ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น


1,953 ผู้ชม


เกิดวิกฤติเพราะน้ำทะเลร้อนขึ้น ปะการังฟอกขาวเพิ่มมากขึ้น 50-70% ตามชายฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย น่าเป็นห่วงยิ่งนัก   

        การเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในทะเลตามชายฝั่งอันดามัน-อ่าวไทย  เพราะอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีที่อาศัยอยู่ ในปะการังและปะการังมีสีสันหนีออกมาจากปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว เมื่อเกิดการฟอกขาวแล้ว ปะการังจะยังไม่ตายทันทีแต่จะอ่อนแอและมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2-3 สัปดาห์หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ปะการังอาจจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้  เห็นได้ชัดคือ หอยมือเสือ ซึ่งเป็นหอยที่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของหอย เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น สาหร่ายชนิดนี้จะทนอยู่ไม่ได้และหนีออกมาจากเนื้อเยื่อหอย ทำให้เนื้อเยื่อหอยมือเสือกลายเป็นสีขาว เช่นกัน  
(ที่มา  
https://www.thairath.co.th/content/edu/85524)
          ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
 
                                                          
 
ภาพที่ 1-2 ปรากฎการณ์ฟอกขาวของปะการัง
                
                               (ที่มา 
https://www.ertc.deqp.go.th/ern/images/stories/coral_bleaching_th.jpg)
                                  
        ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเล เพราะเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและค้ำจุนชีวิตของสัตว์น้ำมากกว่า 3,000 ชนิด ได้แก่ ปลา และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทางทะเล  ทุก ๆ รูและซอกโพรงของปะการังจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่น  โดยปะการังมีโครงสร้างเป็นหินปูนห่อหุ้มตัวอันอ่อนนุ่มของปะการังไว้เป็นชั้นนอก ซึ่งโครงสร้างหินปูนนี้เกิดจากชีวิตเล็ก ๆ ของปะการังได้สร้างขึ้นเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นแผ่น เป็นก้อนหรือมีกิ่งก้าน และแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นแนวปะการังอยู่ใต้ท้องทะเล ปะการังจะเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิตั้งแต่ 8 - 27 องศาเซลเซียส มีแสงแดดพอประมาณ น้ำไม่ขุ่น และมีความลึกของน้ำไม่เกินกว่า 50 เมตร  ดังนั้นพออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของปะการังอย่างไม่ต้องสงสัยค่ะ และพอปะการังเกิดการฟอกขาวและตายไป ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และระบบนิเวศใต้ท้องทะเล
อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียวค่ะ
       ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
                                                               
  ภาพที่  3-4  การฟอกขาวของแนวปะการัง
                
                                   ( ที่มา https://www.siammotors.com/2009/th/social/pic/king/k6/large/k6_1.jpg
)

                   **  ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศทางทะเล
                                                                                  
มาลองศึกษากันนะคะ  **     
  
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว  2. 1   เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์  
                              
ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
                              สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
มาตรฐาน ว  2.2    เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น 
                              ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
              
เรื่อง    ปะการัง
            ปะการัง  เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้หัวของปะการังหนึ่งๆโดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆ อันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพันๆโพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลายๆคืนในช่วงเดือนเพ็ญ

   ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น

                                                             ภาพที่  5 - 6  แนวปะการัง
                                  (ที่มา  
https://www.thaiseafrog.com/final/picture/2105091135023218.jpg)

           แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้นๆโดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนแลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างใมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร  ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งมลรัฐวอชิงตันและที่เกาะเอลิวเตียนของอลาสก้า

