พายุอธากาถล่มอเมริกากลาง ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเฉียด 150 ราย และยังก่อให้เกิดหลุมยุบขนาดใหญ่ในกัวเตมาลาอีกด้วย
เตือนภาคใต้เสี่ยงเกิด หลุมยักษ์ แบบกัวเตมาลา
ที่มาของข่าว : nattawat_86, วันพฤหัสที่ 3 มิถุนายน 2010 เวลา 17:10:11
ผศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึง ปรากฎการณ์หลุมลึกยุบตัวในประเทศกัวเตมาลา ที่มีความกว้างถึง 18 เมตร และลึกประมาณ 30 เมตร เหตุดังกล่าวเกิดจากชั้นหินใต้ดินมีลักษณะเป็นปูนและเป็นโพรง เมื่อถูกน้ำฝนที่ตกหนักมากจากพายุโซนร้อนอกาธ่า ที่มีปริมาณน้ำสูงเกินกว่าปกติทำให้ หินค่อยๆละลายแล้วยุบตัวลง หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า บริเวณดังกล่าวเคยเกิดหลุมยุบมาแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนหลายคนที่วิตกว่าจะเกิดในบริเวณประเทศไทยหรือไม่นั้น นักวิชาการด้านธรณีวิทยาก็กล่าวว่า พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยงหลุมยุบมากกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะชั้นตะกอนของหินจับตัวไม่แน่น ใกล้เคียงกับที่เกิดในกัวเตมาลาเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้หลายจังหวัดในภาคใต้ก็เกิดหลุมยุบขนาดเล็กมาแล้วหลายครั้ง เช่น จ.สตูล กระบี่ และตรัง โดยเฉพาะ อ.นาโยง จ.ตรัง เกิดหลุมยุบหลายจุดในพื้นที่ เนื่องจากมีสภาพเป็นหินปูนที่เสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบได้ง่าย
คลิปข่าว เรื่องเล่าเช้านี้
หลุบยักษ์รอบโลกที่น่าสนใจ
1. mirny diamond mine, serbia siberia
เหมืองเพชร ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ประเทศไซบีเรีย ซึ่งหลุมนี้มีความลึกถึง 525 เมตร ส่วนขนาดของปากหลุมนั้น วัดได้ถึง 1200 เมตรหรือประมาณ 1 กิโลเมตรและเหนือปากหลุมนี้ ทางไซบีเรียได้จัดเป็นเขตห้ามบินไปแล้ว เนื่องจากเคยมี เฮลิคอปเตอร์ได้ถูกดูดตกลงไปในหลุมนี้มาแล้ว
2. kimberley big hole - south africa (โคตรหลุมคิมเบอร์รี่ แห่งแอฟริกาใต้)
เป็นเหมืองเพชร หลุมนี้มีความพิเศษตรงที่ว่า ขุดกันด้วยมือเปล่าและหลุมนี้มีความลึกถึง 1097 เมตร (1 กิโลเมตร) และสามารถขุดเพชรได้ถึง 3 ตันก่อนที่เหมืองแห่งนี้จะได้ทำการปิดลง เมื่อปี ค.ศ.1914 และดินที่ขุดออกมาจากเหมืองนี้หนักถึง 22.5 ล้านตัน
3. glory hole - monticello dam (หลุมแห่งชัยชนะ ที่มอนติคาโล)
หลุมนี้วิศวะกรได้สร้างขึ้น เพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อน เวลาที่เขื่อนมีปริมาณน้ำสูง ในมอนติคาโล แคลิฟอเนียร์ และใหญ่ที่สุดในบรรดาหลุมเขื่อน และสามารถระบายน้ำได้ถึง 14,400 คิวบิคฟิต/วินาที
4. bingham canyon mine, utah(เหมืองบิงแฮม ในรัฐยูทาห์)
หลุมนี้ได้ถือว่าเป็นหลุมที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลุมนี้ได้เริ่มขุดเมื่อปี ค.ศ.1863 และปัจจุบันนี้ยังคงขุดต่อไป หลุมนี้ลึกถึง 1,500 เมตร และมีขนาดของปากหลุมถึง 4 กิโลเมตร
5. great blue hole, belize (โคตรหลุมน้ำเงินคราม แห่งเบไลซ์)
หลุมนี้อยู่ห่างจากแผ่นดินถึง 60 ไมล์ หลุมลักษณะนี้นั้น มีอยู่ทั่วโลก แต่ great blue hole, belize ถือว่ามีความสวยงาม ที่บริเวณผิวหน้าของหลุมนั้น เป็นรูปวงกลม ความกว้างของปากหลุมนั้นมีขนาด 1.5 กิโลเมตร และลึก 145 เมตร และหลุมนี้เป็นที่นิยมของ นักดำน้ำเป็นอย่างมาก
6. diavik mine, canada (เหมืองเดียวิค ในแคนนาดา)
หลุมนี้ตั้งอยู่ 300 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของแคนนาดา หลุมนี้มีขนาดใหญ่มาก และนอกจากนั้นยังมี สนามบินส่วนตัวไว้สำหรับ วิศวะกร ที่จะบินมาที่เหมืองได้ด้วย
7. sinkhole, guatemala (หลุมธรณีสูบ ในกัวเตมาลา)
หลุมนี้เกิดจากน้ำใต้ดิน ได้ถูกดูดจากชั้นใต้ผิวโลกอย่างรวดเร็ว จนเกิดการถล่มขึ้น จากเหตุการณ์นี้ ผู้คนต่างยืนดูด้วยความสิ้นหวัง บ้านได้ถูกกลืนไปในหลุมนี้ 12 หลังและมีผู้เสียชีวิตจาก เหตุการณ์นี้ถึง 3 คนด้วยกัน
ที่มา : https://www.soccersuck.com เครดิต : คุณ DriftKing จากเวบ cutetyclub.com
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มารู้จักทำความรู้จัก Sinkhole ดีกว่าว่ามันมีสาเหตุมาจากอะไร เราจะได้ช่วยกันป้องกันและแก้ไข
ซิงค์โฮล (Sinkhole) เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่งเกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์ก็สามารถเร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดโพรงหรือถ้ำใต้ดินขึ้น และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหวจึงพังกลายเป็นหลุมยุบ
