เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก


1,220 ผู้ชม


ไข่เต่าทะเลทั้งไข่เต่าตนุ ไข่เต่ากระ จำนวน 169 ฟอง เตรียมฟักบนดอยที่เชียงใหม่ซูอควาเรียมหรือทะเลบนดอย ห่างจากทะเลกว่า 800 กิโลเมตร   

                                                เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก     ยินดีต้อนรับเต่าทะเลน้อยสู่แผ่นดินล้านนา  เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลกเต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลกเต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
                                 ภาพเต่าทะเล ( ที่มา https://www.thairath.co.th/content/region/87576 )

       ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือและสวนสัตว์เชียงใหม่ เปิดนิทรรศการเต่า “ยกขบวนเต่ามาพักร้อนบนยอดดอย”ภาย
ในเชียงใหม่ ซู อควาเรียม สวนสัตว์เชียงใหม่ ในงานมีการแสดงชีวิตเต่าทะเลที่มีการนำลูก เต่าทะเลทั้งลูกเต่ากระและตนุ 
มาแสดงให้ได้ชม พร้อมทั้งมีการเกิดของเต่าทะเลตั้งแต่การวางไข่การออกจากไข่และคลานลงทะเล รวมเต่าทะเลทั้งหมด
78 ตัว และร่วมลุ้นไปกับไข่เต่าที่พร้อมฟักตัวบนยอดดอย จำนวน 169 ฟอง ที่กำลังฟักตัวอยู่ในกระบะทราย  โดยจะเป็นครั้งแรก
ของโลกที่เต่าทะเล จะออกจากไข่บนดินแดนที่อยู่ห่างจากทะเลร่วม 800 กม.

( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์  https://www.thairath.co.th/content/region/87576 )
 
        เต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ได้กำเนิดขึ้นในโลกมากกว่า 200 ล้านปี บรรพบุรุษของเต่าทะเลเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพวก
แรกในวงศ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปัจจุบันเต่า มีอยู่ประมาณ 210 ชนิด จากจำนวนสัตว์เลื้อยคลาน
ทั้งสิ้น 6,000 ชนิด ที่อาศัยในทะเล มี 2 ชนิด  คือเต่าทะเล และงูทะเล  เต่าทะเลปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 ตระกูล คือ ตะกูล DERMOCHELYIDAE ได้แก่ เต่ามะเฟือง และตะกูล CHELONINI  ได้แก่ เต่าตนุ  เต่ากระ เป็นต้น  เต่าทะเลทั่วโลก
ปัจจุบันพบอยู่เพียง 8 ชนิด และในประเทศไทยเต่าทะเลที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว คือ เต่าหัวฆ้อน ทำให้ต้องหันมาสนใจและ
อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลอย่างจริงจังค่ะ

                                              เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก    มารู้จักเต่าทะเลให้มากขึ้นกันนะคะ   เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 
ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                 
เรื่อง   เต่าทะเล        
           เต่าทะเลเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยมีหลักฐานพบว่าอาศัยอยู่ทั่วไปในสมัย 130 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่า
เคยพบซากโบราณ (Fossil) ก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านปีการแพร่กระจายของเต่าทะเล พบอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อน
 และเขตอบอุ่น เต่าทะเลทั่วโลกพบอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่าตนุ (Chelonia mydas), 
 เต่าหลังแบน (Chelonia depressa), เต่ากระ (Erethmochelys imbricata), เต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta), เต่าหญ้า  (Lepidochelys olivacea) เต่าหญ้าแอตแลนติค (Lepidochelys kempii) และเต่าดำ (Chelonia agassizii) ใน
ประเทศไทย พบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง, เต่าตนุ, เต่ากระ, เต่าหญ้า, และเต่าหัวฆ้อนโดยเต่าหัวฆ้อนไม่เคยพบ
ขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยในอดีตที่ผ่านมา 
           