           ปะการังถูกจัดอยู่ในชั้น “แอนโธซัว”            
           ปะการังถูกจัดอยู่ในชั้น “แอนโธซัว” และถูกแบ่งย่อยออกไปได้อีก 2 ชั้นย่อยโดยอาศัยจำนวนหนวดหรือจำนวนเส้นสมมาตร และยังแบ่งย่อยลงไปอีกหลายอันดับตามลักษณะของโครงสร้างด้านนอก ประเภทของเข็มพิษ และการวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ด้านไมโตคอนเดรีย  พวกที่มีแปดหนวดเรียกว่าออคต้าคอรอลเลีย หรือ อัลคายโยนาเรีย ทีประกอบด้วย ปะการังอ่อน กัลปังหา และปากกาทะเล ส่วนพวกที่มีมากกว่าแปดหนวดที่เพิ่มจำนวนเป็นทวีคูณของหกเรียกว่าเฮกซะคอรอลเลีย หรือ โซแอนธาเรีย ปะการังในกลุ่มนี้ประกอบด้วยปะการังที่สร้างแนวปะการัง (สเคลอร์แรคติเนีย) ดอกไม้ทะเล และโซแอนติด            
           หัวปะการังดูเหมือนจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆแต่ที่แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆมากมายโพลิฟเป็นเนื้อเยื่ออ่อนของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่หลากหลายเป็นอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กจนไปถึงปลาตัวเล็ก ๆ  ปรกติแล้วโพลิฟจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่มิลลิเมตร ด้านนอกเป็นชั้นผนังอีพิเธลเลียม ส่วนด้านในเป็นเนื้อเยื่อคล้ายวุ้นที่รู้จักกันว่าเมโซกลี โพลิฟมีสมมาตรรัศมีและมีหนวดโดยรอบช่องปากที่อยู่ตรงกลางที่เปิดต่อเนื่องไปที่กระเพาะอาหารหรือซีเลนเทอรอนไปยังที่อาหารถูกย่อยและปล่อยของเสีย
           กระเพาะอาหารติดอยู่ที่ฐานของโพลิฟบริเวณที่ซึ่งผนังชั้นนอก (อีพิเธลเลียม) สร้างโครงสร้างแข็งภายนอกขึ้นมาอันหนึ่งเรียกว่าแผ่นฐานรอง (แคลลิเคิล) (L. ถ้วยเล็กๆ) ซึ่งเกิดจากวงแหวนเนื้อปูนหนาๆ มีสันตามแนวรัศมีรองรับอยู่ 6 สัน โครงสร้างนี้มีการเติบโตขึ้นไปในแนวดิ่งเข้าไปยังฐานรองของโพลิฟ เมื่อโพลิฟทั้งหลายตกอยู่ในสภาพที่เครียดก็จะเกิดการหดตัวเป็นคาริกซ์  เพื่อที่จะได้ไม่มีส่วนใดๆโผล่ขึ้นมาเหนือแท่นโครงสร้างแข็งอันเป็นการป้องกันโพลิบทั้งหลายจากเหล่านักล่า (Barnes, R.D., 1987; Sumich, 1996). โพลิฟจะเจริญเติบโตขึ้นโดยการขยายตัวของกลีบห่อหุ้มในแนวดิ่งซึ่งบางครั้งก็ถูกกั้นด้วยแผ่นผนังเกิดเป็นแผ่นฐานอันใหม่ที่สูงกว่า การขยายตัวนี้เกิดขึ้นหลายๆรุ่นทำให้เกิดโครงสร้าง
เนื้อปูนขนาดใหญ่ของปะการังและแนวปะการังทั้งหลาย
           การเกิดโครงสร้างแข็งเนื้อปูนด้านนอกเกิดจากการตกสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ โดยโพลิฟทำหน้าที่จับไอออนของแคลเซี่ยมจากน้ำทะเลให้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสาหร่าย อัตราการตกสะสมตัวมีความแปรผันอย่างมากในระหว่างชนิดพันธุ์และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่อาจจะมากถึง 10 กรัม/ตารางเมตรของโพลิฟ/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงสว่าง กล่าวคือในช่วงกลางคืนจะผลิตได้เพียงประมาณร้อยละ 90 ต่ำกว่าการผลิตในช่วงกลางวัน
  ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น

                                                              ภาพที่  7 - 8  ปะการังสมองร่องเล็กและร่องยาว
                                 (ที่มา 
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=djang67&group=1&month=05-2007&date=14)

