" กังฟูหมีดำ " น่ารัก


1,035 ผู้ชม


หมีกริซลีย์ดำ ในสวนสัตว์ "อาสะ" เมืองฮิโรชิมา ของญี่ปุ่น ควงท่อนไม้โชว์ทักษะ "กังฟู" ลีลาเด็ดขาดไม่แพ้ "บรูซ ลี"  

        หมีดำเอเชีย หรือ หมีกริซลีย์ ชื่อ "คลาวด์" ทำนักท่องเที่ยวขำกันท้องคัดท้องแข็ง เพราะโชว์ลีลาเด็ด 
คล้ายตัวการ์ตูนแอนนิเมชันชื่อดัง จากเรื่อง "กังฟูแพนด้า" โดยการหมุนควงท่อนไม้สุดเหวี่ยง ลีลาเด็ดขาด
ไม่แพ้บรูซ ลี เลยทีเดียว (ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/oversea/85849)
      
" กังฟูหมีดำ " น่ารัก" กังฟูหมีดำ " น่ารัก
" กังฟูหมีดำ " น่ารัก" กังฟูหมีดำ " น่ารัก
                                                               ภาพที่  1 - 4    กังฟูหมี   
                                    ( ที่มา  
https://cannot.info/feed/ข่าวต่างประเทศ/กังฟูแพนด้าหลบไปกังฟูหมีดำมาแล้ว )
         หมีดำหรือหมีควาย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง(ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535)
เป็นหมีขนาดกลาง และเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวยาวประมาณ 130-190 เซนติเมตร 
ตัวผู้หนัก 100-200 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 50 -125 กิโลกรัม  มีขนหยาบสีดำหรือน้ำตาลทั่วทั้งตัว ยกเว้น
บริเวณอกซึ่งขนสีเหลืองอ่อนเป็นรูปตัววี (V) ชอบอาศัยในป่าเขา อยู่ในเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออก
ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน อิหร่าน บังกลาเทศ ภูฏาน จีน รัสเซีย อินเดีย เนปาล ปากีสถาน พม่า ไทย กัมพูชา 
ลาว เวียดนาม มาเลเซีย มองโกเลีย เกาะฮอนชูและชิโกกุของญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี พบได้สูงถึง 3,000 เมตรค่ะ
                                                                                                                                                                   
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป       
                                                                                                         
สาระที่  2               ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน  ว 2. 1   เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ 
                              ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
                              สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
มาตรฐาน  ว 2.2    เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น 
                              ประเทศ และโลกนำความรู้ ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน
                              ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

เรื่อง    สัตว์ป่าคุ้มครองหมีดำ

           ชื่อไทย                     หมีควาย, หมีดำ 
           ชื่ออังกฤษ                 asian black bear, 
                                           
asiatic black bear, 
                                           Tibetan black bear, 
                                           
Himalayan black bear, 
                                    moon bear 
            ชื่ออื่น                      
 -
            ชื่อวิทยาศาสตร์         Ursus thibetanus 
            อาณาจักร                 Animalia 
            ไฟลัม                       Chordata 
            ชั้น                           Mammalia 
            อันดับ                      Carnivora 
            วงศ์                          Ursidae 
            สถานภาพการคุ้มครองไทย : สัตว์ป่าคุ้มครอง 
            ไซเตส:บัญชีหมายเลข  1 
            สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : เสี่ยงสูญพันธุ์ 
            
            
ลักษณะทั่วไป
  " กังฟูหมีดำ " น่ารัก" กังฟูหมีดำ " น่ารัก
                                                                              ภาพที่  5 - 6    หมีดำเมืองไทย
                                                      (ที่มา  
https://www.baanmaha.com/community/thread23622.html)

           หมีควายเป็นหมีขนาดกลาง และเป็นหมีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวยาวประมาณ 130-190 
เซนติเมตร ตัวผู้หนัก 100 - 200 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 50-125 กิโลกรัม มีขนหยาบสีดำหรือน้ำตาล
ทั่วทั้งตัวยกเว้นบริเวณอกซึ่งขนสีเหลืองอ่อนเป็นรูปตัววี (V) ขนบริเวณหัวไหล่และคอจะยาวเป็นพิเศษ 
หูค่อนข้างใหญ่ ฝ่าตีนใหญ่เดินเต็มตีน รอยตีนของหมีจึงดูคล้ายรอยตีนคน มีเล็บยาวและแหลมคม

           แหล่งที่อยู่
            
           หมีควายชอบอาศัยในป่าเขา แต่ก็พบในที่ราบได้บ้าง อยู่ในเขตกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชีย
ตะวันออก ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน อิหร่าน บังกลาเทศ ภูฏาน จีน รัสเซีย อินเดีย เนปาล ปากีสถาน พม่า ไทย
กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย มองโกเลีย เกาะฮอนชูและ ชิโกกุของญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี พบได้สูงถึง 3,000 เมตร