        ตระกูลเต่าทะเล
        เต่าทะเลปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 ตระกูล  ดังนี้
         1. ตระกูล DERMOCHELYIDAE ซึ่งมีเต่ามะเฟือง (leatherbaok:Dermochelys coriacea) เหลืออยู่เพียงชนิดเดียว 
         2. ตระกูล CHELONINI คือ เต่าตนุ(Green turtle:Chelonia myfa) เต่าหลังแบน (flatbaok turtle:Chelonia depressa) เต่ากระ (Hawksbill:Eretmochelya imbricata) ในตระกูลนี้ ยังแบ่งออกเป็นตระกูลย่อยเรียกว่า CARETTINI 
อีก 3 ชนิด คือ เต่าหัวฆ้อน (loggerhead turtle:Caretta caretta) เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (Olive ridley:Lepidochelys olivacea) และ Kemp's ridley turtle (Lepidochelys kempi) 
         รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้แยกเต่าตะนุออกมาเป็นอีกชนิด คือ East Pacific Green turtle 
(Chelonia agassisi) ปัจจุบันในโลกนี้จึงมีเต่าทะเลเหลืออยู่เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่
อนุรักษ์พบเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด เท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง เต่าตะนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า 
         
         ชนิดเต่าทะเลที่พบในน่านน้ำไทย
         1. ตระกูล CHELONINI   มีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ เต่าตะนุ  เต่ากระ   เต่าหญ้า  และ เต่าหัวฆ้อน
              
   เต่าตนุ
                 ชื่ออังกฤษ: Green turtle
                
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelonia mydas (Linnaeus, 1758)
                 ลักษณะเด่น: เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal scute) มีจำนวน 1 คู่เกล็ดบนกระดองแถวข้าง 
                                     (Costal scute) มี จำนวน 4 เกล็ด Prefrontal scale อันแรกสุดไม่ติดกับเกล็ดคอ (Nuchal scute)
                                     ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อนกัน สีสรรและลวดลายสวยงาม โดยมีกระดอง
                                     สีน้ำตาลอมเหลืองมีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
                                     เต่าแสงอาทิตย์
                       ขนาด:  โตเต็มที่ความยาวกระดองประมาณ 150 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 200 กก. ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ได้
                                    ความยาวกระดองประมาณ 80 เซนติเมตร 
                       อาหาร: เต่าตนุเป็นเต่าทะเลชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหารเมื่อพ้นช่วงวัยอ่อนแล้ว อาหารหลักได้แก่ 
                                   พวกหญ้าทะเลและสาหร่ายทะเลชนิดต่าง ๆ เต่าตนุในวัยอ่อนจะกินทั้งพืชและเนื้อสัตว์
               แหล่งแพร่กระจาย: แหล่งวางไข่ของเต่าตนุพบมากในอ่าวไทย บริเวณเกาะคราม จ. ชลบุรี และพบประปรายทาง
                                      ฝั่งทะเลอันดามันที่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะตะรุเตา
                                                     เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก  
                                                             ภาพเต่าตนุ ( ที่มา  https://pirun.ku.ac.th/~b4709089/4.jpg  )        
                                             
