ดอกกระเจียว มีอีกชื่อว่า ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) หรือปทุมา การที่ดอกกระเจียวมีสีสันสวยงามนั้นเกิดจากสารสี(pigment)ที่พบในดอกกระเจียวนั้นเอง
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปสัมผัสธรรมชาติ เตรียมเฮ งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงามปี 2553 ของจังหวัดชัยภูมิจะเริ่มขึ้นแล้วระหว่างเดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้แถมมีแคมเปญใหม่ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวช่วงกลางคืน ในชื่อ "นอนชมดาวคลอเคล้าดอกกระเจียว" ซึ่งอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ได้จัดทำเส้นทางภายใต้แสงตะเกียงน้ำมัน วางเรียงรายตลอดเส้นทาง ระหว่างเวลาประมาณ 21.00-23.00 น. และเพิ่มกิจกรรมจะมีการนำนักท่องเที่ยวขึ้นไปสูดกลิ่นไอธรรมชาติ และนอนชมดาว ณ จุดชมวิวผาสุดแผ่นดิน และลงมาชมความสวยงามของทุ่งดอกกระเจียวช่วงกลางคืน
(ที่มา https://www.thairath.co.th/content/region/86919)
( ที่มา https://www.chaiyaphumlink.com/phpbb2/viewtopic.php? p=282&sid=28cd2d77df2f185022d8f4e73c5f411c )
ดอกกระเจียว มีอีกชื่อว่า ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) หรือปทุมา เป็นพืชล้มลุกที่มีประโยชน์หลายด้าน ทั้งใช้รับประทานเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีสีสันสวยงาม การที่ดอกกระเจียวมีสีสันสวยงามนั้นเกิดจากสารสี(pigment) ที่พบในดอกกระเจียวซึ่งสารสี(pigment) ที่พบในพืชและดอกไม้ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งดอกกระเจียวนั้น มีหลายชนิด
เช่น สารแอนโทไซยานิน เป็นสารสีม่วงในพืช Lutein คือสารสีเหลือง ซึ่งเราสามารถสกัดสารสีในพืชเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ค่ะ
** มาดูกันว่ามีสารสีใดบ้างอยู่ในดอกกระเจียวนะคะ **
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารการเกิดสารละลายการเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง สารสีในพืช(ดอกกระเจียว)
สารสีในดอกกระเจียว ที่ให้สีสันสวยงามแตกต่างกัน เกิดจากสารสี(pigment) ต่อไปนี้
( ที่มา https://editor.kapook.com/krajeaw/) , https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/56817.jpg )
สารสีแดง ได้แก่ สาร Cycopene เป็นสารที่ให้สีแดงในพืชและผักต่าง ๆ เช่น แตงโม มะเขือเทศ และสาร Betacycin ให้สีแดงในลูกทับทิมบิทรูท และแคนเบอรี่ มาฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ antioxydants ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิดได้ด้วย
สารสีม่วง ได้แก่ สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นตัวให้สีม่วงในพืช เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง ผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบลกเบอรี่ บลูเบอรี่ สารตัวนี้มีฤทธิ์ช่วยลบล้าง (Neutralize) สารที่ก่อมะเร็ง และสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคอัมพาตได้ด้วย
สารสีส้ม ได้แก่ สาร Betacarotene มีในผักและผลไม้สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเร็งได้
สารสีเหลือง ได้แก่ สาร Lutein เป็นสารสีเหลืองที่ให้สีสันในพืช เช่น ข้าวโพด ช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินา ดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนี่งที่ทำให้คนแก่ มองไม่เห็น
สารสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ ในผักต่างๆ ที่มีสีเขียวเข้มมาก ๆ ถ้ายิ่งมีสีเขียวมาก ก็ยิ่งมีคลอโรฟิลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บรอกโคลี อ่อมแซบ ชะพลู บัวบก ช่วยป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่าง ๆ ใน ตัวมนุษย์ ได้
