ปลาแกมบูเซีย Gambusia affinis หรือ ปลากินยุง เป็นปลาพื้นเมืองของ ทวีปอเมริกาเหนือ มีรูปร่างคล้าย "ปลาหางนกยูง" เมื่อเกิดใหม่ ๆ สามารถกินลูกน้ำได้ทันที และกินได้วันละหลายร้อยตัว
ย่างเข้าฤดูฝน บางพื้นที่อาจจะมีน้ำท่วมขังทำให้เกิดการเน่าเสีย และกลายเป็นแหล่งเพาะไข่ยุงมากมาย ที่น่ากลัวที่สุดก็คือ ยุงลาย เพราะมัน นำมาซึ่งไข้เลือดออกที่คร่าชีวิตมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ใช้ "ชีววิธี" (Biocontrol) ในการกำจัดไข่ยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยแนะนำให้เลี้ยง "ปลาแกมบูเซีย" ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" ปลาชนิดนี้นอกจาก จะเป็นปลาสวยงามแล้ว ยังช่วยทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดไข่ยุง ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย
(ที่มา https://www.thairath.co.th/content/edu/85008)
ภาพที่ 1-2 ปลาแกมบูเซีย
(ที่มา https://www.thairath.co.th/content/edu/85008)
ปลาแกมบูเซีย Gambusia affinis หรือ ปลากินยุง เป็นปลาพื้นเมืองของ ทวีปอเมริกาเหนือ มีรูปร่างคล้าย "ปลาหางนกยูง" แต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสีสันที่สวยงาม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่อาจจะมี ขนาดยาวได้ถึง 3 นิ้ว ในขณะที่ปลา
ตัวผู้มีขนาดยาวเพียง 1.5 นิ้ว ด้านข้างของปลาตัวเมียในที่สว่างจ้าจะเห็นสีเหลือบๆของสีเขียว สีฟ้า หรือสีเหลือง ปกติ มีชีวิตไม่เกิน 12 เดือน แต่บางตัวอาจมีชีวิตถึง 15 เดือน เมื่อเกิดใหม่ๆ ลูกปลามีขนาดยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และ สามารถกินลูกน้ำได้ทันที และกินลูกน้ำยุงได้หลายร้อยตัวต่อวัน เลยค่ะ
ภาพที่ 3-4 ปลาหางนกยูงมีลวดลายสวยงาม
(ที่มา https://www.aquaticquotient.com/forum/showthread.php?p=511066)
*** มารู้จักปลาแกมบูเซียกันนะคะ ***
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง ปลาแกมบูเซีย
Family Poeciliidae
Genus Gambusia
species affinis
Other names topminnow, pot-bellied minnow, dough belly, pot gut
ภาพที่ 5-6 แหล่งที่อยู่ของปลาแกมบูเซียตามธรรมชาติ
(ที่มา https://www.akvaryumforum.com/forum/benim-akvaryumum-51/2362-yerli-mali-akvaryum.htm)
ปลาในสกุล แกมบูเซีย (Gambusia )นี้มีมากกว่า 30 ชนิด เช่น Gambusia affinis, Gambusia georgei, Gambusia heterochir, Gambusia nobilis, และ Gambusia gaigeii เป็นต้น หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว แต่ชนิดที่ได้ชื่อว่าเป็น mosquitofish หรือ mosquito-eating fish ก็คือ Gambusia affinis ซึ่งเป็นปลาพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ (มีต้นกำเนิดอยู่ที่รัฐเท็กซัส) เนื่องจากปลาชนิดนี้มีศักยภาพสูงในการกินลูกน้ำยุง จึงถูกนำไปแพร่พันธุ์ในรัฐอื่นๆของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งในประเทศต่างๆทั้งที่อยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ซึ่งก็ปรากฏว่าปลาแกมบูเซียสามารถปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ของมันได้เป็นอย่างดี ปลาแกมบูเซียที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะหมายถึง Gambusia affinis เท่านั้น
รูปร่างลักษณะ
ปลาแกมบูเซียมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหางนกยูง แต่มีขนาดใหญ่กว่า ปากแหลมกว่าและปลายปากจะเชิดขึ้นด้านบน ที่ตามีเส้นสีเข้มพาดในแนวดิ่งผ่านรูม่านตาลงมาถึงใต้ตา ครีบหลัง (dorsal fin) กลมมีโครง 7 ซี่ (ray), ครีบก้น (anal fin) มีโครง 7 ซี่, ครีบท้อง (pelvic fin) มีโครง 6 ซี่ ที่เส้นข้าง ลำตัวมีเกล็ด 27-30 อัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ปลาแกมบูเซียตัวเมียที่โตเต็มที่อาจมีขนาดยาวได้ถึง 3 นิ้ว ในขณะที่ปลาตัวผู้มีขนาดยาวเพียง 1.5 นิ้ว ทั้งปลาตัวเมียและตัวผู้มีจุดสีเข้มซึ่งมักเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลายังเล็ก ต่อเมื่อปลาโตขึ้นจุดดังกล่าวมักจางลง หากดูด้านข้างของปลาตัวเมียในที่สว่างจ้าจะเห็นสีเหลือบๆของสีเขียว สีฟ้าหรือสีเหลือง
