https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
" ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย MUSLIMTHAIPOST

 

" ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย


915 ผู้ชม


หมู่บ้านข้าวหอมนิล ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำพลังแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ถือเป็นหมู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของไทย   

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้พัฒนานำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้เลือกหมู่บ้านข้าวหอมนิล  
ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง  เป็นพื้นที่เป้าหมายแห่งแรกของประเทศไทย  โดยได้ออกแบบและติดตั้ง
 แผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 56 แผง ซึ่งจะให้กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 2.5 กิโลวัตต์ ที่เลือกพื้นที่ จ. อ่างทองเพราะมีแสงแดดแรง  
(ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/edu/84900 )  
                                        " ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย
                                          ภาพที่  1 เตาพลังแสงอาทิตย์รุ่นเก่า ที่หมู่บ้านข้าวหอมนิล                          
                               (ที่มา  
https://www.bangkokbiznews.com/home/media/2009/09/29/images/news_img_79389_1.jpg
 )
          พลังงานแสงอาทิตย์ จัดเป็นพลังงานทดแทนประเภทหนึ่ง ที่สามารถใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง พวกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในปัจจุบันได้  โดยพลังงานทดแทน  จะแบ่งเป็น  2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป เรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ จัดเป็นพลังงานทดแทนประเภทที่  2  ค่ะ  นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังใช้ในการอบแห้งผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเป็นการถนอมอาหารได้ และสามารถลดภาระด้านพลังงานของประเทศสำหรับหมู่บ้านทุรกันดารได้ด้วยค่ะ

                                                  " ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย

                                                  ภาพที่  2  เตาพลังแสงอาทิตย์โฉมใหม่ ที่หมู่บ้านข้าวหอมนิล 
                                    (ที่มา  https://www.bangkokbiznews.com/home/media/2009/09/29/images/news_img_79389_3.jpg
 )

               
                      *********    มาดูเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์กันนะคะ  *********

           
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

สาระที่   5  พลังงาน

มาตรฐาน ว  5.1   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ 
                             ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการ
                             สืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เรื่อง   พลังงานแสงอาทิตย์

           พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ พลังงานนี้เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและธาตุต่างๆ เช่น คาร์บอน พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด

          รูปแบบการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งาน

          พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 
          พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เช่น เตาแสงอาทิตย์ เครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ 
          พลังงานความร้อนสูงแสงอาทิตย์ 
                                    " ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย
 
                                                   ภาพที่   3  เตาพลังแสงอาทิตย์                                   
                           (ที่มา 
https://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/apiratfarm/picture/00047_3.jpg
 )

          
          พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์
          
          พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์  เป็นการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell หรือ Photovoltaic) ซึ่งถูกผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2426 โดย ชาร์ล ฟริทท์ โดยใช้ธาตุ ซีลีเนียม  ในปี พ.ศ. 2484 เป็นการเริ่มต้นของการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยธาตุ ซิลิกอน โมเลกุลเดี่ยว 
ด้วยต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง การใช้งานของแผงเซลแสงอาทิตย์ในช่วงแรก เน้นไปที่การใช้งานในอวกาศ เช่น ใช้กับดาวเทียม หลังจากประสบกับปัญหาน้ำมันแพง ใน พ.ศ. 2516 และ 2522 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
จึงหันมาให้ความสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์และเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์ข้อมูลโลกร้อนของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีปริมาณเพิ่มขี้น 10-20% ทุกปี ในประเทศไทยการติดตั้งยังมีอยู่น้อย
 
        
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy ) 
        สามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุดและมีลักษณะกระจายไปถึงผู้ใช้โดยตรงอีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาดปราศจากมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและตามปกติมนุษย์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  ตลอดหลายปีมานี้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตามการนำอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์เหล่านี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องทราบศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของบริเวณที่จะใช้งานด้วย  โดยทั่วไปศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของพื้นที่แห่งหนึ่งจะสูงหรือต่ำ  ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นที่นั้น  โดยบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากก็จะมีศักยภาพในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สูง สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ต้องใช้อุปกรณ์รวมแสงเราจำเป็นต้องทราบสัดส่วนของรังสีรวมต่อรังสีกระจายด้วย


     ข้อมูลบ้านไผ่จำศีล จ.อ่างทอง (หมู่บ้านข้าวหอมนิล) หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย
          
