ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย


1,599 ผู้ชม


ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลเสื่อมหนัก แค่ 40 วันพบ" โลมาสีชมพู " เสียชีวิตแล้วถึง 9 ตัว น่าห่วงเป็นอย่างมาก   

                         ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย   เร่งฟื้นฟูระบบนิเวศชายทะเลช่วย "  โลมาสีชมพู "  ด้วยค่ะ  ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
                                            
         กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นห่วง " โลมาสีชมพู " แค่ 40 วันพบเสียชีวิตแล้ว 9 ตัว ทั้งหมดเป็นโลมา
สีชมพู  เพศเมีย อายุ 15-20 ปี มีความยาวทั้งตัว 2.32 เมตร น้ำหนัก 120 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ตายเพราะระบบนิเวศ
ชายฝั่งมีสภาพเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง  เป็นเหตุให้โลมาป่วย ไม่สามารถหาอาหารได้ รวมทั้งมีการติดเชื้อ และบางส่วน
ติดอวนชาวประมงบาดเจ็บหนักก่อนเสียชีวิต โลมากลุ่มนี้น่าห่วงเป็นอย่างมาก   
( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/edu/89756 ) 
ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
        โลมาสีชมพูเป็นสัตว์ทะเลหายาก จะมีอายุประมาณ 50-60 ปี แรกเกิดจะมีสีเทา แต่เมื่อโตขึ้นผิวจะค่อย ๆ 
เปลี่ยนเป็นจางลง และเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป ผิวจะเริ่มกลายเป็นสีขาวอมชมพูซึ่งแสดงว่าอายุมาก ตัวเต็มวัยมีความ
ยาวถึง 2.3 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 150 - 200 กิโลกรัม จากผลของระบบนิเวศชายฝั่งเสื่อมอย่างหนักแบบนี้ 
น่าห่วงโลมาสีชมพูอย่างมากค่ะ เราทุกคนคงต้องร่วมมือกันฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งอย่างเร่งด่วนแล้วนะคะ เพื่อ
อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเลหายากรวมทั้งช่วยเหลือชีวิตของโลมาสีชมพู เหล่านี้ด้วยค่ะ 
                                                   ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย     มารู้จักโลมาสีชมพูกันนะคะ    ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
                                                           
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  2
    ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่าง
                             สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
                             และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ 
                             และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

เรื่อง   โลมาสีชมพู (Pink dolphins)

           ชื่อสามัญ  :  โลมาหลังโหนก
           ชื่อสามัญ :  Indo-Pacific humpback dolphin 
           ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Sousa chinensis
           วงศ์ :  DELPHINIDAE
           
           โลมาสีชมพูจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับวาฬ

        ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
          ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย ลักษณะของโลมาสีชมพู
          โลมาสีชมพูมมีสีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับอายุ หรือ ฝูง  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีเทาขาว  สีดำ และ สีชมพู  
ตัวอ่อนจะมีสีเข้มกว่าตัวเต็มวัย ยิ่งแก่เท่าไหร่สีผิวจะยิ่งเป็นสีชมพูมากขึ้น บริเวณผิวด้านล่างจะเป็นจุด ๆ และ
มีสีที่สว่างกว่าด้านบน
           ขนาด
           มีขนาดประมาณ  2.2-2.8 เมตร ตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย หนักประมาณ 150-230 กิโลกรัม 
ตัวอ่อนมีขนาดตัวประมาณ 1 เมตร  
           ช่วงอายุ
           อายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี 
          ทำไมโลมามีสีชมพู
           สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลเม็ดสี แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของ
ร่างกายสูงเกินไป
           บริเวณที่อยู่
           ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง หรือบริเวณที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร ชายฝั่งทะเลนั้นจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วย
เสมอแต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น ชอบอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจาก
ชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร 
           ลักษณะการดำรงชีวิต
           มักอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ
 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ  บางครั้งมีพฤติกรรมดุร้าย โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ล่าเข้ามา
           อาหาร
           ชอบกิน ปลาเล็ก ปลาหมึก และสัตว์พวกกุ้ง เคย ปู เป็นต้น  เมื่อออกหาอาหาร จะใช้สัญญาณเอคโค และ
ออกล่าเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่ม แต่โลมาสีชมพูก็จะดุร้ายได้เหมือนกัน และจะต้องการแยกตัวเอง
ออกไปพอสมควรจากตัวอื่นเมื่อต้องการหาอาหาร หรือต้องกินอาหาร
           แหล่งที่พบ
           ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้  
        
        ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม 
        
         โลมา  :  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใต้ท้องทะเล 
         อันดับ  :  Cetacea 
         อันดับย่อย :  Odontoceti 
         วงศ์  :  Delphinidae and Platanistoidea

     ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
          
        สายพันธุ์โลมาในประเทศไทย
        แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
        1. โลมาปากขวด
        2. โลมาริชโซส์
        3. โลมาอิรวดี
        4. โลมาหลังโหนก

        1. โลมาปากขวด
             โลมาปากขวดเป็นปลาโลมาที่มีขนาดกลาง  ร่างกายกำยำ  มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ  ตัวโตเต็มวัยมี
ความยาว 2- 3.8 เมตร  น้ำหนัก  220 – 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย  242 กิโลกรัม)  มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะ
ทางภูมิศาสตร์ขนาดของร่างกายดูจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงอย่างตรงกันข้ามกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วน
ของโลก มีสีเทาสว่างถึงสีดำในส่วนหน้าและมีสีสว่างในช่วงท้อง
             โลมาปากขวดมีขนาดที่แตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย พบได้บริเวณใกล้ชายฝั่งในเขตร้อน  มีแหล่งที่อยู่ที่
กว้างขวางทั่วไป  พบได้ตามชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกล
ตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ 

        ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
                                                                                                       ภาพโลมาปากขวด
                                   (ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/1/14/Dolphin_01.jpg https://pirun.ku.ac.th/~b4915014/loma3.jpg )

       
   2. โลมาริชโซส์
               โลมาริซโซส์ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่  5 ของตระกูล ซึ่งตัวเต็มวัยมีขนาด ประมาณ 4 เมตร ทั้งเพศผู้และ
เพศเมีย  ร่างกายส่วนหน้ามีความแข็งแรงอย่างมาก  ครีบส่วนหน้าเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย
ส่วนหัวมีรูปร่างแบบกระเปาะ  และมีรอยย่นในแนวตรงยาวในพื้นที่ส่วนหน้า  สีเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น  ช่วงอายุ
ไม่มากมีสีเทาถึงน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีสีดำ  และเริ่มมีสีสว่างขึ้นขณะที่เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย  
              โลมาริซโซส์อาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึก และที่ลาดเอียงอย่างต่อเนื่องที่ระดับความลึก  400 – 1000 เมตร 
และพบบ่อยที่ปากแม่น้ำ บางครั้งอาจพบอยู่บนผิวน้ำ  
         
 3. โลมาอิรวดี
               โลมาอิรวดี  มีลักษณะคล้ายกับ  ปลาวาฬ Delphinapterus  leucas  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬ
 นักล่า  Orcinus  orca  หัวของปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะกว้าง  ไม่มีรอยหยัก  ครีบหน้าเล็ก  ครีบบนหลังเป็นรูป
 สามเหลี่ยมโค้งมน  ขนาดไม่ใหญ่นัก  มีสีเทาดำ  ถึงสีเทาสว่าง  ลำตัวมีความยาวประมาณ  275 เซนติเมตร  
 แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว  210 เซนติเมตร  มีน้ำหนักประมาณ  115 – 130 กิโลกรัม 
              โลมาอิรวดีพบได้ตามชายฝั่ง  น้ำตื้น  น้ำเค็ม  และบริเวณปากแม่น้ำ ชอบอยู่ตามแนวชายฝั่งมากว่า  
บริเวณปากแม่น้ำ  น้ำเค็ม  ไม่สามารถพบปลาโลมาอิรวดี  ในบริเวณไม่ปลอดภัยนอกชายฝั่ง  ซึ่งพบได้ระยะที่ไม่ไกล