                
  เต่ากระ
                  
ชื่ออังกฤษ: Hawksbill turtle
                  ชื่อวิทยาศาสตร:์ Erethmochelys imbricata (Linnaeus, 1766)
                  ลักษณะเด่น: จงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal scute, Pf)
                                        มี 2 คู่ เกล็ดบนหลังแถวข้าง (Costal scute) มีจำนวนข้างละ 4 เกล็ด เกล็ดอันแรกไม่ชิดกับ
                                        เกล็ดขอบคอ (Nuchal scute) ลักษณะเด่นชัดคือ เกล็ดบนกระดองมีลวดลายริ้วใสสวยงาม 
                                        และลักษณะเกล็ดซ้อนกันเห็นได้ชัดเจน 
                  ขนาด:  โตเต็มที่ความยาวกระดองประมาณ 100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 120 กก. ขนาดโตถึงขั้น
                               แพร่พันธุ์ได้ประมาณ 70 เซนติเมตร 
                  อาหาร: เต่ากระอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง โดยเฉพาะเมื่อขนาดเล็กจะอาศัยตามชายฝั่งน้ำตื้น กินสัตว์
                              จำพวกฟองน้ำ, หอย และพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร
                  การแพร่กระจาย: แหล่งวางไข่เต่ากระพบมากในอ่าวไทยแถวเกาะคราม จ.ชลบุรี และ พบกระจัดกระจาย
                               เล็กน้อย ที่หมู่เกาะตะรุเตา และเกาะสุรินทร์ ทางฝั่งทะเลอันดามัน
                                                    เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
                                                                                  ภาพเต่ากระ (ที่มา   https://pirun.ku.ac.th/~b4709089/3.jpg )

                   เต่าหญ้า
                   
ชื่ออังกฤษ: Olive Ridley Turtle
                   ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepidochelys olivacea (Eschscholtz, 1829)
             ลักษณะเด่น: กระดองเรียบสีเทาอมเขียว สีสันของกระดองไม่สวยงามเท่าเต่ากระ และเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโต 
                              จงอยปากมนกว่าเต่าตนุ ที่แตกต่างกันชัดคือเกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefront scute) มีจำนวน 2 คู่ 
                              และเกล็ดบนกระดองหลังแถวข้าง (Costal scute) มีจำนวน 6-8 แผ่น ในขณะที่เต่ากระและเต่าตนุ
                              มีเพียง 4 แผ่น เกล็ดหลังแถวข้างอันแรกชิดติดกับเกล็ดขอบคอ (Nuchal scute) และลักษณะพิเศษ
                              ของเต่าหญ้าคือกระดองส่วนท้องแถวกลาง (Inframarginal scale) มีรูสำหรับขับถ่ายหรือรูเปิด
                             สำหรับประสาทรับความรู้สึก (ยังไม่ทราบระบบการทำงานที่ชัดเจน) จำนวน 5 คู่
           ขนาด:เต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 75-80 เซ็นติเมตร ขนาดน้ำหนักถึง
                     80 กก. ขนาดโตเต็มที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ความยาวกระดองประมาณประมาณ 60-65 เซนติเมตร 
           อาหาร: เต่าหญ้ากินพวก หอย ปู ปลา และกุ้ง เป็นอาหารจึงอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป มีจะงอยปากใหญ่คม
                       และแข็งแรง สำหรับขบกัดหอยที่มีเปลือกไม่แข็งมากกินเป็นอาหาร
           แหล่งวางไข่: แหล่งวางไข่เต่าหญ้าพบมากทางฝั่งทะเลอันดามัน ตามแนวหาดทรายฝั่งตะวันตก ของจังหวัดภูเก็ต 
                               จังหวัดพังงา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามัน ไม่พบเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ฝั่งอ่าวไทยเลย

                                                                  เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
                                                                  
ภาพเต่าหญ้า ( ที่มา   https://members.fortunecity.com/481304/p_31.jpg)

                   เต่าหัวฆ้อน
                 
  ชื่ออังกฤษ: Loggerhead Turtle
                   ชื่อวิทยาศาสตร์: Caretta caretta (Linneaus, 1758)
          ลักษณะเด่น: ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้าและเต่าตนุมากต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัว ตอนหน้า (Prefrontal scute) 
                             มีจำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้าแต่เกล็ด บนกระดองหลังแถวข้าง (Costal scute) มี จำนวน 5 แผ่น
                            และแผ่นแรกอยู่ชิดติดกับเกล็ดขอบคอ ลักษณะรูปทรงของกระดองหลังจะเรียวเล็กลงมาทาง
                            ส่วนท้าย                                                   
                 อาหาร: เช่นเดียวกับเต่าหญ้าคือกินสัตว์จำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นอาหาร
                 แหล่งวางไข่: ในอดีตเคยมีรายงานพบเต่าหัวฆ้อนวางไข่ทางฝั่งทะเลอันดามัน แต่ปัจจุบันไม่พบเต่าหัวฆ้อนขึ้น
                              มาวางไข่อีกเลยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งเข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยแล้ว
                                               เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก

                        ภาพเต่าหัวฆ้อน ( ที่มา  https://www.biology-blog.com/images/blogs/10-2006/loggerhead-turtle-4331.jpg )       
                                        
            2. ตระกูล  DERMOCHELYIDAE  มีชนิดเดียวคือ  เต่ามะเฟือง

                  เต่ามะเฟือง
                 
 ชื่ออังกฤษ: Leatherback Turtle
                  ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea (Vandelli, 1761)
            ลักษณะเด่น: เต่ามะเฟืองแตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นอย่างชัดเจน ตรงที่มีขนาดใหญ่มาก จัดเป็นเต่าทะเล
                          ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกลักษณะกระดองไม่เป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นหนังหนา  สีดำ
                          อาจมีแต้มสีขาวประ ๆ ทั่วตัว กระดองเป็นสันนูนตามแนวความยาวจากส่วนหัวถึงท้ายจำนวน 7 สัน 
                         ไม่มีเกล็ดปกคลุมส่วนหัว จะงอยปากบนมีลักษณะเป็นหยัก 3 หยัก            
             ขนาด:  ขนาดโตเต็มที่มีความยาวกระดองถึง 250 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 1,000 กก. ขนาด ที่พบขึ้นมาวางไข่
                         ไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
             อาหาร: เต่ามะเฟืองอาศัยอยู่ในทะเลเปิด กินอาหารจำพวกพืชและสัตว์ที่ล่องลอยตามน้ำ โดยอาหารหลักได้แก่ 
                         จำพวกแมงกะพรุน
            แหล่งวางไข่:  เต่ามะเฟืองปัจจุบันมีจำนวนน้อยมาก พบขึ้นมาวางไข่บ้างบริเวณหาดทรายฝั่งทะเลอันดามัน 
                         ตะวันตกของไทย จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต และหมู่เกาะตรุเตา ไม่เคยมีรายงานพบเต่ามะเฟือง
                         ขึ้นวางไข่ในบริเวณอ่าวไทย
   เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลกเต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
                              ภาพเต่ามะเฟือง (ที่มา 
https://noopa022.comze.com/toto2.html,https://r-10.exteen.com/20081109/entry)