          การปล่อยเข็มพิษ 
          การปล่อยเข็มพิษ: เข็มพิษที่แฝงอยู่ได้ตอบสนองเหยื่อบริเวณใกล้ๆที่เข้ามาสัมผัสกับขนรับความรู้สึก ปากก็จะเปิดออกและใช้เงี่ยงของมันทิ่มเข้าไปที่เหยื่อปล่อยให้เส้นใยกลวงพ่นพิษเข้าไปทำให้เหยื่อสลบ จากนั้นจะใช้หนวดจับเหยื่อเข้าปากหนวดทั้งหลายของโพลิฟจะทำการจับเหยื่อโดยการใช้เซลล์ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองแสบร้อนที่เรียกว่าเข็มพิษ มีเซลล์หลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการจับเหยื่อและทำให้เหยื่อสลบอย่างเช่นแพลงตอนด้วยการพ่นพิษอย่างเร็วมากเมื่อมีสิ่งเข้าไปสัมผัส พิษเหล่านี้ปรกติจะมีฤทธิ์อ่อนๆแต่ถ้าเป็นปะการังไฟแล้วจะมีผลต่อมนุษย์มากพอควร เข็มพิษลักษณะนี้ก็พบได้ในแมงกระพุนและดอกไม้ทะเล สารพิษที่ฉีดโดยเข็มพิษจะทำให้เหยื่อสลบหรือตายซึ่งก็จะตกเข้าไปใน
กระเพาะของโพลิฟด้วยการช่วยของหนวดผ่านแถบของอีพิเธเลียมที่หดตัวได้เรียกว่าคอหอย
          โพลิฟทั้งหลายถูกต่อเชื่อมโยงใยโดยระบบท่อแกสโตรวาสคิวล่าที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีและมีความสลับซับซ้อนที่ทำให้โพลิบต่างๆมีการใช้อาหารและการพึ่งพาอาศัยร่วมกันได้ ในปะการังอ่อนระบบท่อเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-500 ไมครอน ที่ยอมให้เกิดการส่งผ่านทั้งการสันดาปและส่วนประกอบของเซลล์
          ภาพระยะใกล้ของโพลิฟ Montastrea cavernosa ที่เห็นหนวดของมันได้อย่างชัดเจนนอกเหนือจากการกินแพลงตอนเป็นอาหารแล้ว ปะการังจำนวนมากและรวมถึงกลุ่มของไนดาเรียอื่น ๆ อย่าง  เช่น ดอกไม้ทะเล (เช่น เออิพเทเซีย) ที่มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกับพวกสาหร่ายซูแซนทาลีสกุลซิมไบโอดิเนียม ดอกไม้ทะเลสกุลเออิพเทเซียที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งรบกวนต่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังแต่ก็ถือว่าเป็นแบบจำลองสิ่งมีชีวิตที่มีค่ายิ่งในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างกลุ่มของไนดาเรียกับสาหร่าย ทั้งนี้โพลิฟหนึ่งๆจะพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายเฉพาะชนิดเท่านั้น การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายให้พลังงานแก่ปะการังและช่วยให้เกิดการตกตะกอนของสารแคลเซียมคาร์บอเนต สาหร่ายยังมีประโยชน์ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจนที่สร้างขึ้นมาโดยโพลิฟ เมื่อปะการังคลายความเครียดสาหร่ายสามารถเข้าไปในโพลิฟได้ สภาพที่ปะการังตกอยู่ในความเครียดปรกติแล้วจะขับสาหร่ายออกมาที่ยังผลก่อให้เกิดปรากฏการที่เรียกว่าการฟอกขาวของปะการังที่สาหร่ายทำให้ปะการังมีสีน้ำตาลหรือสีอื่นๆทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเม็ดสีในเนื้อปะการัง อย่างเช่นโปรตีนเรืองแสงสีเขียว การขับสาหร่ายออกจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้โพลิฟตกอยู่ในระยะที่เครียดต่อไป โดยที่สามารถจะเพิ่มสาหร่าย
ได้ใหม่ในภายหลัง หากสภาพเครียดยังคงดำเนินต่อไป โพลิฟหรือปะการังทั้งหลายก็จะตายไปในที่สุด
  ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น

                                                                    ภาพที่  9 - 10  ปะการังดอกกระหล่ำ                     
                     (ที่มา 
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=djang67&group=1&month=05-2007&date=14)

          การแพร่พันธุ์          
          ปะการังมีการแพร่พันธุ์ขยายถิ่นอาศัยของตนออกไปหลากหลายวิธี โดยมีสองวิธีการหลักๆ คือการใช้เพศและการไม่ใช้เพศ การสืบพันธุ์แบบใช้เพศเป็นไปได้ทั้งชนิดแยกเพศ (โกโนโชริสม์)และชนิดที่มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน (เฮอร์มาโพรดิติสม์) โดยปะการังทั้งสองชนิดดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์ทั้งแบบใช้เพศและแบบไม่ใช้เพศก็ได้