ภาพที่ 7-8 ลักษณะของปลาแกมบูเซีย Gambusia holbrooki และปลาหางนกยูง
(ที่มา https://www.flickr.com/photos/36436628@N06/4354324966/)
การแพร่พันธุ์
ปลาแกมบูเซียแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว เมื่อปลาตัวเมียมีอายุได้ 6-8 สัปดาห์ก็จะเริ่มตั้งท้องครั้งแรก ปลาตัวเมียมีถุงพิเศษใช้เก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ ซึ่งการผสมพันธุ์หนึ่งครั้งจะมีน้ำเชื้อมากพอ สำหรับใช้ผสมกับไข่ได้หลายท้อง ปลาแกมบูเซียออกลูกเป็นตัวโดยจะออกลูกท้องละ 40-100 ตัว (ใช้เวลาออกลูก 21-28 วันต่อหนึ่งท้อง) แต่ละท้องห่างกันประมาณ 6 สัปดาห์ และตลอดชีวิตของมันจะตั้งท้องได้ 3-4 ครั้ง ปกติปลาแกมบูเซียมีชีวิตไม่เกิน 12 เดือนแต่บางตัวก็อาจอยู่ได้ถึง 15 เดือน เมื่อเกิดใหม่ๆลูกปลามีขนาดยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และสามารถกินลูกน้ำได้ทันที เป็นปลาที่กินอาหารจุมากโดยปลาตัวเมียหนึ่งตัวอาจกินลูกน้ำยุงได้หลายร้อยตัวต่อวัน นอกจากลูกน้ำยุงแล้วปลาแกมบูเซียยังกินแพลงตอน (พืชและสัตว์ขนาดเล็กมากๆ), ตะไคร่น้ำ,ไดอะตอม (พืชเซลล์เดียว), ตัวอ่อนแมลงต่างๆ
ภาพที่ 9 -10 ปลาแกมบูเซียหลายชนิดมีลวดลายแตกต่างกัน
(ที่มา https://www.aquaticquotient.com/forum/showthread.php?p=511066)
แหล่งเพาะพันธุ์
มีชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำสะอาดและน้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบปลาแกมบูเซียได้ทั่วไปตามลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ อ่างเก็บน้ำ
ภาพที่ 11- 12 ปลาหลายชนิดมีลักษณะคล้ายปลาแกมบูเซีย
(ที่มา https://www.grafikerler.org/fotografcilik/6393-onur-g-hitit-akvaryum-fotograflari.html)
ปลาแกมบูเซีย นอกจากเป็นปลาที่สวยงาม และมีประโยชน์ในการกินลูกน้ำ กำจัดยุงลายแล้ว ยังรักษาสมดุลของธรรมชาติได้ด้วย ความจริงแล้วปลาแกมบูเซียเป็นปลาที่กินได้ แต่คนไม่นิยมเพราะมีสีสันสวยงามค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. ปลาแกมบูเซีย เป็นสัตว์ประเภทใด
2. ปลาแกมบูเซียกำจัดยุงลายได้อย่างไร
3. ช่วงชีวิตของปลาแกมบูเซียมีอายุกี่เดือน
4. ปลาแกมบูเซียมีการแพร่พันธุ์แบบใด
5. ลักษณะภายนอกของปลาแกมบูเซียตัวเมียและตัวผู้ต่างกันอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายประโยชน์ของปลาแกมบูเซียต่อมนุษย์
2.ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นปลาสายพันธุ์ใดที่มีลักษณะคล้ายปลาแกมบูเซีย
3. ให้นักเรียนศึกษาเปรียบเทียบช่วงชีวิตของปลาแต่ละชนิดในท้องถิ่น
การบูรณาการ
1. ให้นักเรียนศึกษาภูมิประเทศแบบใดที่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของปลาแกมบูเซีย
2. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องปลาแกมบูเซีย
3. วาดภาพปลาแกมบูเซีย พร้อมบอกประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
3. ให้นักเรียนเสนอวิธีการอนุรักษ์พันธุ์ปลาแกมบูเซีย และปลายชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพ
ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/edu/85008
2. https://dpc3.ddc.moph.go.th/in_tranet/Insect/DHFManual/chapter96.htm
3. https://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=354228
4. https://www.petshop-zoomania.com/Guppy/Guppi%20Columbian%20male%20.jpg
5. https://www.aquaticquotient.com/forum/showthread.php?p=511066
6.https://www.thainame.net/weblampang/yanapat/pic/82.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2591