           การดำรงชีวิต

           หมีควายหากินโดยลำพังยกเว้นครอบครัวแม่ลูก พื้นที่หากินราว 10-20 ตารางกิโลเมตร หากินเวลา
กลางคืน แต่ก็อาจพบตอนกลางวันได้บ้าง กินทั้งพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นพืชมากกว่า แต่ถ้าเทียบสัดส่วน
ของประเภทอาหารแล้วหมีควายยังกินเนื้อสัตว์มากกว่าหมีในทวีปอเมริกา อาหารของหมีควายเช่น สัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนมขนาดเล็ก แมลง นก ปลา หอย และซากสัตว์ ส่วนอาหารประเภทพืชได้แก่หญ้า ผลไม้ เมล็ดพืช 
นอกจากนี้ก็กินน้ำผึ้งด้วย ปีนต้นไม้เก่งมาก แม้จะมีรูปร่างอ้วนอุ้ยอ้ายแต่ก็วิ่งได้เร็วมาก

          ลักษณะนิสัย

          แม้หมีควายจะไม่ดุร้ายอย่างรูปร่างภายนอก หมีควายมักเลี่ยงคนมากกว่าที่จะเข้าโจมตี แต่ถ้าเทียบกับ
หมีดำอเมริกาแล้วหมีควายค่อนข้างดุร้ายมากกว่า มีประวัติทำร้ายคนมากกว่า

          การย้ายแหล่งที่อยู่

          หมีควายบางตัวย้ายแหล่งหากินตามฤดูกาล ในฤดูร้อนจะย้ายขึ้นไปอาศัยบนที่สูง ส่วนในฤดูหนาว
จะลงมาพื้นที่ต่ำกว่า หมีควายที่อาศัยในถิ่นหนาวจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกับการจำศีลด้วย เช่นในญี่ปุ่น 
หมีควายจะหลับยาวเป็นเวลาราว 5 เดือน แต่ในเขตร้อนหมีควายไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น

          การสืบพันธุ์

          ฤดูผสมพันธุ์ของหมีควายอยู่ราวเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และออกลูกราวเดือนมกราคมจนถึง
เดือนกุมภาพันธ์ แต่บางสถานที่ฤดูอาจแตกต่างออกไป เช่นในปากีสถาน ฤดูผสมพันธุ์จะเริ่มในฤดูใบไม้ร่วง 
ออกลูกคราวละ 1-4 ตัว ลูกหมีจะอยู่กับแม่เป็นเวลา2-3 ปี เมื่ออายุได้ 3-4 ปีก็ผสมพันธุ์ได้แล้ว หมีควาย
มีอายุขัยราว 25 ปี ในสวนสัตว์ที่มีการดูแลดีอาจอยู่ได้ถึงกว่า 30 ปี
             
         ปัญหาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

         หมีควายถูกคุกคามจากมนุษย์หลายรูปแบบ ชาวบ้านชายป่าจะฆ่ามันเพราะเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง 
คนทำไม้จะฆ่ามันเพราะหมีชอบกัดแทะไม้ทำให้ราคาตก และที่ร้ายแรงก็คือ ดีหมีเป็นที่ต้องการในตลาด
ยาจีน จึงมีพรานหลายคนยอมเสี่ยงตายเพื่อล่าหมีเอาถุงน้ำดีไปขาย

        ไอยูซีเอ็นประเมินว่า หมีควายพันธุ์บาลอค (U.t.gedrosianus) อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 
ส่วนพันธุ์อื่นอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ ไซเตสจัดหมีควายไว้ในบัญชีหมายเลข 1

    " กังฟูหมีดำ " น่ารัก" กังฟูหมีดำ " น่ารัก     

                                              ภาพที่  7 - 8   การดำรงชีวิตของหมีดำ สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย                                     
                                                    (ที่มา  
https://www.baanmaha.com/community/thread23622.html)

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1.  หมีดำมีอีกชื่อหนึ่งว่าอย่างไร
        2.  หมีดำจัดเป็นสัตว์ประเภทใด
        3.  หมีดำมีลักษณะต่างจากสัตว์ประเภทอื่นอย่างไร
        4.  เพราะเหตุใดจึงประกาศให้หมีดำเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
        5.  หมีดำมีการดำรงชีวิตในธรรมชาติอย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนอธิบายลักษณะของหมีดำที่แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น
        2.ให้นักเรียนนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์สัตว์ป่าคุ้มครอง

กิจกรรมบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่าคุ้มครอง
        3. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหมีดำมีคุณค่าต่อระบบนิเวศในป่าอย่างไร
      
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

      1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/85849
      2. https://www.baanmaha.com/community/thread23622.html
      3. https://cannot.info/feed/ข่าวต่างประเทศ/กังฟูแพนด้าหลบไปกังฟูหมีดำมาแล้ว      
      4. https://www.verdantplanet.org/animalfiles/asianblackbear_(Ursus_thibetanus).php

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2617

อัพเดทล่าสุด