           แนวปะการัง           
           ปะการังแข็ง (stony coral) ปรกติจะพบในแนวประการังซึ่งเป็นโครงสร้างของสารแคลเซี่ยมคาร์บอเนตขนาดใหญ่พบบริเวณน้ำตื้นในเขตร้อน แนวปะการังถูกสร้างขึ้นมาจากโครงสร้างแข็งของปะการังที่ถูกรองรับด้วยชั้นของสาร
แคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ผลิตขึ้นมาโดยสาหร่ายคอรอลลีนแนวปะการังเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความหลากหลายมากๆซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 4,000 ชนิด ชุมชนของไนดาเรียขนาดมหึมา หอย ครัสตาเชียน และสัตว์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

          ประเภทของปะการัง
          1.ปะการังชนิดที่สร้างแนวปะการัง  ปะการังชนิดที่สร้างแนวปะการังสามารถเปลี่ยนอาหารที่เหลือเกินความจำเป็นต่อปะการังเอง การเปลี่ยนอาหารที่เหลือเกินความจำเป็นนี้เกิดจากการช่วยของสาหร่ายซูแซนทาลีไปเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตสร้างเป็นโครงสร้างแข็งของมัน ชนิดพันธุ์ของปะการังที่สร้างแนวปะการังประกอบด้วยสเคอร์แรคติเนีย มิลเลพอรา ทูบิพอรา และเฮลิโอพอราลำพังในพื้นที่ทะเลแคริบเบียนแล้ว มีปะการังแข็งมากถึง 50 ชนิดโดยแต่ละชนิดมีโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ประเภทที่รู้จักกันดี ได้แก่
          ปะการังสมอง      ที่สามารถมีความกว้างได้ถึง 1.8 เมตรที่มีลักษณะคล้ายสมองมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ 
          ปะการังเขากวาง มีเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่ที่เป็นผู้สร้างแนวปะการังที่สำคัญ
ปะการังเขากวางมีกิ่งก้านของปะการังขนาดใหญ่เติบโตในพื้นที่ที่ปรกติแล้วมีคลื่นซัด 
          ปะการังดาวหรือ แกแลกซี ฟาสซิคูลาริส ก็เป็นปะการังนักสร้างแนวปะการังอีกชนิดหนึ่ง 
          ปะการังพิลลาร์ ทำให้เกิดลักษณะเป็นแท่งที่สามารถเติบโตได้สูงถึง 3 เมตร 
          ปะการังหิน หรือ เลพทอพซอมเมีย ดูเหมือนว่าจะพบทุกหนทุกแห่งในทะเลแคริบเบียน
  ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
                                    
                                              ภาพที่  11 - 12  ปะการังใต้ทะเล                 
           (ที่มา 
https://www.newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2659&ipagenum=1&xpagenum=19&idCat=5
)
          
    
     2. ปะการังชนิดไม่สร้างแนวปะการัง         
             ปะการังชนิดที่ไม่สร้างแนวปะการังเป็นปะการังที่ไม่มีสาหร่ายซูแซนทาลีจึงไม่สามารถสร้างแนวปะการังใดๆได้ ปะการังกลุ่มนี้ได้แก่ปะการังกลุ่มของอัลคายโยนาซีรวมถึงพวกแอนธิปาธาเรีย (ปะการังสีดำเซอริพาเธส และแอนติพาเธส) 
          3. ปะการังอ่อน          
              ปะการังอ่อน ในทะเลแคริบเบียนพบค่อนข้างน้อย (ประมาณ 20 ชนิด) เมื่อเทียบกับปะการังหิน ปะการังกลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกฟองน้ำทั้งหลาย (เป็นที่อิงอาศัยที่สำคัญของสัตว์ไร้หนามขนาดจิ๋วเพื่อหลบซ่อนจากพวกปลา) รวมไปถึงพวกที่มีความเกี่ยวข้องกับปะการังที่ไม่สร้างแนวปะการังอีกหลายชนิด เช่น แส้ทะเล ขนนกทะเล และปากกาทะเล

