อนุรักษ์ "30 สปีชีส์" รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ


743 ผู้ชม


มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพนี้เอง ที่มอบปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ แต่ในปัจจุบันนี้ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก จากกิจกรรมของมนุษย์จนมีอัตราลดลงอย่างน่าใจหาย และหากมนุ   
การนำเข้าสู่ประเด็นข่าว : เนื่องจากใกล้จะถึงการสอบ PAT ของนักเรียนชั้นม. 6 ปีการศึกษา 2553 ประเด็นคำถาม : เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม คำถามที่ 1 ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity) คืออะไร คำถามที่ 2 สิ่งมีชีวิตมีกี่กลุ่ม และ Taxonomy มึความหมายว่าอย่างไร คำถามที่ 3 มีคำกล่าวว่ามนุษย์เป็นผู้ใช้สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ก็คือผู้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพผู้ศึกษาคิดว่าเป็นความจริงหรื่อไม่ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าสิ่งมีชีวิตที่่กำลังจะสูญพันธ์ุ์ไปจากประเทศไทย ได้แก่ 1.นกกระเรียนสายพันธุ์ไทยที่ยังพบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติที่ประเทศอินเดีย (หาดูภาพภาพจาก Nayan Khanolkar/www.kolkatabirds.com) 2.พะยูน สัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (หาดูภาพจาก National Geographic) 3.ละมั่ง สัตว์ป่าสวนของไทยที่มีสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว (หาดูจาก www.forest.ku.ac.th) 4.โลมาอิรวดีกำลังเพลิดเพลินกับการเล่นน้ำในลำน้ำโขง (หาดูภาพจาก รอยเตอร์) 5.เสือโคร่ง เจ้าป่าที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ (หาดูภาพจาก R. Altenkamp/wikipedia.org) 6.ช้างเอเชียที่อยู่ในสวนสัตว์ประเทศเยอรมนี (หาดูภาพจาก เอเอฟพี) 7.พลับพลึงธารในคลองนาคา จ.ระนอง (หาดูภาพจาก พรจิตร ลิงก์ถาวร/learners.in.th) 8.ดอกกันภัยมหิดลสีม่วงสดใส (หาดูภาพจาก www.ph.mahidol.ac.th) คำถามที่ 4. ผู้ศึกษาลองจินตนาการเล่นๆ กันดูว่า ถ้าวันนี้เรายังปล่อยให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต่อไป โดยไม่หาทางหยุดยั้งเอาไว้ ในวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกและมนุษย์บ้าง? ประเด็นข่าว มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพนี้เอง ที่มอบปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ แต่ในปัจจุบันนี้ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก จากกิจกรรมของมนุษย์จนมีอัตราลดลงอย่างน่าใจหาย และหากมนุษย์ยังไม่รีบหยุดความสูญเสียนี้ไว้ ในอนาคตเราคงสูญเสียความหลายหลายทางชีวภาพไปจนหมดสิ้นแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเพราะความบังเอิญหรือตั้งใจก็ตาม องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี 2010 เป็น "ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" (International Year of Biodiversity) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและใส่ใจที่จะร่วมกันอนุรักษ์ไว้ อีกทั้งปีนี้ยังตรงกับ "ปีขาล" พอดีที่มีหลายหน่วยงานและองค์กรออกมาเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้นานาชาติเร่งอนุรักษ์ "เสือ" เพื่อปกป้องสัตว์อันเป็นสัญลักษณ์ของปีนักษัตรให้รอดพ้นจากการถูกคุกคามและไม่ให้สูญพันธุ์ เร่งอนุรักษ์ 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืช ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้จัดกิจกรรม "อนุรักษ์ 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืช" เพื่อร่วมเฉลิมฉลองความสำคัญของปีนี้ พร้อมกับสร้างความตระหนักให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อลดอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นแม่งาน เสือโคร่ง คือหนึ่งใน 20 พันธุ์สัตว์ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ให้เป็นสัญลักษณ์ของการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเสือโคร่งในประเทศไทยมีสถานภาพ "ใกล้สูญพันธุ์" ในบัญชีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เพราะมีหลงเหลืออยู่ในป่าธรรมชาติเพียงไม่กี่ร้อยตัวในจำนวนไม่กี่พันตัวที่เหลืออยู่ทั่วโลก เช่นเดียวกับ ช้างเอเชีย และสมเสร็จ ที่มีสถานะใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน คืนชีวิตสัตว์ใกล้สูญพันธุ์สู่ธรรมชาติ โลมาอิรวดี หรือที่คนไทยเรียกว่า โลมาหัวบาตร ที่เคยมีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย แต่ปัจจุบันกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากการทำประมงของมนุษย์จนมีจำนวนลดลงอย่างน่าตกใจจนเหลือเพียงประมาณ 1,000 ตัวในโลก และอาจสูญพันธุ์ได้ภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า จึงถูกจัดอยู่ในบัญชีแดงให้มีสถานภาพ "ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง" และยังจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) คือ ชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ห้ามทำการซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์เท่านั้น เช่นเดียวกับ "พะยูน" ที่มีเหลืออยู่ในไทยประมาณ 100 ตัวเท่านั้น ส่วนสัตว์ป่าสงวนของไทยอย่าง "นกกระเรียน" และ "ละมั่ง" ที่เป็นสัตว์หายากมากและมีสถานะ "สูญพันธุ์ในธรรมชาติ" ของประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว ก็มีรายชื่อรวมอยู่ใน 20 พันธุ์สัตว์ด้วย ทว่าหลายหน่วยงานก็กำลังพยายามอย่างหนักที่จะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนและปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติ นอกจากนี้สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งหรือถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์และมีรายชื่ออยู่ใน 20 พันธุ์สัตว์ด้วยนั้นยังมี นกเงือก นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระสาคอดำ ตะพาบม่านลาย เต่าทะเล ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว หอยมือเสือ ปูเจ้าพ่อหลวง ปูราชินี กระท่าง ปลากะโห้ และผีเสื้อถุงทอง "พลับพลึงธาร" พันธุ์พืชไทย 1 เดียวในโลก พลับพลึงธาร คือ 1 ใน 10 พันธุ์พืช ซึ่งพบแห่งเดียวในโลกที่คลองนาคา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ตำลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และใกล้จะสูญพันธุ์ในธรรมชาติเข้าไปทุกที เนื่องจากการขุดลอกคลอง และการลักลอบขุดหัวพันธุ์จากธรรมชาติส่งไปขายยังต่างประเทศ โดยมีการคาดการณ์ว่าพลับพลึงธารอาจสูญพันธุ์ได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้หากยังไม่เร่งอนุรักษ์ไว้อย่างจริงจังเช่นเดียวกับที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากคลองบางปง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เมื่อหลายปีก่อน ส่วน 10 พันธุ์พืชชนิดที่เหลือ ได้แก่ ชายผ้าสีดา ฟ้ามุ่ยน้อย กุหลาบพันปี ค้อเชียงดาว กันภัยมหิดล เพชรหึง เหลืองจันทบูร รองเท้านารี และจันทร์ผา ซึ่งล้วนแต่เป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ทั้งสิ้น หากไม่มีหน่วยงานใดยื่นมือเข้าไปปกป้องอย่างจริงจัง เด็กไทยรุ่นหลังจากนี้อีกเพียงไม่กี่ปีคงไม่มีโอกาสเห็นพืชชนิดนี้กันอีกแล้ว ทั้งนี้ สผ. กำหนดระยะเวลาดำเนินงานอนุรักษ์ 20 พันธุ์สัตว์ 10 พันธุ์พืช เป็นแผนระยะสั้น มีเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2010-2012 โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงาน ทั้งการจัดประชุม นิทรรศการ การเผยแพร่ความ สร้างความตระหนัก และจัดกิจกรรมรณรงค์รูปแบบต่างๆ รวมทั้งจะเปิดศูนย์การเรียนรู้ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพแห่งแรกด้วยในเร็วๆ นี้ เพื่อสานต่อไปสู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพต่อไปอย่างยั่งยืนต่อไป หากวันนี้มนุษย์ยังไม่หยุดทำร้ายธรรมชาติ ยังไม่หยุดทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ เท่ากับว่ามนุษย์ยังไม่หยุดทำร้ายและทำลายตัวเอง เพราะ "ความหลากหลายทางชีวภาพคือชีวิต คือชีวิตของเราทุกคน" (Biodiversity is life, biodiversity is our life.) สาระที่่ 1 สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ( หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทศักราช 2544 ) มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 กิจกรรมการเรียนรู้ : 1. แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4 คน ให้นักเรียนดูภาพสิ่งมีชีวิต สัตว์ 20 พันธุ์ และ พืช 10 พันธุ์ 2. ให้นักเรียนจำแนกหมวดหมู่ของภาพสัตว์และภาพพืช ตามเกณฑ์ที่กลุ่มคิดขึ้นเอง 3. ให้นักเรียนสรุปลักษณะเด่นของหมวดหมู่ที่นักเรียนจำแนกไว้ 4. ให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการศึกษา กลุ่มละ 5 นาที 5. มอบหมายงานให้นักเรียนไปหาภาพตามเวบไซต์ที่กำหนดให้เพื่อสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (เรียบเรียงข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 พฤษภาคม 2553 23:29 น. 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2582

อัพเดทล่าสุด