                                                 
            การแพร่ขยายพันธุ์เต่าทะเล           
            เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเคยมีรายงานไว้จำนวน 5 ชนิดด้วยกัน โดยแหล่งวางไข่เต่าทะเลพบทั้งทางฝั่ง
อ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะการจำแนกชนิดเต่าทะเลของไทยในอดีตเคยมีเต่าทะเลชุกชุมทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและ
ทะเลอันดามัน บริเวณที่เคยพบเต่าทะเลขึ้นวางไข่ ทางฝั่งอ่าวไทยได้แก่ชายหาดตามเกาะต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรี 
จังหวัดตราด จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามชายหาดจังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส
ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบเต่าทะเลขึ้นวางไข่บริเวณ หาดทรายฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงาและหมู่เกาะ
ใกล้เคียง นอกจากนี้พบบ้างที่จังหวัดตรังและสตูลปัจจุบันเต่าทะเลของไทยเหลือน้อยมาก แหล่งวางไข่เต่าทะเลในอ่าวไทย
เหลือเพียงแห่งเดียวคือที่เกาะคราม จังหวัดชลบุรี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามัน พบบริเวณหมู่เกาะพระทอง, หาดท้ายเหมือง
จังหวัดพังงา; บริเวณหาดในยาง จังหวัดภูเก็ต และพบบ้างเล็กน้อยตามหมู่เกาะต่างๆ ที่สำคัญได้แก่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน
           ฤดูวางไข่เต่าทะเล   
           ช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเลแตกต่างกันตามชนิดและภูมิประเทศ สำหรับฤดูการวางไข่เต่าทะเล ในน่านน้ำไทยพบว่า
เต่ากระและเต่าตนุวางไข่มากที่สุดในอ่าวไทยบริเวณเกาะคราม จ. ชลบุรี และฝั่งทะเลอันดามันที่หมู่เกาะสิมิลัน โดยขึ้นวางไข่
ตลอดปี มีช่วงชุกชุมที่สุดอยู่ในราวเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ทางฝั่งทะเลอันดามันเต่าที่ขึ้นวางไข่มากที่สุดได้แก่
เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) โดยมีเต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) ขึ้นมาวางไข่บ้าง แหล่งวางไข่ได้แก่
บริเวณหมู่เกาะพระทอง หาดท้ายเหมือง ของจังหวัดพังงา และบริเวณหาดสวนมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต ฤดูวางไข่เต่าทะเลทาง
ฝั่งทะเลอันดามัน จะพบเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น โดยช่วงที่ชุกชุมที่สุดอยู่ระหว่าง กลาง
เดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม ส่วนเต่าตนุทางฝั่งทะเลอันดามัน พบขึ้นวางไข่ที่เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ เต่ากระพบ
น้อยมาก มีรายงานปัจจุบันพบเฉพาะที่เกาะสุรินทร์ และช่วงฤดูวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระเป็น
ช่วงเดียวกับทางฝั่งอ่าวไทยคือพบเกือบตลอดปีโดยช่วงชุกชุมอยู่ในราว เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 
           การวางไข่ของเต่าทะเล
           เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายที่เงียบสงบในช่วงเวลากลางคืน ส่วนมากจะขึ้นมาวางไข่ ในช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุดหรือ
ช่วงที่พระจันทร์กำลังขึ้น โดยแม่เต่าจะคลานขึ้นมาจากทะเล ขึ้นมาบนหาดทรายบริเวณที่สูงกว่าแนวที่น้ำขึ้นสูงสุด เมื่อแม่เต่า
เลือกทำเลที่เหมาะสมได้แล้วก็จะทำการขุดหลุมทราย ลักษณะการขุดหลุมทรายโดยใช้ขาหลังขุดและกอบทรายขึ้นมาทิ้งสลับ
ข้างซ้ายขวา ความลึกของหลุมไข่ประมาณ 30-50 เซนติเมตรสำหรับเต่ากระ เต่าตนุ และเต่าหญ้า และลึกประมาณ 60-80 เซนติเมตร สำหรับเต่ามะเฟือง เมื่อแม่เต่าทะเลขุดหลุมได้ลึกตามต้องการแล้ว ก็จะทำการคว้านทรายก้นหลุม ให้ส่วนก้นหลุม
กว้างขึ้นลักษณะหลุม จึงมีลักษณะปากหลุมแคบแต่ก้นหลุมกว้างคล้ายหม้อแขก 
 เมื่อแม่เต่าขุดหลุมได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว ก็จะปล่อยไข่ลงหลุม โดยการปล่อยไข่ออกจากท่อไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง และหยุด