กระบวนการเกิดหลุมยุบ
หลุมยุบ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึก และมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 – 200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างมากขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น
โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูนเนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมายดังจะสังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย
โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่โผล่เรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน จำแนกเป็น 2 ระดับคือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก ( ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร ) และโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ( ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร ) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น
สาเหตุของการเกิดหลุบยุบ
1. การกัดกร่อน
2. การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน
3. การรองรับของหนักบนพื้นผิว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ
1. เป็นบริเวณที่มีหินปูนรองรับอยู่ในระดับน้ำตื้น
2. มีโพรงหรือถ้ำใต้ดิน
3. มีตะกอนดินปิดทับทาง ( ไม่เกิน 50 เมตร )
4. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน
5. มีรอยแตกที่เพดานโพรงใต้ดิน
6. ตะกอนดินที่อยู่เหนือโพรงไม่สามารถคงตัวอยู่ได้
7. มีการก่อสร้างอาคารที่ที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น
8. มีการเจาะบ่อบาดาลผ่านเพดานโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ทำให้แรงดันน้ำและอากาศภายในโพรงถ้ำเปลี่ยนแปลง
9. มีผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเกิน 7 ริกเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์
แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 9 ริกเตอร์ ทำให้หินปูนที่มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะได้รับการกระทบกระเทือนเป็นบริเวณกว้าง เพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดินที่อยู่ในระดับตื้นและมีความไม่แข็งแรงอยู่เดิมมีโอกาสยุบตัวและถล่มลงมาได้ง่าย นอกจากนี้คลื่นยักษ์ (สึนามิ) ที่กระหน่ำเข้ามามีแรงกระแทกมหาศาลทำให้ระดับน้ำใต้ดินและบนดินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยที่กล่าวมาบวกกับปัจจัยที่มีอยู่เดิมทำให้เกิดหลุมยุบขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์โดยตรง และในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเพียงอย่างเดียว
สรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ คือ
1. เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเกิดคลื่นยักษ์ทำให้แรงดันของน้ำและอากาศภายในโพรงเสียสมดุล
2. เกิดการขยับตัวของพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยร้าวของเพดานโพรง สืบเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ
1. ดินทรุดตัวทำให้กำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้โผล่สูงขึ้น
2. มีการเคลื่อนตัว / ทรุดตัวของกำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ ประตู / หน้าต่างบิดเบี้ยว ทำให้เปิดยากขึ้น
3. เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยเกิดแหล่งน้ำมาก่อน
4. มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และพืชผัก เหี่ยวเฉาเป็นบริเวณแคบๆ หรือเป็นวงกลม เนื่องจากการสูญเสียความชื้นของชั้นดินลงไปในโพรงใต้ดิน
5. น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลน โดยไม่มีสาเหตุ
6. อาคาร บ้านเรือนทรุด มีรอยปริแตกบนกำแพง พื้น ทางเดินเท้า และบนพื้นดิน
ขอบคุณ : ภาควิชาเทคโนโลยีภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คำถาม
1. หลุมยุบเกิดจากสาเหตุใด
2. เรามีวิธีการสังเกตอย่างไรว่าจะเกิดหลุมยุบ
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตถึงปรากฏการณ์หลุมยุบที่เกิดในประเทศไทยและต่างประเทศ
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของโลก
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2668