เมื่อมีการค้นพบโครงกระดูกโบราณ กระดูกไดโนเสาร์หรือ มัมมี่ มักเกิดปริศนาขึ้นในใจว่าวัตถุโบราณเหล่านั้นมีอายุเท่าไหร่ เทคโนโลยีคาร์บอน -14 สามารถไขปริศนาอายุของวัตถุโบราณได้
คาร์บอน - 14 ไขปริศนาอายุโครงกระดูกพันปี
ภาพกระดูกโบราณที่ค้นพบที่ จ. สุพรรณบุรี (ที่มา https://www.thairath.co.th/content/region/87368 )
มีการพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคทวารวดีอายุ 1,200 -1,300 ปี บริเวณคูเมืองโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะคล้ายผู้ใหญ่และเด็กวางห่างกันประมาณ 7– 8 เมตร โครงกระดูกทั้งหมด มีลักษณะสมบูรณ์ตั้งแต่กะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง และสะโพก นอกจากนั้น ยังพบเศษภาชนะประเภทหม้อดินเผาปะปนอยู่
จำนวนหนึ่ง
(ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/region/87368 )
เมื่อมีการค้นพบวัตถุโบราณ เทคโนโลยีคาร์บอน -14 (C -14) เป็นวิทยาการที่จะสามารถไขปริศนา
อายุของวัตถุโบราณบางประเภทได้ โดยอาศัยหลักการที่ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิตจะต้องประกอบด้วยธาตุคาร์บอน
เป็นองค์ประกอบดังนั้นเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนจะลดลงเรื่อย ๆ ข้อมูลอัตราส่วนดังกล่าว
จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาอายุของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นได้
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่
เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง คาร์บอน
คาร์บอน ( Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะ
ที่มีอยู่มากในธรรมชาติ มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน เท่ากับ 4 และมีหลายอัญรูป คือ
1. เพชร (แร่ธาตุที่แข็งที่สุด) โครงสร้างยึดเหนี่ยว 4 อิเล็กตรอนใน sp3-orbital แบบ 3 มิติ
2. แกรไฟต์ (หนึ่งในสารที่อ่อนที่สุด) โครงสร้างยึดเหนี่ยว 3 อิเล็กตรอนใน sp2-orbital 2 มิติ
และ 1 อิเล็กตรอนใน p-orbital
3. ฟูลเลอไรต์ (หรือ ฟูลเลอรีน) คือโมเลกุลขนาดนาโนเมตร ในรูปแบบที่เรียบง่าย คาร์บอน 60
อะตอมจะเรียงตัวคล้ายกับชั้นแกรไฟต์ ซึ่งงอตัวจนเป็นโครงสร้างสามมิติที่คล้ายกับลูกฟุตบอล
คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป (ธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน และเลขมวลต่างกัน ) คือ
คาร์บอน - 12 คาร์บอน - 13 และ คาร์บอน - 14 ในธรรมชาติจะพบ คาร์บอน - 12 จำนวนมากถึง
98.9 % คาร์บอน - 13 จำนวน 1.1 % และพบ คาร์บอน - 14 จำนวนน้อยมาก โดยในต้นไม้ที่ยังมี
ชีวิตอยู่ เราจะพบว่าจำนวนอะตอมของ C -14 : จำนวนอะตอมของ C -12 จะเท่ากับ 1:1 ล้านล้าน
คาร์บอน - 12 และ คาร์บอน - 13 เป็นไอโซโทปที่เสถียร ส่วนคาร์บอน-14 เป็นไอโซโทป
กัมมันตรังสี
ภาพไอโซโทปของคาร์บอน (ที่มา https://www.tint.or.th/nkc/nkc5003/nkc5003z.html )
คาร์บอน - 14
คาร์บอน-14 เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ระหว่างอนุภาคนิวตรอนที่ได้จากรังสีคอสมิก กับ
อะตอมของธาตุไนโตรเจน ในชั้นบรรยากาศ ดังสมการ
เนื่องจากคาร์บอน-14 เป็นธาตุกัมมันตรังสี เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะสลายกัมมันตรังสีให้อนุภาคบีตา และเปลี่ยน
ตัวเองเป็นอะตอมของไนโตรเจน-14 ดังสมการ
เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
หลังจากนั้นคาร์บอน-14 ก็จะรวมตัวกับออกซิเจนในบรรยากาศกลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แล้วแพร่กระจายลงมายังบรรยากาศชั้นล่าง และเข้าสู่สิ่งมีชีวิตโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และ
การกินพืชเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังแพร่กระจายลงสู่ทะเลและมหาสมุทร และอยู่ในรูปของสารประกอบ
ไบคาร์บอเนต และคาร์บอเนต
ภาพ รูปของสารประกอบ ไบคาร์บอเนต และคาร์บอเนต (ที่มา https://www.tint.or.th/nkc/nkc5003/nkc5003z.html )
การสลายตัวของ คาร์บอน-14
การเกิดและการสลายกัมมันตรังสีของคาร์บอน-14 นั้น เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อระยะเวลาผ่าน
ไปเนิ่นนานทำให้อัตราการเกิดคาร์บอน-14 เท่ากับอัตราการสลายกัมมันตรังสีของมัน นั่นก็หมายความว่า
ปริมาณคาร์บอน-14 ต่อกรัมของคาร์บอน มีค่าคงที่ตลอดเวลา ทั้งในบรรยากาศ น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
การใช้ คาร์บอน-14 หาอายุของวัตถุโบราณ
เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตายไป การแลกเปลี่ยนคาร์บอน-14 ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับชั้นบรรยากาศสิ้นสุด
ทำให้ปริมาณคาร์บอน-14 ที่มีอยู่เดิมลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสลายกัมมันตรังสี
ของธาตุกัมมันตรังสี จากกฎการสลายกัมมันตรังสีของธาตุกัมมันตรังสี สามารถคำนวณหาเวลาตั้งแต่สิ่งมีชีวิต
นั้นตายไปจนกระทั่งถึงปัจจุบัน (ปี) โดยทั่วไปการหาอายุโดยวิธีนี้ สามารถหาอายุได้ในช่วง 200 ถึง
50,000 ปี ซึ่งตัวอย่างที่สามารถนำมาหาอายุโดยวิธีนี้ต้องมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ไม้ ถ่าน
เปลือกหอย กระดูก และพีต เป็นต้น จะเห็นว่าตัวอย่างที่กล่าวมานั้นมาจากสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น สำหรับตัวอย่าง
หิน แก้ว เครื่องปั้นดินเผา ไม่สามารถนำมาหาอายุโดยวิธีนี้ได้
เทคโนโลยีคาร์บอน-14 หาอายุของวัตถุโบราณ
ธาตุ C -14 มีครึ่งชีวิต (half life) เท่ากับ 5,730 ปี ซึ่งหมายความว่าภายในเวลา 5,730 ปี ครึ่งหนึ่ง
ของอะตอม C -14 ที่มีในวัตถุ จะสลายตัว และอีก 5,730 ปี ครึ่งหนึ่งของอะตอม C -14 ที่เหลือซึ่งก็คือ
1 ใน 4 ของของเดิมจะสลายตัว เป็นเช่นนี้ไปทีละครึ่งของ ที่มีในทุก 5,730 ปี จนกระทั่งอะตอมของ C -14
สลายตัวหมด และเพราะเหตุว่าความร้อน ความเย็น หรือความดันใดๆ ไม่สามารถ ชะลอหรือเร่งเวลาใน
การสลายตัวของอะตอมเหล่านี้ได้เลย ดังนั้นการรู้อัตราการสลายตัวของ C -14 ที่มีในวัตถุ จะทำให้
นักวิทยาศาสตร์คำนาณหาอายุของวัตถุนั้นได้ทันที
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน-14
มี 2 แบบ คือเครื่องนับรังสีแบบสัดส่วนในแก๊ส (Gas Proportional Counter)
เครื่องนับรังสีแบบแสงวับในของเหลว (Liquid Scintillation Counter)
1. เครื่องนับรังสีแบบสัดส่วนในแก๊ส จะต้องเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้อยู่ในรูปของแก๊ส
เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน หรือแก๊สอะเซทิลีน
2.เครื่องนับรังสีแบบแสงวับในของเหลวนั้น จะต้องเปลี่ยนคาร์บอนให้อยู่ในรูปของสารประกอบ
เบนซีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้อยู่ใน
รูปแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สอะเซทิลีน และการเปลี่ยน
แก๊สอะเซทิลีนเป็นสารประกอบเบนซีน หรือทำการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงด้วย
สารละลายที่เป็นด่าง การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 จำเป็นต้องวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน-14
ในตัวอย่างเปรียบเทียบกับกัมมันตภาพรังสีของสารมาตรฐาน โดยทั่วไปสารมาตรฐานที่นิยมใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน คือ กรดออกซาลิก และ ANU Sucrose
