หลากหลาย...เพื่อเป็นหนึ่ง ซึ่งการคงอยู่ของอนาคต


725 ผู้ชม


Many Species. One Planet. One Future. ประโยคดังที่ต้องฟังและคิด...สู่ลงมือทำ   

Many Species. One Planet. One Future.”

โลกประกาศ 2553 ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

         คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมวันที่ 22 ธันวาคม 2552 เห็นชอบมติคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติและความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ตามที่ ทส.เสนอดังนี้  

                       1. การประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ณ นครโยฮันเนสเบอร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อปี คศ. 2002 ได้ให้การรับรองเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพปี ค.ศ. 2010 ในการลดอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพลงอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และองค์การสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้ ปี ค.ศ. 2010 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง         ชีวภาพ  ได้ขอความร่วมมือภาคีอนุสัญญาฯ รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมในปีสากลแห่งความ                หลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ค.ศ. 2010 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  ในลำดับที่ 188 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547

                        2. ความหลากหลายทางชีวภาพ  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์  ความมั่นคงทางอาหาร การแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนา  แต่การพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพในการฟื้นตัวของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ  เป็นเหตุให้มีการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง  และเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศต้องเร่งหยุดยั้ง  ประเทศไทยเป็นแหล่งรวมของกลุ่มพรรณพฤกษชาติภูมิภาคอินเดีย-พม่า             ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย  จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก  ประมาณว่ามีพืชอย่างน้อย 12,000 ชนิด  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 302 ชนิด นกอย่างน้อย 982 ชนิด ปลาน้ำจืดและปลาทะเลอย่างน้อย 720 และ 2,100 ชนิด ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของชนิดพันธุ์ปลาของโลก  แต่ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพเกินศักยภาพของระบบนิเวศ  เพราะประชาชนมีความตระหนักในเรื่องคุณค่าและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพน้อย ขาดการประชาสัมพันธ์ การให้การศึกษาและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ 

                        3. ในปี 2553 สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  ได้กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 10 ณ เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นการประชุมที่มีความสำคัญมาก  เพราะจะเป็นการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และผลการดำเนินงานตาม               เป้าหมายการประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ นครโยฮันเนสเบอร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 2002 โดยที่ประชุมได้กำหนดให้มีการลดอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายในปี ค.ศ. 2010

                        4. คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) โดยรัฐมนตรี          ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน  และคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 และในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 ดังนี้

                                    4.1 เห็นควรประกาศให้ปี 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย  เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2010 หรือ พ.ศ. 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทาง          ชีวภาพ  เพื่อกระตุ้นให้ประชากรทุกกลุ่ม  ทุกสาขาอาชีพตระหนักในคุณค่าความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ  และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน  ประเทศไทยจึงควรใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงผลการดำเนินงานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ  ซึ่งเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ 

                                    4.2 เห็นชอบในแผนปฏิบัติการปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ ครอบคลุมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน  โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย แนวทางการปฏิบัติ ตัวชี้วัดและหน่วยงานรับผิดชอบ  เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวได้

                        5. ในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2553 เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ  เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนปฏิบัติการปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างพร้อมเพรียง  จึงเห็นควรให้กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบกลางของกระทรวงให้แก่หน่วยงานในสังกัดให้สามารถดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว

 
ที่มา : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  วันที่ 23 ธันวาคม 2552

 

                               หลากหลาย...เพื่อเป็นหนึ่ง ซึ่งการคงอยู่ของอนาคต

                                                           ภาพความหลากหลาย

                         (ที่มา :  https://www2.warwick.ac.uk/about/environment/faqs/)

ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ  คืออะไร
      ความหลากหลายทางชีวภาพ มาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า Biodiversity โดยรากศัพท์แล้วหมายความถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังพบกลุ่มคำในความหมายดังกล่าว  เช่น Biological diversity หรือ Diversity เป็นต้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ  หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง    ทั้งนี้เราสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ( species diversity )ของสิ่งมีชีวิต

2. ความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity )

3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ ( ecolosystem diversity )

                ความหลากหลายทั้ง3 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในสภาพแวดล้อมและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก
(https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=7882c0d45022e1968be3a9198d56c967&bookID=212&read=true&count=true)

 

คำถามจุดประเด็น
1. จงอธิบายประโยคที่ว่า "อาจหลากหลายทางสายพันธุ์ แต่ต้องอยู่รวมกันเพื่อความสมดุล"
2. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ลำดับที่เท่าไร
3. จงยกตัวอย่างแหล่งธรรมชาติที่มีความหลากหลายมา 1 สถานที่ พร้อมอธิบายความหลากหลายนั้น


กิจกรรมเพิ่มเสริมความรู้ิ
ศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎานี
    
    
 บูรณาการผสนานความรู้
 วิชาสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เืรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
 
 

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

มาตรฐาน ว ๒.๒   เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน


 เอกสารอ้างอิง
 https://chm-thai.onep.go.th/
 https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=7882c0d45022e1968be3a9198d56c967&bookID=212&read=true&count=true
 ที่มา : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  วันที่ 23 ธันวาคม 2552

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2669

อัพเดทล่าสุด