เปลือกโลกมุดกันได้หิมาลัยจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ


880 ผู้ชม


เมื่อเปลือกโลกที่เปราะบางมีรอยร้าวเหมือนเปลือกไข่ พลังงานความร้อนภายในจึงทะลักไหลออกมาไม่หยุดหย่อน   

ที่มา หนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2553 
https://www.thairath.co.th/content/oversea/86602

ประเด็นจากข่าว

          เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรง 6.6 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะอันดามันของประเทศอินเดีย วันที่ 1 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย เบื้องต้น ยังไม่พบความเสียหายกระทบมาถึงเมืองไทย โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 127.7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองพอร์ท แบลร์  ซึ่งเป็นเมืองเอกของหมู่เกาะดังกล่าวไปทางตะวันออกราว 120 กิโลเมตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้   วิทยาศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 4

เนื้อเรื่อง

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
             แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของโลกให้คงที่ 
             ในทางธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้างของโลกออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ  ส่วนนอกสุดเป็นของแข็งที่เรามองเห็นเป็นแผ่นดินหรือพื้นน้ำที่รองรับน้ำทะเลอยู่เรียกว่า เปลือกโลก (crust) ถัดลึกเข้าไปเป็นของของเหลวหนืดเป็นเนื้อโลกเรียกแมนเทิล (mantle) และชั้นในสุดเป็นของแข็งเรียก แก่นโลก (core) 
            (ลองนึกถึงไข่ที่มี 3 ส่วน คือเปลือกไข่  ไข่ขาว  และไข่แดงก็แล้วกัน  และถ้าเปลือกไข่เกิดมีรอยแตกร้าวเป็นแผ่นๆไข่ขาวอุณหภูมิสูงขึ้นจะดันตัวออกมาบริเวณไหน ?)
 