จากกฎการสลายของธาตุกัมมันตรังสี สามารถนำมาใช้ในการหาอายุของวัตถุโบราณ ดังแสดงในสมการ
เมื่อ คือ กัมมันตภาพรังสีที่เวลาเริ่มต้น
คือ กัมมันตภาพรังสีที่เวลาใด ๆ
t คือ อายุ (ปี)
ปริมาณตัวอย่างที่ใช้สำหรับการกำหนดค่าอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14
ตัวอย่าง ปริมาณตัวอย่าง (กรัม)
ถ่าน 10-20
ไม้ 20-30
เปลือกหอย 50-100
กระดูก 500 -1000
คาร์บอเนต 50-60
สมบัติทั่วไปของธาตุคาร์บอน
ชื่อ คาร์บอน
สัญลักษณ์ C
หมายเลข 6
อนุกรมเคมี อโลหะ
หมู่, คาบ, บล็อก 4, 2, p
ลักษณะ ดำ (แกรไฟต์) ไม่มีสี (เพชร)
มวลอะตอม 12.0107 (8) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s2 2s2 2p2
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 4
สถานะ ของแข็ง
โครงสร้างผลึก หกเหลี่ยม
สถานะออกซิเดชัน 4, 2 (กรดอ่อนออกไซด์)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.55 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1 1086.5 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2 2352.6 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3 4620.5 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 70 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 67 pm
รัศมีโควาเลนต์ 77 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 170 pm
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก ไดอะแมกเนติก
เลขทะเบียน CAS 7440-44-0
ตัวอย่างวัตถุโบราณ ตรวจหาอายุโดยใช้ คาร์บอน-14
1.โครงกระดูกโบราณ
2. มัมมี่
3.เปลือกหอย
ดังนั้น คาร์บอน-14 จึงมีประโยชน์อย่างมากในการหาอายุของวัตถุโบราณ
เช่น โครงกระดูกโบราณค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. คาร์บอนมีกี่ไอโซโทป
2. คาร์บอน -14 ใช้หาอายุของวัตถุโบราณได้อย่างไร
3. คาร์บอนไอโซโทปใดพบในธรรมชาติมากที่สุด
4. รูปใดของคาร์บอนที่มีความแข็งมากที่สุด
5. ควรใช้ปริมาณกระดูก กี่กรัมในการกำหนดค่าอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องคาร์บอน -14 จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนค้นคว้าและบอกประโยชน์อย่างอื่นของคาร์บอน -14
3. ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลแหล่งที่มีการค้นพบวัตถุโบราณในไทย
การบูรณาการ
บูรณาการการเรียนรู้ได้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ฯ
สุขศึกษา ฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับวัตถุโบราณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนนับจำนวนแหล่งที่ค้นพบวัตถุโบราณในประเทศไทย
และทำสถิติว่าจังหวัดใดพบมากที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศและประวัติศาสตร์บริเวณที่ค้นพบ
วัตถุโบราณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนลองประดิษฐ์หรือปั้นวัตถุเหมือนวัตถุโบราณ
ที่พบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพวัตถุโบราณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อธาตุและสารประกอบของคาร์บอนเป็น
ภาษาอังกฤษ
ภาพดอกไม้โบราณ( ที่มา https://www.bloggang.com/data/b/buw-butsabong/picture/1266997571.jpg )
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ
ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/region/87368
2. https://th.wikipedia.org/wiki/คาร์บอน
3. https://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/cabon14forage.html
4. https://www.tint.or.th/nkc/nkc5003/nkc5003z.html
5. https://www.bloggang.com/data/b/buw-butsabong/picture/1266997571.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2663