สัตว์โลกผู้น่าสงสาร


924 ผู้ชม


ภาวะโลกร้อน มหันตภัยแนวโน้มบ่อเกิดของการสูญพันธุ์ของสัตว์โลกทุกชนิด   

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 25  พฤษภาคม  2553 
www.thairath.co.th/content/edu/85009

ประเด็นจากข่าว  สภาพดินฟ้าอากาศโลกที่ร้อนขึ้น ดูเหมือนกับสร้างความเดือดร้อน แม้กระทั่งสัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก และตะกวดก็พลอยเดือดร้อน ที่อากาศร้อนมากขึ้นทำให้จะต้องเข้าหลบตามร่มไม้ ไม่มีโอกาสจะจับสัตว์เป็นอาหารให้อิ่มท้องพอที่จะมีแรงอุ้มไข่หรือตัวอ่อน จึงมีโอกาสจะสูญพันธุ์ได้

กลุ่มสาระการเรียนรู้   วิทยาศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 4

เนื้อเรื่อง นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าสัตว์เลื้อยคลานเป็นส่วนของห่วงโซ่อาหารสำคัญส่วนหนึ่ง เพราะพวกมันเป็นตัวกัดกินแมลงส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็ตกเป็นอาหารของนก งูและสัตว์อื่นๆอีก  สัตว์เหล่านี้จำเป็นจะต้องผึ่งแดด เพื่อทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น แต่เมื่อร้อนมากไป ก็จะต้องเข้าหลบตามร่มไม้ไม่มีโอกาสจะจับสัตว์เป็นอาหารให้อิ่มท้อง พอที่จะมีแรงอุ้มไข่หรือตัวอ่อน ทำให้เรารู้ว่า เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการสูญพันธุ์เพราะดินฟ้าอากาศซึ่งกำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้
           ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิ โดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน มีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด 
          เมื่อภาวะโลกร้อนดำเนินไป  บางพื้นที่อาจกลายเป็นทะเลทราย บางพื้นที่น้ำท่วมหนักอันเนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รวมทั้งระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนไป เราจะได้ยินข่าวเสมอว่าพบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวไปทั้งอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามันแล้วประมาณ 90-100 % 
          ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์นี้ดำรงต่อไป สัตว์นับล้านสปีชี่ส์จะสูญพันธุ์จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงและน้ำทะเลเป็นกรด ทั้งพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทางชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
          โดยทั่วไปอุณหภูมิของอากาศในประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยระหว่าง 25 - 28 องศาเซลเซียส (และอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี) อากาศในภาคเหนือจะเย็นกว่าภาคกลางเล็กน้อย สำหรับอากาศในภาคใต้ค่อนข้างสบายสม่ำเสมอตลอดปี ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูร้อนอากาศแห้งแล้งและอุณหภูมิค่อนข้างสูง 
          สัตว์แต่ละชนิด จะมีอุณหภูมิของอากาศที่สัตว์อยู่อย่างสบายจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากอุณหภูมิของอากาศรอบ ๆ ตัวสัตว์สูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศที่เหมาะสมต่อสัตว์แต่ละชนิด จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตของสัตว์ เช่น อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ผลผลิตไข่หรือน้ำนมต่ำลง นอกจากนั้น ในสภาพอุณหภูมิสูงจะมีผลกระทบทางอ้อม โดยเป็นสาเหตุให้อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพหรือเสียหายได้ เช่น วิตามินบางชนิดสลายตัว เป็นต้น
       นอกจากนั้นยังพบว่า อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้ 
         1. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณออกซิเจนในน้ำ เมื่ออุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นความสามารถในการละลายของก๊าซออกซิเจนในน้ำจะลดลง ดังนั้นในแหล่งที่มีอุณหภูมิสูงสิ่งมีชีวิตมักจะตาย เพราะประสบปัญหากับการขาดแคลนออกซิเจน 