และปล่อยสลับกันไป แม่เต่าจะวางไข่เรื่อย ๆ จนหมดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที จำนวนไข่แต่ละครั้งที่แม่เต่าวางไข่ประมาณ
70-150 ฟอง สำหรับเต่ากระ เต่าตนุ เต่าหญ้า และ 60-130 ฟองสำหรับเต่ามะเฟือง ขนาดของไข่เต่าทะเลมีขนาด เส้นผ่า
ศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยกเว้นไข่เต่ามะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.5 
เซนติเมตร เมื่อแม่เต่าวางไข่เสร็จแล้วก็จะทำการกลบหลุมทราย โดยใช้ขาหลัง กวาดทรายและกดทรายให้ยุบลงปิดหลุมไข่
จนเต็ม (เต่าหญ้าจะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ จะทำการตบหลุมไข่ให้แน่นโดยใช้ขาหน้ายกตัวขึ้น และใช้กระดองหน้าอกตบ
ลงบนพื้นทราย ทำสลับกันซ้ายขวาหลาย ๆ ครั้ง) จากนั้นจึงทำการเกลี่ยทรายบริเวณที่วางไข่เป็นวงกว้าง เพื่ออำพลาง บริเวณ
หลุมไข่ที่แท้จริง เมื่อเสร็จกรรมวิธีวางไข่แล้วแม่เต่าก็จะคลานลงสู่ทะเลไป โดยไม่กลับมาดูแลไข่เต่าอีกเลย แม่เต่าตัวหนึ่ง
จะขึ้นมาวางไข่ปีละ 1-3 ครั้ง โดยห่างกันประมาณ 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเต่ามะเฟือง จะทิ้งช่วงห่างกันประมาณ 1 เดือน 
ถึง 40 วัน 
            การฟักตัวของลูกเต่าทะเล
            ไข่เต่าทะเลจะฟักตัวอยู่ประมาณ 50-55 วัน ก็จะเกิดเป็นตัว (60-65 วันสำหรับไข่เต่ามะเฟือง) เมื่อลูกเต่าเกิดเป็นตัว
แล้วจะโผล่ขึ้นจากหลุมทรายโดยเจาะเปลือกไข่ออกมา ซึ่งลูกเต่าแรกเกิดจะมีจงอยปากแหลมไว้เจาะเปลือกไข่ เมื่อลูกเต่าทะเล
เจาะเปลือกไข่ออกมาแล้วจะทำการขยับตัวพร้อมกันในหลุมใต้ทราย โดยการขยับตัวพร้อมกันของลูกเต่าทะเลนี้ จะทำให้เปลือก
ไข่ถูกกดยุบตัวลงทำให้เกิดช่องว่างใน หลุมทรายทำให้ทรายเบื้องบนยุบตัวลงมาเป็นหลุม และลูกเต่าก็จะขยับตัวเองเคลื่อนตัว
ขึ้นสู่เบื้องบนเรื่อยๆ จากนั้นจะรอจนถึงกลางคืนจึงจะคลานขึ้นมาจากหลุมพร้อมๆกันทั้งหมด ซึ่งในธรรมชาติ อัตราการเกิดเป็น
ตัวของลูกเต่าประมาณ 80-90% ลูก เต่าที่เกิดเมื่อโผล่ขึ้นมาแล้วก็จะกระจาย คลานมุ่งสู่ทะเลทันที เมื่อลูกเต่าถึงน้ำทะเลก็จะ
ว่ายน้ำได้ทันที จะว่ายน้ำมุ่งสู่ทะเลลึกต่อเนื่องกัน 3-5 วัน โดยไม่หยุดพัก ในระยะนี้ลูกเต่าจะใช้ไข่แดงที่ยังมีสะสมอยู่ในตัวเป็น
อาหาร เมื่ออาหารสะสมหมดจึงหยุดพักลอยตัวและหาอาหารกิน โดยอาศัยกับกอพืชหรือสาหร่ายที่ลอยในทะเล หรือวัสดุอื่น ๆ ที่
ล่องลอยในทะเล ซึ่งในการเดินทางของลูกเต่าทะเลเชื่อว่าจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ติดไปกับกอวัสดุซึ่งใช้เป็นที่หลบภัยและ
แหล่งอาหาร และจะเข้ามาหากินตามชายฝั่งเมื่อมีขนาดโตขึ้น คำนวนจากอายุก็ประมาณ 1-2 ปีขึ้นไป ลูกเต่าแรกเกิดทั่วไป
จะมีขนาดความยาว กระดองประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร (Chantrapornsyl, 1992) โดยลูกเต่ามะเฟืองแรกเกิดความยาว
กระดองประมาณ 6 ซม.
           การอนุรักษ์เต่าทะเล            
           เต่าทะเลถูกล่าจับไปเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อและไข่ถูกนำไปเป็นอาหาร กระดอง นำไปเป็นเครื่องประดับและเครื่อง
ตบแต่ง,หนังถูกนำไปเป็นผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องหนังต่าง ๆ  นอกจากนั้นไขมันของเต่าทะเลยังสามารถนำไปสกัดใช้เป็น
ส่วนผสมของสบู่ หรือน้ำหอมที่มีราคาอีกด้วย  ปัจจุบันเต่าทะเลถูกจัดเป็นสัตว์ทะเลที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง โดย
ทั่วโลกกำลังตระหนักถึงการลดจำนวนลง และมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า โดยเฉพาะเต่าทะเลในน่านน้ำไทย ซึ่งเหลือ
จำนวนน้อยมาก ถึงแม้ว่าจะมีกฏหมายคุ้มครองและอนุรักษ์เต่าทะเลแล้วก็ตาม จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ทุก ๆ ฝ่ายควรให้ความ
ร่วมมือร่วมใจช่วยกันอนุรักษ์อย่างจริงจัง เพื่อให้เต่าทะเลคงอยู่สืบไปก่อนที่จะสายเกินไป  
            ปัจจุบันจึงมีการออกกฏหมายต่าง ๆ  เป็นกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเล  เพื่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลให้คงอยู่
ตลอดไป
            