เปลือกโลกมุดกันได้หิมาลัยจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
https://guru.sanook.com/enc_photo.php?pic=9687&pictitle=%E1%CA%B4%A7%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A7%A2%CD%A7%E2%C5%A1&id=1907&actype=main
 เปลือกโลกมุดกันได้หิมาลัยจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
             เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลกมีความหนาระหว่าง 6-35 กิโลเมตร บางส่วนที่รองรับน้ำทะเลก็จะบาง แต่ที่สำคัญแผ่นเปลือกโลกไม่ได้ติดกันเป็นเนื้อเดียว แต่มีรอยร้าวที่สามารถแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ๆได้ประมาณ 6 แผ่น บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกนี้จึงเป็นบริเวณที่เปราะบางกว่าตรงกลางของแผ่นแต่ละแผ่น เมื่อแผ่นเปลือกโลกที่วางตัวอยู่บนของเหลวหนืดที่มีอุณหภูมิสูงจึงมีโอกาสที่แต่ละแผ่นเหล่านั้นจะเคลื่อนมาชนกัน แยกห่างจากกัน หรืออีกแผ่นหนึ่งมุดเข้าใต้อีกแผ่นหนึ่งตลอดเวลา การมุดตัวกันของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นสามารถทำให้แผ่นดินบางส่วนหลอมละลายหายไปใต้โลกแต่อีกแผ่นหนึ่งยกตัวสูงขึ้นได้ เช่นบริเวณเทือกเขาหิมาลัย (มีทฤษฎีการเลื่อนไหลของแผ่นเปลือกโลกที่มีเหตุผลแสดงได้ว่าเกิดเหตุการณ์นี้จริงๆเพียงแต่ว่าการเคลื่อนตัวเหล่านี้เป็นไปอย่างช้าๆคนอาศัยอยู่บนโลกไม่รู้สึกตัว เปรียบได้กับเวลาเล็บงอกที่คนเรามักไม่รู้สึกตัว มารู้อีกทีเล็บก็ยาวแล้ว) 
              ขณะเดียวกันแรงดันสูงของหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งร้อนจัดสะสมพลังงานไว้มากก็หาทางปลดปล่อยพลังงานผ่านเปลือกโลกออกมาตามรอยแยกเหล่านั้น  ถ้าแผ่นเปลือกโลกมีความแข็งแรงน้อยมากๆหินหนืด ก็จะถูกดันขึ้นไปจนกลายเป็นภูเขาไฟ ของเหลวร้อนแดงที่เรียก “ลาวา”ที่ถูกพ่นออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟขณะระเบิดแสดงให้เห็นถึงหินหนืดอันร้อนแรงที่แผ่นเปลือกโลกวางตัวลอยอยู่ (มาช่วยกันภาวนาอย่าให้แผ่นเปลือกโลกขยับตัวแรงๆบ่อยนักก็แล้วกัน) แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดจึงไม่มีใครคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดเมื่อไร 
              จากประสบการณ์ที่คนไทยได้รับเมื่อเกิดการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเลแถวเกาะสุมาตราก่อให้เกิดสึนามิกระเทือนมาถึงประเทศไทยในเดือน ธันวา คม 2547  ครั้งนั้นเกิดการสั่นสะเทือนครั้งยิ่งใหญ่เกินกว่า 9 ริคเตอร์ ก่อให้แผ่นเปลือกโลกขยับตัวอย่างรุนแรง แผ่นเปลือกโลกใหญ่ขนาดนั้นขยับตัวเราก็คอยดูว่าโลกต้องพบกับธรณีพิบัติภัยอีกเท่าไรกว่าแผ่นนั้นจะลอยนิ่งเข้าที่ เพราะหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้เราจะได้ยินข่าวภูเขาไฟระเบิดตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกตามมาอย่างต่อเนื่องถี่ขึ้นมากๆ และคงจะเกิดอีกตราบใดที่แผ่นเปลือกเหล่านี้ยังขยับตัวอยู่ 
              ขนาด (Magnitude)ของความรุนแรงของแผ่นดินไหว เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่ใต้เปลือกโลกถูก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยซึ่งนิยมใช้มากคือ " ริกเตอร์" โดยในปี พ.ศ. 2178  ริกเตอร์ (C.F. Richter) ได้เสนอมาตรการระบุความรุนแรงของภัยแผ่นดินไหวที่ผู้คนทั่วไปรู้จักกันจนทุกวันนี้ โดยริกเตอร์ได้แบ่งสเกลความรุนแรงไว้หลายระดับ ดังนี้

เปลือกโลกมุดกันได้หิมาลัยจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
              

               อย่างไรก็ตามการแผ่นดินไหวจำนวนมากจะเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก และบริเวณใกล้เคียง
               บริเวณที่ไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหวในอดีตก็จะไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต และถือเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่บนรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่เหล่านั้นแต่ก็พอจะได้รับอิทธิพลมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว พร้อมกับรับอิทธิพลทางอ้อมจากสภาวะโลกร้อนในขณะนี้

ประเด็นคำถาม 
            1. ประเทศไทยมีอุปกรณ์วัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวติดตั้งไว้ที่ไหนบ้าง 
            2. มีคำกล่าวว่าแผ่นดินบางแห่งเคยเป็นทะเลมาก่อน จะอธิบายได้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ 
            ควรให้นักเรียนเก็บข้อมูล และศึกษาการเกิดแผ่นดินไหว ทั้งความถี่ของการเกิด สถานที่เกิด ความรุนแรงที่วัดได้

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
           คณิตศาสตร์

ที่มาของเรื่อง/ภาพประกอบ 

 https://www.most.go.th/tsunami/index.php/earthquake/measure-the-size-and-severity-of-earthquakes.html

https://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1907&title=%B7%C4%C9%AE%D5%A1%D2%C3%E0%A4%C5%D7%E8%CD%B9%B7%D5%E8%A2%CD%A7%E1%BC%E8%B9%B4%D4%B9%E0%BB%C5%D7%CD%A1%E2%C5%A1

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2653

อัพเดทล่าสุด