พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก


1,753 ผู้ชม


พายุเฮอร์ริเคน เป็นพายุที่เรียกว่า " พายุหมุนเขตร้อน " ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิด ได้แก่ พายุไซโคลน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว มารู้จักพายุกันนะคะ   

                     พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก    พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์  " หรือ พายุหมุนเขตร้อน  พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก

        จากอิทธิพลของพายุเฮอร์ริเคน" อเล็กซ์  " ทำให้ฝนตกหนักตลอดแนวพรมแดนรัฐเท็กซัส 
และประเทศเม็กซิโก ส่งผลให้ระดับน้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่ ต้องสั่งปิดสะพานระหว่างชายแดน และ
อพยพประชาชนออกจากพื้นที่อันตรายกว่า 18,000 คน บริเวณเมืองซิอูดาด อานาฮูอาค หลังเปิด
ประตูระบายน้ำออกจากเขื่อน เบนูสติอาโน คาร์รันซา  บ้านเรือนในเมืองโรดิเกซ ริมแม่น้ำซาลาโด 
พังเสียหายแล้ว 1,500 หลัง นอกจากนี้บ้านเรือนทางตอนเหนือของเม็กซิโกได้รับความเสียหาย
จากเหตุน้ำท่วมมากถึง 10,000 หลังคาเรือน ประชาชนกว่า 40,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย
(ที่มาไทยรัฐออนไลน์   https://www.thairath.co.th/content/oversea/94728 )
พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกพายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกพายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก
                                                        ภาพพายุเฮอร์ริเคน

       พายุเฮอร์ริเคนอเล็กซ์ เป็นพายุเฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนที่มา
ทางพรมแดนเท็กซัส-เม็กซิโก ก่อให้เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมสูง สร้างความเสียหายเป็นบริเวณ
กว้างในหลายพื้นที่  พายุเฮอร์ริเคน พายุไซโคลน  ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว จัดเป็นพายุชนิดเดียวกัน
ที่เรียกว่า " พายุหมุนเขตร้อน " ซึ่งเรียกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิดเท่านั้น  มารู้จักพายุเฮอร์ริเคนกันนะคะ

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก 
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เรื่อง  พายุเฮอร์ริเคน (hurricane)

          พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) พายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก 
เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
บริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก    พายุเฮอร์ริเคน

          พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นพายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone)  ที่เกิดในชายฝั่งตะวันตก
ของมหาสมุทรแอตแลนติก   
       
          พายุหมุนเขตร้อน
          พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว และพายุหมุนเขตร้อนคือพายุชนิดเดียวกัน
แต่มีชื่อเรียกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิดเท่านั้น ชื่อเรียกกลางคือ " พายุหมุนเขตร้อน" (Tropical cyclone)
          เกิดในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane) 
          เกิดในอ่าวเบงกอลและ มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า ไซโคลน (cyclone) 
          เกิดแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี-วิลลี (Willy-willy) 
          เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon) 
          เกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio) 

พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก  พายุหมุนเขตร้อน 
                   
          พายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง และเป็นบริเวณ
กว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมี
เมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและ
พายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง
          ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส 
เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
และอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุน
มาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก
         ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน
         พายุหมุนเขตร้อนเริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล 
ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการหมุนเวียนของลม 
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบ
หมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ลมพัดเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ พายุหมุนในแต่ละช่วง
ของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม ความเร็วลมในระบบ
หมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ 
         ในขณะเป็นพายุดีเปรสชั่นความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าไม่เกิน 33 นอต ในขณะที่เป็น
พายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าอยู่ระหว่าง 34 – 63 นอต และในขณะเป็นพายุหมุนเขตร้อน
หรือไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป ดังนั้นสามารถแบ่งชนิดของพายุเขตร้อน 
ได้ดังนี้
         1. ดีเปรสชั่น (Depression) สัญลักษณ์ D ความเร็วสูงสุด 33 นอต (17 เมตร/วินาที) (62 กิโลเมตร
/ชั่วโมง)ไม่นับเป็นพายุหมุน 
         2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) สัญลักษณ์ S ความเร็วสูงสุด 34-63 นอต (17-32 เมตร/วินาที)
(63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ไม่นับเป็นพายุหมุน 
         3. พายุหมุนเขตร้อน ความเร็วสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) 
นับเป็นพายุหมุน

  พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกข้อมูลเพิ่มเติม        
         พายุ
         พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และ
บ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ 
ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ 
และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่า
ครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรง
แผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
        ประเภทของพายุ
         พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้  3  ประเภท คือ
        1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิด
จากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ 
อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด 

พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก  ฟ้าแดงก่อนเกิดพายุ
        2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน 
และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และ
หากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด  ดังนี้
        พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก 
เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ
ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก 
        พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณ
ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น 
        พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล 
ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย 
จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy) 
        พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล 
และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง 
        พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ธรรมดาหรือฝนตกหนัก 
        3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่า
ศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหาย
ได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) 
บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง 
จึงเรียกกันว่า ลมงวง 

พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก  พายุทอร์นาโด (tornado)
        ลมสลาตัน เป็นชื่อใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุ
ต่าง ๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น
         
         พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก  พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์  " จัดเป็นพายุเฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก
ที่เราเรียกว่า พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งปกติจะเกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก ค่ะ

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1.  พายุเฮอร์ริเคน คืออะไร
        2.  พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์  " ก่อตัวที่ใด
        3.  พายุหมุนเขตร้อน มีชื่อเรียกอย่างไรบ้าง
        4.  ตาพายุ  คืออะไร
        5.  พายุไต้ฝุ่น (typhoon) คืออะไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอบริเวณที่เกิดของพายุเฮอร์ริเคน และพายุประเภทต่าง ๆ

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย       นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    ทำสถิติว่าประเทศใดบ้างมีการเกิดพายุเฮอร์ริเคนมากที่สุด                                       
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิอากาศแบบใดที่ก่อให้เกิดพายุ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนประดิษฐ์ร่มจากวัสดุธรรมชาติ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ             นักเรียนวาดภาพการก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคน
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของาพายุประเภทต่าง ๆ 
พายุเฮอร์ริเคน " อเล็กซ์ " เฮอร์ริเคนลูกแรกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก  ภาพฟ้าใส(หัวใจ 1 ดวง)

ขอขอบคุณ                               
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1. 
https://www.thairath.co.th/content/oversea/94728
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/พายุ
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/พายุหมุนเขตร้อน
      4. https://www.oknation.net/blog/MPA15/2008/05/12/entry-1
      5.
https://mblog.manager.co.th/uploads/88/images/st1-americanfamilysafety.jpg
      6. https://www.dailynews.co.th/content/images/0908/31/herikan.jpg
      7. https://cimss.ssec.wisc.edu/satmet/modules/wild_weather/images/HurricaneIsabel_big.jpeg
      8. https://paow007.files.wordpress.com/2009/09/storm-chaser4.jpg
      9. https://www.vcharkarn.com/varticle/39599
    10. https://mninho.files.wordpress.com/2009/06/cloudcolorstm8.jpg
    11 .https://mblog.manager.co.th/uploads/97/images/rukruk.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2884

อัพเดทล่าสุด