        2. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐาน และทางสรีระของสิ่งมีชีวิต เช่น การสร้างสปอร์ หรือเกราะ หรือมีระยะดักแด้เพื่อต้านทานอุณหภูมิได้ดี 
        3. หญ้า จะมีเหง้า  ในกรณีที่อุณหภูมิไม่เหมาะสมจะทิ้งส่วนอื่นๆหมด เหลือแต่เหง้าและรากที่สามารถเจริญได้ถ้าอุณหภูมิเหมาะสม 
        4. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเขตหนาวจะมีรยางค์สั้นกว่าในเขตร้อน เช่น หาง หู และ ขา 
        5. นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในเขตหนาวจะมีขนาดใหญ่กว่าในเขตร้อน 
        6. มีผลต่อการฟักตัว หรือจำศีล เพื่อหลีกเลี่ยงต่ออากาศหนาว 
        7. มีผลต่ออัตราการเผาผลาญอาหารในเซลของร่างกาย  ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น การเผาผลาญก็จะเพิ่มขึ้นตาม 
       8. มีผลต่อการอพยพของสัตว์ เช่น การอพยพของนกนางแอ่นบ้านจากจีนมาหากินในไทย การอพยพของนกปากห่างจากอินเดียมาผสมพันธุ์ในไทย การอพยพของหมีและกวางจากภูเขาสูงไปหุบเขา การเคลื่อนที่หนีความร้อนของสัตว์ในทะเลทราย 
          อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายของพืชและสัตว์ พืชและสัตว์แต่ละชนิด มีความอดทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายไปที่ต่างๆของโลกได้มาก เช่น หมีแพนด้า จะไม่ออกลูกถ้าไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำเหมาะสม
           ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สภาพอากาศแวดล้อมที่ร้อนอาจมีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายสัตว์คือ สามารถทำให้อุณหภูมิของร่างกายสัตว์สูงขึ้นกว่าปกติ นอกจากนั้นยังมีผลทำให้อัตราการหายใจเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติด้วย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้สัตว์เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นหรือช็อคตาย  เรียกว่า โรค Heat Stroke หรือโรคลมแดดได้ในกรณีที่ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายสัตว์เสียไป  
          สัตว์ทุกชนิดจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนี้โดยเฉพาะสัตว์ที่อาศัยความชื่นในการดำรงเผ่าพันธุ์ อาศัยอุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเพศ ซึ่งเป็นสัตว์สัตว์เลือดเย็น เช่น จระเข้ เต่าจะทำให้สมดุลระหว่าเพศของสัตว์เปลี่ยนไป
          ตะกวด ก็เช่นเดียวกัน จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น สัตว์เหล่านี้จำเป็นจะต้องผึ่งแดด เพื่อทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น เมื่ออากาศร้อนจะหลบร้อนอยู่ตามโพรงไม้หรือในที่ร่ม ไม่มีโอกาสจะจับสัตว์เป็นอาหารให้อิ่มท้องพอที่จะมีแรงอุ้มไข่หรือตัวอ่อน  สัตว์เหล่านี้ต้องประสบกับความทุกข์ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นขัดขวางกับการแพร่พันธุ์ เท่ากับว่ามันเป็นสัญญาณเตือนภัยของการสูญพันธุ์ ทั่วทุกแห่งบนโลก และของสัตว์สายพันธุ์ต่างๆพวกนี้ทั้งหมดด้วย นั้นอาจหมายถึงสัตว์นับล้านสปีชี่ส์จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่และระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อนนี้

 

สัตว์โลกผู้น่าสงสารสัตว์โลกผู้น่าสงสาร

 www.oknation.net/blog/zoozoo/2008/07/04/entry-1

ประเด็นคำถาม 
         1. สัตว์เลือดเย็น มีความหมายอย่างไร
         2. เราจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ 
         ให้ศึกษาวงจรชีวิตของตะกวด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
         การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตรกรรม)


ที่มาของเรื่อง หรือภาพประกอบ
www.nsru.ac.th/e-learning/animals/lesson3_1.php
www.samakkhi.ac.th/manote/les2_m1.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2590

อัพเดทล่าสุด