เส้นผม.....ปมมหัศจรรย์ (ตอนที่ 2 คลายปมผมหงอก)


735 ผู้ชม


มารู้ถึงสาเหตุของการเกิดผมหงอกของคนเรากันดีกว่านะคะ บางทีเราอาจป้องกันได้   

เส้นผม.....ปมมหัศจรรย์ (ตอนที่ 2 คลายปมผมหงอก)          จากตอนที่ 1  เราได้เรียนรู้จักเส้นผม โครงสร้างของเส้นผมและวัฏจักรของเส้นผมกันไปแล้ว  คราวนี้เรามาดูกันว่าผมหงอกมีกี่แบบ และมีสาเหตุจากอะไรกันบ้างนะคะ

          เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ระดับชั้น ป.6 - ม.3 
          สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
          มาตรฐาน ว 1. 1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ภาพจาก https://www.talad2you.com/gallery/71313_1.jpg

          โดยปกติแล้วหนังศีรษะของเราจะมีต่อมผมประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 ต่อม ซึ่งพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดจำนวน ชนิด และสีของเส้นผม ปกติหนังศีรษะของคนเรามีเลือดมาเลี้ยงมากและทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย ดังนั้นหน้าที่หลักของเส้นผม คือ ป้องกันผิวหนัง หรือศีรษะไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป 
การหงอกของเส้นผมมี  2  แบบ  คือ
          1. เส้นผมที่หงอกโดยธรรมชาติ
          2. เส้นผมที่หงอกก่อนวัยอันควร
          1. เส้นผมที่หงอกโดยธรรมชาติ มีสาเหตุมาจากการที่เซลล์มิวเคอร์ (mucor) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตสารสีดำในร่างกายเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถสร้างสารสีดำได้ จึงทำให้เกิดผมหงอก และเซลล์นี้จะเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เราจึงสังเกตได้ว่ามักจะเกิดผมหงอกกับผู้ที่เข้าสู่วัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุเท่านั้น ผมหงอกจะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในวัยเด็กหรือผู้ที่อายุยังน้อยอยู่  
          2. ในบางครั้งเราก็สามารถพบผมหงอกในผู้ที่อายุยังน้อย ซึ่งเรียกว่า ผมหงอกก่อนวัย ทั้งนี้เกิดจากการที่ผมชั้นคอร์เท็กซ์ (cortex) ไม่สามารถสร้างเซลล์ที่คอยผลิตเม็ดสีได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เม็ดสีผมในร่างกายค่อยๆ ลดจำนวนลงไปทีละน้อยๆ จนทำให้ผมหงอกในที่สุด
          นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ กินอาหารและยาบางชนิด ความเครียด  กรรมพันธุ์ โรคที่แฝงอยู่ในตัวคุณได้ด้วย เช่น โรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง โรคซีด โรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โรคกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งในผู้ชายมักจะเกิดผมหงอกหงอกบริเวณขมับและเหนือจอนก่อน ส่วนผู้หญิงเริ่มจากบริเวณรอบๆ แนวไรผม โดยเริ่มจากปลายผมแล้วค่อยๆ ลามไปที่โคนผม

          แล้วเราจะสามารถยับยั้งการเกิดผมหงอกได้หรือไม่  ตอบได้ง่ายๆ นะคะว่าหากผมหงอกเกิดขึ้นโดยธรรมชาติการเสื่อมไปของเซลล์ ก็คงต้องปล่อยให้มันเกิดขึ้น เพราะตอนนี้ยังไม่มียามาระงับการเสื่อมสภาพของเซลล์ผมได้ แต่หากเป็นผมที่หงอกก่อนวัย ก็พอมีวิธีทางธรรมชาติมาช่วยได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ช่วยต่อต้านการหงอกก่อนวัยได้ค่ะ

เส้นผม.....ปมมหัศจรรย์ (ตอนที่ 2 คลายปมผมหงอก)
ภาพจาก https://www.showded.com/users/hana/journal_files/f2ca0e45f5d8ff8573943ee1bb631bed.jpg


มาทำความรู้จักกับแร่ธาตุและวิตามินต้านผมหงอกก่อนวัยกันเถอะ
          1. ทองแดง พบมากในถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา เมล็ดทานตะวัน ลูกเกด ลูกพลับ กล้วยตาก แครอท หัวไชเท้า เผือก มัน ผลไม้สดทุกชนิด
          2. ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเลทุกชนิด และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือไอโอดีน 
          3. เหล็ก มีมากในปลา ลูกเกด ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักพื้นบ้าน เช่น มะเขือพวง ใบชะพลู ผักโขมหนาม และผักกูด
          4. กรดโฟลิก พบมากในถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักบุ้ง กวางตุ้ง แครอท ฟักทอง ไข่แดง และตับ
          5. กรดแพนโทเทนิก หรือวิตามินบี 5 พบมากในข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด แอ๊ปเปิ้ล 
          6. พาบา อยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินเทียมที่ละลายในน้ำ พบมากในจมูกข้าวสาลี ข้าวกล้อง โยเกิร์ต และผักใบเขียว   
          7. ไบโอติน เป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีคอมเพล็กซ์ พบมากในอาหารจำพวกถั่วเหลือง และซีเรียล


สนุกคิดกับวิทยาศาสตร์

          มีผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติชนิดใดบ้างที่ช่วยต้านผมหงอกก่อนวัยได้
                  
ลองทำดู

           สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสูตรอาหารและสารอาหารที่ช่วยต้านผมหงอกก่อนวัยอันควร

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

          กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี - อาหารต้านผมหงอกก่อนวัย

ที่มา 
          1. https://www.elib-online.com/doctors46/dermato_hair001.html
          2. https://www.yourhealthyguide.com/article/an-vitamin-silver-gray.html

ภาพจาก 
          1. https://www.talad2you.com/gallery/71313_1.jpg
          2. https://www.showded.com/users/hana/journal_files/f2ca0e45f5d8ff8573943ee1bb631bed.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2818

อัพเดทล่าสุด