           
 ข้อมูล เชียงใหม่ ซู อะควาเรียม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่สวนสัตว์เชียงใหม่
            
            
สถานที่: เชียงใหม่
            ทัวร์ประเภท: Join-In
            ช่วงเวลา: 08.00 AM- 18.00 PM
                                        เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
                 ภาพซู อะควาเรียม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่สวนสัตว์เชียงใหม่( ที่มา https://travel.kapook.com/photo/travel_2063.html)
           
 เชียงใหม่ ซู อะควาเรียม (The Chiang Mai Zoo Aquarium)
 สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์แห่งหนึ่ง
ของเมืองไทย ที่ได้มาตรฐานระดับสากล นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวเชียงใหม่ ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 
มาเก็บเกี่ยวประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและประทับใจ จากเหล่าสรรพสัตว์กันอย่างใกล้ชิด...พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเชียงใหม่นี้ ถือเป็น
ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีอุโมงค์ใต้น้ำที่กว้างและยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุโมงค์มีลักษณะเป็นอะคริลิคใส ผู้มาเยือน
จึงสามารถตื่นตาตื่นใจไปกับสิ่งมีชิวิตแห่งโลกใต้น้ำในมุมกว้าง 360 องศา ภายในแบ่งออกเป็น 7 โซนด้วยกัน จัดแสดงระบบ
นิเวศน์สัตว์น้ำจืดและสัตว์ทะเลที่โดดเด่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และเข้ามาสังเกต
กันอย่างใกล้ชิด 
            อควาเรียมแห่งนี้รวบรวมเอาพันธุ์สัตว์น้ำจืดและน้ำเค็ม รวมถึงสัตว์ที่แปลกและหาชมได้ยากจากต่างถิ่น มาไว้รวมกัน โดย
มีแรงบันดาลใจมาจากลุ่มน้ำโขง ที่เปรียบได้กับอุทยานสัตว์น้ำที่ยิ่งใหญ่ และมีความหลากหลายทางสายพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องจากเป็น
สายน้ำหลักที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนนับล้านของ 6 ประเทศในดินแดนแถบนี้  ความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศน์ในแม่น้ำโขง
ซึ่งมีสัตว์น้ำกว่า 2,000 สายพันธุ์ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความหลากหลายทางชีวภาพที่พิพิธภัณฑ์โลกใต้น้ำเชียงใหม่ยึดถือ
เป็นต้นแบบ ผู้ที่มาเที่ยวชมจะได้เพลินตากับสิ่งมีชีวิตนับพัน ซึ่งเป็นสัตว์น้ำหายาก
จากทั่วทุกมุมโลก ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน และได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากผู้ดูแลภายในอุทยานโลกใต้น้ำบนยอดดอย - อาณา
จักรสวรรค์บนดินแห่งนี้ นอกเหนือจากเสน่ห์แห่งความงามของทิวทัศน์โดยรอบ เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ยังเป็นศูนย์การศึกษา
วิจัย พันธุ์สัตว์น้ำ และทดลองเกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นทั่วโลกทางพิพิธภัณฑ์
สัตว์น้ำ สวนสัตว์เชียงใหม่ ยังตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก มาสัมผัสความสุภาพอ่อนโยน และความโอบอ้อม
อารีของชาวเมืองเชียงใหม่ด้วยตนเอง 
                               