          ประเภทของแนวปะการัง 
          แนวปะการัง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
          1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง  เป็นแนวปะการังน้ำตื้นอยู่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่
              - ปะการังแนวลาดชัน เป็นแนวปะการังที่อยู่ติดทะเลลึก เติบโตได้ดี เพราะมีสภาพแวดล้อม
                ที่เหมาะสมทั้งระดับความลึก ความเค็ม และความใสของน้ำทะเล
              - แนวปะการังพื้นราบ เป็นแนวปะการังที่อยู่ติดกับชายฝั่ง มีปะการังเติบโตอยู่ไม่กี่ชนิด เนื่องจากเป็น
                เขตน้ำตื้นเมื่อน้ำลดลงปะการังได้รับแสงแดดมากเกินไป ความไม่คงที่ของน้ำทะเลจึงไม่เหมาะสมต่อ
                การเจริญเติบโตของปะการัง
          2. แนวปะการังแบบกำแพง  มีลักษณะเช่นเดียวกับแนวปะการังบริเวณชายฝั่งต่างกันที่แนวปะการัง
               แบบกำแพงจะอยู่ห่างจากชายฝั่งออกมามากกว่าและปกติจะมีร่องน้ำที่ลึกและกว้างคั่น
               อยู่ระหว่างแนวปะการังกับบริเวณชายฝั่งในบริเวณที่เป็นร่องน้ำลึกนั้นก็เป็นที่ๆ มีปะการังเจริญเติบโต 
               อยู่ด้วย แนวปะการังแบบกำแพงที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือเกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) 
               อยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย มีความยาว 1,370 ไมล์
          3. แนวปะการังแบบเกาะ เป็นแนวปะการังที่อยู่ในน่านน้ำทะเลลึกไกลจากน้ำ บางครั้งมีลักษณะเป็น
               เกาะเล็กๆ ที่เกิดจากโครงสร้างหินปูนของปะการัง เกาะประเภทนี้จะมีหาดทรายที่สวยและ
               ขาวสะอาดเพราะเป็นรายที่เกิดจากการสลายตัวของโครงสร้างหินปูนของปะการัง

    ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
                                                         
                    ภาพที่  13 - 14  ปะการังสวยงาม                
                                                          (ที่มา 
https://www.ezytrip.com/webboard/show.php?id=10012&pages=8
)

        
  วิวัฒนาการของปะการัง          
          แม้ว่าปะการังจะปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในช่วงยุคแคมเบรียนหรือ 542 ล้านปีมาแล้ว  แต่ก็พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ในปริมาณที่น้อยมากต่อเนื่องจนไปถึงยุคออร์โดวิเชียนหรือประมาณ 100 ล้านปีให้หลัง จากนั้นปะการังรูโกสและปะการังทาบูเลตจึงปรากฏขึ้นมาอย่างแพร่หลาย   ปะการังทาบูเลตจะพบในหินปูนและหินดินดานเนื้อปูนของยุคออร์โดวิเชียนและยุคไซลูเรียนและบ่อยครั้งก็เกิดเป็นรูปหมอนอิงเตี้ยๆหรือเป็นกลุ่มก้อนไปตามข้างๆของปะการังรูโกส จำนวนของมันเริ่มลดลงระหว่างช่วงกลางของยุคไซลูเรียนและท้ายสุดได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนหรือประมาณ  250  ล้านปีมาแล้วโครงสร้างแข็งของปะการังทาบูเลตประกอบขึ้นด้วยสารแคลเซี่ยมคาร์บอเนตหรือที่เรียกว่าแคลไซต์
          ปะการังรูโกส เข้ามาโดดเด่นในช่วงกลางของยุคไซลูเรียนแล้วไปสูญพันธุ์ในช่วงแรกๆของยุคไทรแอสซิก ปะการังรูโกสพบเป็นปะการังที่อยู่อาศัยแบบเดี่ยวๆและแบบโคโลนีและเหมือนกับปะการังทาบูเลตที่โครงสร้างแข็งของมันก็ประกอบไปด้วยแร่แคลไซต์
         ปะการังสเคอร์แรคติเนีย ได้เข้าไปแทนที่ที่ว่างลงจากการสูญพันธุ์ไปของปะการังรูโกสและปะการังทาบูเลต ซากดึกดำบรรพ์ที่พบอาจยังมีจำนวนน้อยในหินยุคไทรแอสซิกแต่ได้เพิ่มมากขึ้นจากช่วงยุคจูแรสซิกจนไปถึงยุคถัดมา โครงสร้างแข็งของประการังสเคอร์แรคติเนียนี้ประกอบขึ้นด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนตของแร่อะราโกไนต์  ในทางธรณีวิทยาแล้ว แม้ว่าปะการังสเคอร์แรคติเนียจะมีอายุอ่อนกว่าปะการังทาบูเลตและปะการังรูโกส แต่ด้วยโครงสร้างแข็งที่ประกอบด้วยแร่อะราโกไนต์ของมันจึงทำให้มันกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้น้อยและมีสภาพซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่ค่อยสมบูรณ์
         ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆในทางธรณีวิทยาปะการังในอดีตมีชนิดที่หลากหลายมาก ซึ่งก็เหมือนปะการังในปัจจุบันที่พบได้ในน้ำใสๆเฉพาะในเขตร้อนที่มีน้ำอบอุ่น เหมือนกับปะการังในปัจจุบันที่บรรพบุรษปะการังก็สร้างแนวปะการังขึ้นมา ซึ่งบางทีก็พบอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ของหินตะกอน  แนวปะการังยุคโบราณนี้ไม่ได้ประกอบไปด้วยปะการังล้วนๆ ยังมีซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ อีกมากที่เคยอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เช่น สาหร่าย ฟองน้ำ และซากเหลือของเอชิโนเดิร์ม แบรคิโอพอด หอยกาบคู่ หอยกาบเดี่ยว และไทรโลไบต์ นี้ทำให้ปะการังบางชนิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีที่ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถบอกอายุของชั้นหินที่พบปะการังเหล่านั้นได้