          
                ที่ตั้ง                บ้านไผ่จำศีล ต.ไผ่จำศีล  อ.วิเศษชัยชาญ  จ.อ่างทอง 
                                      
               สภาพทั่วไป     มีเนื้อที่ประมาณ 8806 ไร่หรือ ประมาณ 14.089 ตารางกิโลเมตร 
                                      สภาพพื้นที่เป็น ที่ราบลุ่ม มีลำน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำน้อยไหลผ่านพื้นที่
                                      ทิศตะวันตกของตำบล โดยมีคลองขุนเป็นคลองธรรมชาติ แม่น้ำน้อยบริเวณ 
                                      หมู่ที่ 7 ไหลผ่านตำบลและบรรจบกับแม่น้ำน้อยบริเวณ หมู่ที่ 1 และมีคลอง
                                      ชลประทานไหลผ่าน เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีประชากร
                                      รวมทั้งสิ้น 66 ครัวเรือน รวม  231 คน มีอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก รองลงมา
                                     ได้แก่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนก็ ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม 
                                      
ภายใน จังหวัด และเขตจังหวัดใกล้เคียง 
                                                                               
              สภาพปัญหา        -
                                      
             ผลการดำเนินงานปี 2552  1. การแปรรูปข้าวหอมนิลเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
                                                       2. การผลิตสบู่จากน้ำนมแพะ เปลือกมังคุด ขมิ้น
                                                       3. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เม็ด
                                                       4. การผลิตเยื่อกระดาษรีไซเคิลจากเศษกระดาษ
                                                       5. การปรับปรุงคุณภาพน้ำ
                                                       6. การผลิตกระดาษจากต้นธูปฤาษีหรือฟางข้าว
                                                       7. เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
                                                       8. การใช้สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                                                       9. หมู่บ้านต้นแบบการใช้ ว และ ท ไปแก้ไขปัญหาการผลิตของชุมชน 
                                                                                
              แผนการดำเนินงาน 2553 1. การพัฒนาการนำพลังงานจากธรรมชาติไปใช้ประโยชน์
                                                       2. ศูนย์แปรรูปต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารจากข้าว หมู่บ้านข้าวหอมนิล
                                                       3. การพัฒนาการผลิตน้ำมันรำข้าวจากรำข้าวหอมนิล
                                                       4. การผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร วัชพืช     
                                                          และเศษกระดาษ
                                                       5. การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา
                                                       6. ศูนย์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชุมชน
                                                       7. การศึกษาสภาพพื้นที่เพื่อการจัดการบริหารทรัพยากรด้วยภาพ
                                                           ถ่ายดาวเทียม 
                                                                               
              หน่วยงานที่รับผิดชอบ       กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) 
                                  

   *** หมู่บ้านข้าวหอมนิล ถูกเลือกเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่นำ ว และ ท ไปพัฒนาและต่อยอดให้เกิดอาชีพในชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างเงิน และสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่น ๆ ในการนำพลังงานแสงอาทิตย์ ไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน และเป็น
หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย ค่ะ  จะเห็นได้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนที่มีคุณค่ามากเลยค่ะ ***
                                 " ข้าวหอมนิล " หมู่บ้านพลังแสงอาทิตย์ แห่งแรกของไทย

                                                            ภาพที่   4  พลังงานทดแทน                                
                            (ที่มา https://www.greenbizthai.com/wp-content/themes/Stratie/jdgallery/slides/2.jpg
)



คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1.  พลังงานแสงอาทิตย์คืออะไร
        2.  พลังงานทดแทนมีประโยชน์อย่างไร
        3.  ยกตัวอย่างพลังงานทดแทนหมุนเวียน
        4.  พลังงานทดแทนหมุนเวียนแตกต่างจากพลังงานทดแทนสิ้นเปลืองอย่างไร
        5.  พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้ในรูปใด
        
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนจัดกลุ่มศึกษาในเรื่องการนำพลังงานแสดงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
        2.ให้นักเรียนเสนอวิธีการใช้พลังงานทดแทนหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
        3.ให้นักเรียนลองเสนอแหล่งพลังงานรูปอื่นที่ใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงได้
   
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนศึกษาภูมิประเทศแบบใดที่เหมาะต่อการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
        2. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องประโยชน์ของพลังงานทดแทน
        3. ให้นักเรียนเสนอวิธีการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า
      
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

      1. https://www.thairath.co.th/content/edu/84900
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/พลังงานแสงอาทิตย์
      3. https://portal.in.th/techvillage/pages/6436/
      4. https://www.energy.go.th/moen/Index.aspx?MenuID=71
      5. https://portal.in.th/techvillage/pages/2538/
      6. https://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/apiratfarm/picture/00047_3.jpg
      7. https://www.greenbizthai.com/wp-content/themes/Stratie/jdgallery/slides/2.jpg
      8. https://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/apiratfarm/picture/00047_3.jpg 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2584

อัพเดทล่าสุด