จากชายฝั่งนัก  

 ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
          ภาพ
โลมาอิรวดี( ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/d/dc/Orcaella_brevirostrisx.jpg/243px-Orcaella_brevirostrisx.jpg )
                                                       
https://www.onopen.com/upload/Irrawaddy_2_resize_resize.jpg
          4. โลมาหลังโหนก หรือ โลมาสีชมพู (เพิ่มเติม)
              โลมาหลังโหนกมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาโลมาปากขวดทั่วไป  ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย ๆ 
โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง   บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัว
ทีเดียว   ในทะเลเราสามารถสังเกตปลาโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาวบนหลังครีบเป็นโหนก
แต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้ ๆ มัน  
             โลมาหลังโหนกมีขนาดปกติปลาโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว 2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200 กิโลกรัม 
ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม กินปลาเป็นหลัก การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ 
ไม่ชอบเล่นคลื่น   บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น แต่ชอบเล่นในอากาศ เช่น ตีน้ำด้วยหาง หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ 
ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ แม้จะเป็นโลมา ที่ระแวดระวังเรือ แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะ
พวกโลมาปากขวด โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเล
เขตร้อน ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน 20 เมตร 
           โลมาหลังโหนกพบได้ทั่วไป ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้ จึงได้ชื่อสามัญว่า
 Indo-Pacific humpback dolphin  เป็นที่น่าสังเกต โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู 
 จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสีจางที่สุด

 ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
                                                                                ภาพโลมาสีชมพู 
                                   (ที่มา   https://img1.eyefetch.com/p/gm/988863-5597c0ea-f6f2-4ba8-973f-58c27a1566ffl.jpg  )
                                                                  https://a-z-animals.com/images/animals/river_dolphin8_large.jpg  

      ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย   ดังนั้นถึงเวลาแล้วนะคะที่เราทุกคนโดยเฉพาะผู้รับผิดชอบต้องรีบฟื้นฟูระบบนิเวศ ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย
  ชายฝั่งทะเลอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือ " โลมาสีชมพู " ที่น่าสงสาร รวมทั้งสัตว์ทะเลอื่น ๆ
 ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความสุขภาย
ใต้ท้องทะเลไทยค่ะ

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. โลมาสีชมพูจัดเป็นสัตว์ประเภทใด
        2. โลมาสีชมพูมีอีกชื่อหนึ่งว่าอย่างไร
        3. สายพันธุ์โลมาในประเทศไทยมีกี่ชนิด
        4. ทำไมโลมาจึงมีสีชมพู
        5. โลมาสีชมพูมีช่วงอายุเฉลี่ยเท่าใด
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องโลมาสีชมพูเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์โลมาสีชมพู และสัตว์ทะเลหายากอื่น ๆ 
       3. กิจกรรมทัศนศึกษาชมชีวิต "โลมาสีชมพู " และโลมาพันธุ์อื่น ๆ

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย        นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับโลมาสีชมพู  
       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์      นักเรียนนับจำนวนจังหวัดที่พบโลมาสีชมพู 
                                                            และทำสถิติจังหวัดใดพบมากที่สุด                                                   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ  นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของโลมาสีชมพู
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ตุ๊กตาปลาโลมา
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ              นักเรียนวาดภาพโลมาสีชมพู
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของโลมาพันธุ์ต่าง ๆ 
       

ชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วยชายฝั่งทะเลเสื่อมหนักช่วย " โลมาสีชมพู " ด้วย  ขอขอบคุณ                               
 แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
     
 1. 
https://www.thairath.co.th/content/edu/89756
       2. https://www.biotec.or.th/brt/index.php?option=com_content&view=article&id=170:qpinky-dolphinq- hero-of-khanome-&catid=60:kanom&Itemid=67
       3. https://std.kku.ac.th/4831800782/dolphin_files/Page1330.htm
       4. https://std.kku.ac.th/4831800782/dolphin_files/Page385.htm
       5. https://std.kku.ac.th/4831800782/dolphin_files/Page1330.htm
       6. https://std.kku.ac.th/4831800782/dolphin_files/Page1148.htm
       7. https://th.wikipedia.org/wiki/โลมา
       8. https://www.singaporeair.com/saa/en_UK/images/promotions/eot/sing_stopover/SSH/
       9. https://packphour.files.wordpress.com/2009/03/pink_dolphin_1358282c.jpg
      10.https://www.newlaunches.com/entry_images/0309/03/pink_dolphin-thumb-450x301.jpg
      11.https://images.travelpod.com/users/grahamnalex/martinique-rio.1114968900.pink_dolphins_2.jpg
      12.https://travel.latimes.com/daily-deal-blog/wp-content/uploads/2009/10/chinesewhitedolphin.jpg
insidepages/dolphin.jpg

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2756

อัพเดทล่าสุด