         ปะการังไม่ได้พบเฉพาะในแนวปะการังเท่านั้น ปะการังชนิดที่อยู่อาศัยแบบเดี่ยวๆอาจพบได้ในหินที่ไม่ได้เป็นแนวปะการังอย่างเช่น ซายโคลไซยาธุส ซึ่งพบในหมวดหินเกาต์เคลย์ ในประเทศอังกฤษ

         ปะการังโบราณ         
         แนวปะการังโบราณที่พบบนพื้นดินมักจะถูกทำเป็นเหมืองผลิตปูนขาวหรือตัดเป็นก้อนใช้เป็นหินก่อสร้าง (เศษปะการังหรือคอรอลแร็ก) เศษปะการังนี้เป็นวัตถุก่อสร้างท้องถิ่นที่มีความสำคัญในบางพื้นที่อย่างเช่นตามแนวชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก  ปะการังบางชนิดมีลักษณะเป็นแถบในเนื้อโครงสร้างเป็นผลเนื่องมาจากความแปรผันในอัตราการเจริญเติบโตในแต่ละปี แถบในปะการังปัจจุบันและซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวทำให้นักธรณีวิทยาหาอายุปีต่อปีทำให้ทราบระยะเวลาของการเติบโตที่มีความแม่นยำสูงซึ่งทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมบรรพกาล เมื่อผนวกกับข้อมูลการวิเคราะห์ทางธรณีเคมีของแต่ละแถบดังกล่าวด้วย
         ปะการังบางกลุ่มรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียกว่าไมโครแอททอล โดยที่การเจริญเติบโตในแนวดิ่งของไมโครเอโตลล์ถูกจำกัดโดยความสูงเฉลี่ยของระดับน้ำขึ้นสูงสุด จากการวิเคราะห์รูปลักษณ์สัณฐานของการเติบโตที่หลากหลายไมโครแอททอลสามารถถูกนำไปใช้หาประวัติการเปลี่ยนแปลงระดับทะเลได้อย่างคร่าวๆ ไมโครแอททอลที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ก็สามารถหาอายุโดยวิธีกัมมันตรังสีของคาร์บอนที่จะทำให้ทราบถึงอายุในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงระดับทะเลได้ วิธีการนี้ใช้ในการวิเคราะห์ระดับทะเลสมัยโฮโลซีน        
          
