นกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือนกฮูกมลายู หรือนกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) ที่รู้จักว่าเป็นนกเค้าแมว ชื่อว่าเฮดวิดของแฮร์รี่ พ่อมดหนุ่มรูปหล่อ จากเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ พบครั้งแรกในประเทศไทยที่ จังหวัดนราธิวาส
" นกเค้าแมวมลายู..ของแฮร์รี่ พบในประเทศไทยที่จังหวัดนราธิวาส "
ในงาน " Seacon Pet Planet " ระหว่างวันที่ 5 - 13 มิถุนายน 2553 ณ ลานน้ำพุ ชั้น 1 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์
ร่วมกับ สวนนกจังหวัดชัยนาท จะนำนกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือ นกฮูกมลายู และอีกชื่อหนึ่ง...นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl)
มาโชว์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ โดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน ได้ชมฟรี...พร้อมกับเข้ามาศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของนก อีกทั้งเป็น
การส่งเสริม และ อนุรักษ์นกสวยงามของประเทศไทยให้คงอยู่สืบไป
( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/edu/87953 )
ภาพนกเค้าแมวพันธุ์มลายู ( ที่มา https://www.thairath.co.th/content/edu/87953
https://www.flickr.com/photos/johanlennon/3989119851/ )
นกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือ นกฮูกมลายู มีลักษณะหน้าตาคล้ายแมว เป็นนกขนาดกลาง 49 - 50 ซม. ปีกสั้นกว่า 40 ซม.
มีอีกชื่อหนึ่งว่า นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) ถิ่นกำเนิดพบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศ อินโดนีเซีย กระจายพันธุ์ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ เมื่อสำรวจไปทั่วโลกพบว่ามี นกเค้าแมวพันธุ์มลายู 4 ชนิดย่อย ในประเทศไทย
พบ 1 ชนิดย่อย คือ Ketupa ketupu aagaardi neumann โดยพบครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดนราธิวาส นกเค้าแมวพันธุ์
นี้โด่งดังเพราะเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มีชื่อว่า เฮดวิด ที่มักจะคอยช่วยเหลือพ่อมดหนุ่มรูปหล่อแฮร์รี่ จากเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง นกเค้าแมวพันธุ์มลายู
ชื่อ : นกเค้าแมวพันธุ์มลายู
ชื่ออื่น ๆ : นกฮูกมลายู หรือ นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Buffy Fish Owl
ภาพนกเค้าแมวพันธุ์มลายู ( ที่มา https://i147.photobucket.com/albums/r302/pwyue/IMG_0448BuffyFish-Owl.jpg
https://2.bp.blogspot.com/__Dq5_ABpFrs/SYbZ0cNY2eI/AAAAAAAAGDQ/kjGEkC2YpIU/s400/20090113_Dave_
Hwa+Li1_Buffy+Fish+Owl_IMG_4829.jpg
นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนกทึดทือพันธุ์มลายูสี่ชนิด
ย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Ketupa ketupu aagaardi neumann โดยพบครั้งแรกที่จังหวัดนราธิวาส นกทึดทือ
พันธุ์มลายูนี้กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เหาะซุนดาใหญ่
ขนาด
เป็นนกขนาดกลาง (๔๙-๕๐ ซม.) ปีกสั้นกว่า ๔๐ ซม.
ลักษณะทั่วไป
ตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง ขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล มีลายสีจางกระจาย ลำตัว
ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว
แหล่งที่อยู่อาศัย
นกทึดทือพันธุ์มลายู อาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง ๘๐๐ เมตรจากระดับ
น้ำทะเล
บริเวณที่พบ
ส่วนใหญ่พบใกล้แหล่งน้ำ ลำธารในป่า และบริเวณใกล้ฝั่งทะเล ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวันและช่วงเย็น ซึ่งแตกต่าง
ไปจากนกทึดทือพันธุ์เหนือที่หากินในเวลากลางคืน
อาหาร
นกทืดทือพันธุ์มลายูกินปลา กบ ปู ค้างคาว นก และสัตว์เลื้อยคลาน
การสืบพันธุ์
ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ทำรังในโพรงไม้หรือใช้รังเก่าของนกอื่น นกทึดทือ
เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยนัก และมีจำนวนไม่มากนัก พบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตวันออกเฉียงใต้ แต่
จะพบบ่อยทางภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม
นกเค้าแมว
นกเค้าแมว หรือ นกฮูก เป็นนกที่หน้าตาคล้ายแมว ชอบจับสัตว์เล็กๆกิน คล้ายพวกเหยี่ยว แต่พวกเหยี่ยวหากินใน
เวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นหากินในเวลากลางคืน นกเค้าแมวจึงมีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน
นกเค้าแมวต้องหากินกลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวมาก ดวงตาหันไปข้างหน้า และหัวของมันหันไปได้รอบตัว หูของ
นกเค้าแมวก็ไวมากเป็นพิเศษ นกเค้าแมวมีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว ใครๆ มักจะกลัวนกเค้าแมวคล้าย
กับเด็กกลัวผี เพราะนอกจากมันจะหากินกลางคืนๆ แล้ว บางชนิดมีเสียงร้องคล้ายเสียงผีหรือเสียงแม่มดทำให้ยิ่งน่ากลัวมากขึ้น
ตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ โพรงรัง นกเค้าแมวมีอยู่ที่ไหนเรามักพบก้อนที่มันสำรอกคาย
ออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่าง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อน
ทิ้งที่หลัง ในประเทศไทยมีนกเค้าแมวถึง 19 ชนิด
นกเค้าแมวในประเทศไทย
นกแสก
นกแสกแดง
นกเค้าเหยี่ยว
นกเค้าหน้าผากขาว
นกเค้าแดง
นกเค้าภูเขาหูยาว
นกเค้าหูยาวเล็ก
นกเค้ากู่
นกเค้าแคระ
นกเค้าโมง
นกนี้มีขนาดเล็ก มีลายขาวๆ ขวางแทบทั่วตัว ชอบอยู่ในโพรงไม้ ตามต้นไม้ที่ร่มครึ้มในเมือง ร้องได้หลายทำนอง
ร้องเป็นครั้งคราวในเวลากลางคืนคล้ายกับจะบอกโมงยาม ใครๆ จึงเรียกว่านกเค้าโมง ชอบกินหนูตามบ้าน
จึงมีประโยชน์มาก
นกเค้าจุด
ขนาดเล็กมาก เป็นสีเทามีลายเป็นจุดขาวๆ ชอบอยู่ตามโพรงไม้และตามซอกหลังคาตึก ชอบกินแมลง กบ เขียด
และหนูตามบ้าน
นกเค้าป่าหลังจุด
นกเค้าป่าสีน้ำตาล
นกเค้าแมวหูสั้น
นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา
นกเค้าใหญ่สีคล้ำ
นกทึดทือพันธุ์เหนือ
ตัวใหญ่ มีขนคิ้วสูง ร้องเสียงดัง ” ฮูก ๆ ” บางคนจึงเรียกว่านกฮูก ชอบหากินปลา กบ เขียด ปู ตามริมน้ำ บึง หนอง
นกทึดทือมลายู
นกเค้าโมง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Asian Barred Owlet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glaucidium cuculoides
อาณาจักร : Animalia
ไฟลัม : Chordata
ชั้น : Aves
อันดับ : Strigiformes
วงศ์ : Strigidae
สกุล : Glaucidium
สปีชีส์ : G. cuculoides
สปีชีส์ย่อย : G. c. austerum (Ripley, 1948)
G. c. bruegeli (Parrot, 1908)
G. c. cuculoides (Vigors, 1831)
G. c. deignani (Ripley, 1948)
G. c. delacouri (Ripley, 1948)
G. c. persimile (Hartert, 1910)
G. c. rufescens (E. C. S. Baker, 1926)
G. c. whitelyi (Blyth, 1867)
ภาพนกเค้าโมง
( ที่มา https://mblog.manager.co.th/uploads/1807/images/normal_Asian-barred-Owlet.jpg,
https://www.op.mahidol.ac.th/oppe/pic_bird/image036.jpg
นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัว
เป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลาย
บนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบ
ได้ในประเทศไทย
นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อย
ทั้งสิ้น 8 ชนิด สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึง
สวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบ
เห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง
มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า นกเค้าโมง
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้
นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคระ
นกเค้าแมวพันธุ์มลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกทึดทือมลายู (Buffy Fish Owl) ที่โด่งดังจาก
เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ ก็เป็นนกหายากที่น่าสนใจ และควรอนุรักษ์ไว้อีกชนิดหนึ่งค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. นกเค้าแมว ชื่อว่าเฮดวิด ของแฮร์รี่ จากเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ เป็นนกเค้าแมวพันธุ์อะไร
2. นกเค้าแมวมลายูพบครั้งแรกที่ใด
3. นกเค้าแมวมลายูพบในประเทศไทยที่จังหวัดใด
4. นกเค้าแมวในประเทศไทยพบกี่ชนิด
5. นกเค้าแมวมลายูมีชื่ออื่นว่าอย่างไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องนกเค้าแมวเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์นกเค้าแมว
3. กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งที่อยู่ของนกเค้าแมว สวนสัตว์ หรือที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับนกเค้าแมว
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนนับจำนวนพันธุ์นกเค้าแมวในประเทศไทย
และทำสถิติว่าจังหวัดใด พบได้หลากหลายชนิดมากที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของนกเค้าแมว
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนลองประดิษฐ์สิ่งของรูปนกเค้าแมว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพนกเค้าแมว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของนกเค้าแมวชนิดต่าง ๆ
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/edu/87953
2. https://www.sarakadee.com/feature/2000/12/owl.htm
3. https://th.wikipedia.org/wiki/นกเค้าแมว
4. https://th.wikipedia.org/wiki/นกเค้าโมง
5. https://i147.photobucket.com/albums/r302/pwyue/IMG_0448BuffyFish-Owl.jpg
6. https://2.bp.blogspot.com/__Dq5_ABpFrs/SYbZ0cNY2eI/AAAAAAAAGDQ/kjGEkC2YpIU/s400/20090113_Dave_Hwa+Li1_Buffy+Fish+Owl_IMG_4829.jpg
7. https://mblog.manager.co.th/uploads/1807/images/normal_Asian-barred-Owlet.jpg
8. https://www.op.mahidol.ac.th/oppe/pic_bird/image036.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2699