คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
วิทยาศาสตร์
พัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดลิงวอก ต้นแบบศึกษาโรคระบบประสาทในคน
714
ผู้ชม
พัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดลิงวอก ที่มียีนผิดปกติของโรคฮันทิงตันสำเร็จเป็นครั้งแรก หวังใช้เป็นต้นแบบศึกษาโรคระบบประสาทในคน พร้อมหาหนทางรักษาด้วยสเต็มเซลล์อย่างปลอดภัย
ประเด็นข่าว นักศึกษา คปก. วิจัยร่วมสหรัฐฯ พัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดลิงวอก ที่มียีนผิดปกติของโรคฮันทิงตันสำเร็จเป็นครั้งแรก หวังใช้เป็นต้นแบบศึกษาโรคระบบประสาทในคน พร้อมหาหนทางรักษาด้วยสเต็มเซลล์อย่างปลอดภัย หลังพบเนื้องอกในสมองหนูหลังปลูกถ่ายด้วยเซลล์ต้นกำเนิดที่ยังไม่ผ่านการเหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ประสาท "ปัจจุบันมีโรคทางระบบประสาทหลายโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจกลไกการเกิดโรคที่แท้จริง เช่น โรคฮันทิงตัน โรคอัลไซเมอร์ส เป็นต้น จึงมีการสร้างแบบจำลองการเกิดโรคโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของลิง เพื่อศึกษาทำความเข้าใจกลไกการเกิดโรคได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่วิธีการรักษาที่ดีขึ้น" ข้อมูลจากนายชุติ เหล่าธรรมธร นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ซึ่งมี ผศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด มทส. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นายชุติได้ไปทำการวิจัยที่ศูนย์วิจัยสัตว์ตระกูลไพรเมตแห่งชาติเยกีส (Yerkes National Primate Research Center) มหาวิทยาลัยเอเมอรี (Emory University School of Medicine) เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐฯ เป็นเวลา 8 เดือน เพื่อศึกษาการกลไกการเกิดโรคฮันทิงตัน ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรชาวยุโรปและอเมริกา และมีแนวโน้มจะพบได้มากขึ้นในประเทศไทยและในเอเชีย ทั้งนี้ โรคฮันทิงตัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ สาเหตุของโรคดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของยีนฮันทิงทิน หรือเอชทีที (Huntingtin: htt) ที่ปลายโครโมโซมคู่ที่ 4 โดยในคนปกติจะมีรหัสพันธุกรรมของยีนนี้เป็นตัวอักษร CAG เรียงซ้ำๆ กันประมาณ 11-35 ครั้ง แต่ในผู้ป่วยโรคฮันทิงตันจะมี CAG เรียงซ้ำกันมากกว่า 35 ครั้ง ปริมาณตัวอักษรที่ซ้ำกันจะเป็นสิ่งที่ระบุช่วงอายุของการแสดงออกของโรค เช่น หากผู้ป่วยมี CAG เรียงซ้ำกัน 36-39 ครั้ง อาการของโรคจะแสดงออกเมื่ออายุประมาณ 75 ปี แต่หากผู้ป่วยมี CAG เรียงซ้ำกัน 93-130 ครั้ง อาการของโรคจะแสดงออกเมื่อช่วงอายุประมาณ 3-10 ปี นักวิจัยนำเซลล์ของลิงวอกที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมให้มียีนผิดปกติของโรคฮันทิงตันอย่างรุนแรง ซึ่งมีอักษร CAG เรียงซ้ำกัน 84 ครั้ง มาสร้างเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน โดยการฉีดเซลล์ต้นแบบเข้าไปในเซลล์ไข่ของลิงวอกที่นำสารพันธุกรรมออกไปแล้ว จากนั้นกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ เพื่อให้เซลล์ต้นแบบเชื่อมกับเซลล์ไข่ กลายเป็นเซลล์ตัวอ่อน แล้วนำไปเลี้ยงในหลอดแก้ว 7-8 วัน จากนั้นนำตัวอ่อนไปเลี้ยงบนเซลล์พี่เลี้ยงนาน 10-14 วัน ซึ่งหลังจากเลี้ยงไปได้นาน 7 วัน จะสังเกตเห็นเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนเจริญเติบโตออกมา เมื่อนำเซลล์ดังกล่าวไปตรวจสอบพบว่ามีการแสดงออกทุกคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนลิงวอก และมียีนที่ผิดปกติของโรคฮันทิงตันรวมอยู่ด้วย และตั้งชื่อเซลล์ต้นกำเนิด ลิงวอกนี้ว่า TrES1 "เมื่อนำเซลล์ TrES1 ไปเหนี่ยวนำให้เจริญเป็นเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ประสาทจนเจริญเป็นเซลล์ประสาทที่สมบูรณ์ การแสดงออกของยีน htt ที่ผิดปกติจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นหลังจากถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ตั้งต้นของประสาท และสูงขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อกลายเป็นเซลล์ประสาทที่สมบูรณ์ ซึ่งใช้เวลาในการเลี้ยงเซลล์ทั้งสิ้นประมาณ 2 เดือน ก็สามารถตรวจพบรอยโรคได้แล้ว แต่หากเป็นไปตามธรรมชาติจะต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าโรคจะพัฒนาจนสามารถสังเกตเห็นรอยโรคได้ จึงสามารถใช้เป็นต้นแบบของการศึกษาการพัฒนาของโรคฮันทิงตันได้" นายชุติ เปิดเผยผลการศึกษา ที่นับเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยสามารถผลิตเซลล์ต้นกำเนิดของสัตว์ในตระกูลลิงที่มียีนผิดปกติของโรคฮันทิงตันได้ นักวิจัยยังได้ทดลองนำเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนลิงวอกที่ผลิตได้ และเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนลิงวอกที่เหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ประสาทปลูกถ่ายเข้าไปในสมองซีกซ้ายและขวาของหนูตามลำดับ และเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น "หลังจากปลูกถ่ายเซลล์ TrES1 ที่เหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ประสาท ในสมองซีกขวาของหนูเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ามีการแสดงออกของรอยโรคฮันทิงตันในสมองของหนูสอดคล้องกับการพัฒนาของโรคฮันทิงตันในหลอดทดลอง ส่วนในสมองซีกซ้ายของหนูที่ปลูกถ่ายด้วยเซลล์ TrES1 ที่ยังไม่ได้เหนี่ยวนำ พบว่ามีเนื้องอกในสมองเกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกันการศึกษาในลิงที่มีมาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่ายังไม่สามารถใช้เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนปลูกถ่ายเพื่อการรักษาได้ ต้องเหนี่ยวนำให้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ประสาทเสียก่อน" นายชุติ อธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์และสื่อมวลชน นักวิจัยกล่าวสรุปว่าสามารถผลิตเซลล์ต้นกำเนิดลิงวอกเพื่อเป็นต้นแบบศึกษาการพัฒนาของโรคฮันทิงตัน และหาแนวทางรักษาหรือช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ และวิธีเดียวกันนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนเพื่อศึกษากลไกการเกิดโรคอื่นๆ ทางระบบประสาทของมนุษย์ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ส ที่นักวิจัยกำลังศึกษาอยู่ด้วยในขณะนี้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคฮันทิงตันจะมีอาการเซลล์สมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว (Striatum) สลายตัวและตายไป ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ มีการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อ สูญเสียสติปัญญาไปทีละน้อย กลายเป็นคนวิกลจริต ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และในที่สุดจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน หลังจากป่วยด้วยโรคฮันทิงตันประมาณ 15-20 ปี โรคนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง และสามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ โดยเฉพาะเพศชายที่ป่วยเป็นโรคนี้ แม้ยังไม่ถึงช่วงอายุที่จะมีการแสดงออกของโรค แต่จะมีการสร้างยีน htt ที่ผิดปกติโดยมีจำนวนซ้ำของอักษร CAG เพิ่มมากขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้มีโอกาสถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติอย่างรุนแรงมากขึ้นสู่ลูกได้ในกรณีที่มีบุตรเมื่อ อายุมาก ประเด็นปัญหา 1. ปัญหาของการวิจัยเรื่องนี้ คือ อะไร 2. สเต็มเซลล์ คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทอย่างไร 2. ผู้วิจัยมีวิธีการทดลอง อย่างไร 3. โรคทางระบบประสาทชนิดใดบ้างที่ยังไม่มีวิธีรักษาได้ 4. โรคฮันทิงตัน มีอาการที่สังเกตได้อคือะไร และในอนาคตจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีวิธีรักษาได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการแบบ ( Intraintrigation) ; ระหว่างสาระ ที่ 1 กับสาระที่ 3 ( ชีววิทยา + เคมี ) 1. ครูทบทวนความรู้เดิม เรื่องสารพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม ระบบประสาท กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. ให้ผู้เรียนผู้ศึกษา อ่านประเด๋นข่าว และตอบคำถามจากประเด็นปัญหา 3. ให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนกลุ่ม ( แบ่งกลุ่มศึกษาเป็นทีม ) นำเสนอผลการศึกษาเป็นความเรียงตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ 4. มอบหมายงาน ให้นักเรียนแต่ละคนไปสืบค้น งานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์เพิ่มเติม ข่าว https:// www.manager .co.th/ Science ข้อมูลนายชุติ เหล่าธรรมธร และ ผศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย
ที่มา :
https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2596
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์