          แนวปะการังที่พบใน ทะเลไทยเป็น แนวปะการังริมชายฝั่งน้ำตื้น พบอยู่บริเวณชายฝั่ง และรอบเกาะแก่งต่างๆ ทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน หากเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง น้ำทะเลจะท่วมแนวปะการังที่ติดชายฝั่ง ประมาณ 3-4 เมตร โดยจะสังเกต แนวปะการังได้จากผิวทะเล 
  ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
                                                                  
  ภาพที่  15 - 16  ระบบนิเวศใต้ทะเล              
                                                                                     (
ที่มา https://atcloud.com/stories/61940
)

         ประโยชน์ของปะการัง
         ปะการัง มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวปะการัง เป็นระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดใน ทะเล เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ของสัตว์น้ำนานาชนิดเช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่มนุษย์นำมาบริโภค แนวปะการังช่วยลด ความรุนแรง ของคลื่นที่ซัด เข้าสู่ชายฝั่ง แนวปะการัง มีความสวยงาม เหมาะสำหรับ การท่องเที่ยว ช่วยให้ เกิดรายได้แก่ ท้องถิ่น แนวปะการังมักถูกบุกรุก ทำลายโดยมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่นการใช้ระเบิด จับปลา การทิ้งสมอเรือใน แนวปะการัง การเก็บหักปะการัง นำไป ประดับตบแต่ง การเหยียบย่ำ การทำเหมือแร่ริมชายฝั่ง ตลอดจนการ ปล่อยน้ำเสีย ลงสู่ชายฝั่งที่มีแนวปะการัง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ เป็นการทำลาย สภาวะแวดล้อมของแนวปะการัง ให้เสื่อมโทรมลง  การศึกษาถึงชนิดและ ประโยชน์ของปะการัง จะช่วยสร้างจิดสำนึก ให้ทุกคน ร่วมมือกันอนุรักษ์ 
แนวปะการัง เป็นแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ ที่มี คุณค่าและเป็นสมบัติของทุกคนไว้สืบไป
  
    ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น

                                                      ภาพที่  17 - 18 หอยมือเสือและสาหร่ายซูแซนเทลลี 
                                         
                      (ที่มา https://narumol.blogspot.com/2008/12/zooxanthellae.html )

   
    

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น        ดังนั้นวิธีการอนุรักษ์แนวปะการังให้คงอยู่ตลอดไปคงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆ คนนะคะ     ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น
                           เพื่อให้มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามไปตราบนานเท่านานค่ะ  **

          
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1.  ปะการังจัดเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด
        2.  ปะการังสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างไร
        3.  ปะการังมีกี่ประเภท
        4.  การฟอกขาวของปะการังคืออะไร
        5.  สาเหตุของการฟอกขาวของปะการังเกิดจากสาเหตุใด
      
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนจัดกลุ่มศึกษาในเรื่องความสำคัญของปะการังต่อระบบนิเวศ
        2.ให้นักเรียนเสนอวิธีการอนุรักษ์แนวปะการังให้คงอยู่ตลอดไป
        3.ให้นักเรียนนำเสนอลักษณะพิเศษของปะการังที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
   
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องแนวทางการอนุรักษ์แนวปะการัง
        2. ให้นักเรียนเสนอวิธีการพื้นฟูและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
        3. ให้นักเรียนนับข้อแตกต่างของปะการังที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
      
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

       1. www.thairath.co.th/content/edu/85524
       2. https://th.wikipedia.org/wiki/ ปะการัง      
       3. 
https://www.chumporn.com/_chumporncom/coral/
       4. https://www.dnp.go.th/npo/html/Research/Coralreef/Coralreef_2.html
       5. https://www.ertc.deqp.go.th/ern/images/stories/coral_bleaching_th.jpg
       6. https://www.marinerthai.com/pic-news3/2010-03-09_001.jpg
       7. https://www.marinerthai.com/sara/pics/1p3002.jpg
       8. https://www.siammotors.com/2009/th/social/pic/king/k6/large/k6_1.jpg
       9. https://www.dmcr.go.th/dmcr2009/News/data/images/002/B002.jpg
      10.https://www.chomthai.com/forum/picture/1209783883.jpg
      11.https://www.ezytrip.com/webboard/show.php?id=10012&pages=8
      12. https://www.newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2659&ipagenum=1&xpagenum=19&idCat=5
      13.https://learners.in.th/blog/gift-indy/157044

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2609

อัพเดทล่าสุด