สีที่พบในดอกกระเจียว โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ มักพบสีชมพู สีขาว และสีม่วง ซึ่งเกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สาร Cycopene สาร Lutein และสารสีต่าง ๆ ผสมกัน
การสกัดสารสีออกจากพืช(ดอกกระเจียว)
การสกัดสารสีออกจากพืช ส่วนใหญ่จะใช้วิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย(solvent extraction)
เป็นวิธีการแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย หรือการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการออกจากของผสม
หลักการ คือ เลือกตัวทำละลายให้เหมาะสมกับสารที่ต้องการแยก ดังนี้
ตัวทำละลายสามารถละลายสารที่ต้องการสกัดได้
ตัวทำละลายจะต้องไม่ละลายสารอื่นๆที่เราไม่ต้องการสกัด
ตัวทำละลายจะต้องไม่ทำปฏิกริยากับสารที่เราต้องการสกัด
ตัวทำละลายสามารถแยกออกจากสารที่เราต้องการสกัดได้ง่าย
ตัวทำละลายไม่เป็นพิษ และมีราคาถูก
วิธีการสกัดสาร เติมตัวทำละลายที่เหมาะสมลงในการที่เราต้องการสกัด จากนั้นก็เขย่าแรงๆหรือนำไปต้ม เพื่อให้สารที่เราต้องการจะสกัดละลายในตัวทำละลายที่เราเลือกไว้ สารที่เราสกัดได้นั้นยังเป็นสารละลายอยู่ ถ้าเราต้องการทำให้บริสุทธิ์เรา ควรจะนำสารที่ได้ไปแยกตัวทำละลายออกมาก่อน อาจจะนำไประเหย หรือนำไปกลั่นต่อไป ตัวอย่างเช่น การสกัดน้ำขิงจากขิง การสกัดคลอโรฟีลล์ของใบไม้
ข้อมูลดอกกระเจียว
ชื่อพืช : ดอกกระเจียว
ชื่ออื่น : ปทุมา หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma alismatifolia Gagnep
ชื่อพื้นเมือง : กาเตียว (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จวด (ใต้), อาวแดง (เหนือ)
อาณาจักร : พืช (Plantae)
ส่วน : พืชดอก (Magnoliophyta)
ชั้น : พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Liliopsida)
อันดับ : Zingiberales
วงศ์ : วงศ์ขิง Zingiberaceae
สกุล : สกุลขมิ้น (Curcuma)
สปีชีส์ : ปทุมา (C. alismatifolia)
ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน
เมื่อถึงฤดูฝนจะเริ่มผลิใบและดอกต้นสูงประมาณ 2 ฟุต
ใบยาวคล้ายใบพายดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง
การดูแล : ปลูกในที่อากาศชื้นเย็น ดูแลไม่ให้ดินเสียความชื้นโดย
การคลุมแปลงปลูก
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ
ประโยชน์ : ดอกกระเจียวมีสีสันและรูปร่างสวยงาม นิยมตัดดอกขาย
(ที่มา https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/56817.jpg )
คำถาม VIP ชวนคิด
1. สารสีม่วงในดอกกระเจียวเกิดจากสารใด
2. ดอกกระเจียวมีชื่ออื่นว่าอย่างไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องดอกกระเจียว จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด
อินเตอร์เน็ต และวิทยากรในท้องถิ่น
2. ให้นักเรียนลองปลูกดอกกระเจียว ศึกษาการเจริญเติบโตและบันทึกข้อมูล
การบูรณาการ
บูรณาการการเรียนรู้ได้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ฯ สุขศึกษา ฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ
(ที่มา https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/56817.jpg )
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบ
ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/region/86919
2. https://th.wikipedia.org/wiki/ปทุมา
3. https://www.it.nrru.ac.th/~cs4940207614/Website/1211795532_package.jpg
4. https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/56817.jpg
5. https://editor.kapook.com/krajeaw/
6. https://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no10/kansakud.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2657