://byfiles.storage.live.com/y1pjSSLZZlTQRPmPldNAN4I-H7J8T9hEvdM79FrlM6yYcCHmFmm_G8XZdBg0TLsRs2ZDdf- ix3iYpo
    8.https://www.tmc.nstda.or.th/htmlweb/admin/photo_new_large/1189-2.jpg
    9.
https://img131.imageshack.us/img131/4831/p1000726b.jpg
   10.https://media.cru.in.th/~scicomm/web/images/thumb_1223873530.jpg 

  11.https://gotoknow.org/file/localwisdom/RZDputthachad.jpg
     

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2544

อัพเดทล่าสุด