                                             เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก 
                             ภาพลูกเต่าทะเล ( ที่มา https://www.sattahipbeach.com/detailtoursattahippage4/picsbirth416.jpg)
 
 เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก         
ดังนั้น ลูกเต่าทะเลน้อยที่จะฟักเป็นตัวบนดอยครั้งแรกในโลกครั้งนี้ เป็นเต่าทะเลในตะกูล          
          CHELONINI 2 ชนิด คือ เต่าตะนุ และ เต่ากระ จำนวน  169  ฟอง ค่ะ และคงต้องช่วยกันลุ้นให้ลูกเต่าฟัก
           ออกมาเป็นตัวครบทุกฟองและใช้ชีวิตในทะเลตามธรรมชาติอย่างสงบตามวิถีชีวิตของมันต่อไปค่ะ
  
     
                                                                                                                                                                               เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. เต่าทะเลในปัจจุบันมีกี่ตะกูล
        2. เต่าทะเลในประเทศไทยมีกี่ชนิด
        3. เต่าทะเลที่จะฟักเป็นตัวบนดอยครั้งแรกในโลกที่เชียงใหม่คือเต่าชนิดใดบ้าง
        4. เต่าทะเลชนิดใดที่คาดว่าได้สูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำไทยแล้ว
        5. ปัจจุบันเหลือเต่าทะเลกี่ชนิดทั่วโลก
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องเต่าทะเลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล 
       3. กิจกรรมทัศนศึกษาศึกษาชีวิตของเต่าทะเล ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ หรือสวนสัตว์ต่าง ๆ

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับความสำคัญของเต่าทะเลต่อสิ่งแวดล้อม
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  นักเรียนนับจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และอนุรักษ์เต่าทะเล
                                                            และทำสถิติว่าจังหวัดใดพบพันธุ์เต่าทะเลมากที่สุด
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศแหล่งที่อยู่ของเต่าทะเล
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์สิ่งของรูปเต่าทะเลจากเศษวัสดุต่าง ๆ 
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ           นักเรียนวาดภาพเต่าทะเลพันธุ์ต่าง ๆ 
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อเต่าทะเลชนิดต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ

ขอขอบคุณ  เต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลกเต่าทะเลน้อยฟักบนดอยแห่งแรกของโลก
             สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน  จังหวัดภูเก็ต
             สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช                                   
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1. 
https://www.thairath.co.th/content/region/87576
      2. https://www.pmbc.go.th/webpmbc/default.php
      3. https://www.dnp.go.th/npo/Html/Research/Turtle/turtle.html
      4. https://www.hotelsthailand.com/thailand-activity/chiang-mai-activity/chiang-mai-zoo-aquarium.html
      5. https://noopa022.comze.com/toto2.html
      6. https://r-10.exteen.com/20081109/entry

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2672

อัพเดทล่าสุด