" ละมั่ง (Eld's Deer) " ทูตแห่งมิตรภาพ


1,124 ผู้ชม


ละอง, ละมั่งพันธุ์พม่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Eld's Deer) ภาษาพม่า เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "ทมิน"   


        " ละมั่ง (Eld   " ละมั่ง...พันธุ์พม่า "  ทูตมิตรภาพระหว่างไทย - พม่า  " ละมั่ง (Eld
                           
         เนื่องจากรัฐบาลพม่าสร้างเมืองหลวงใหม่และได้พัฒนาสวนสัตว์โดยใช้ชื่อว่า สวนสัตว์เนปิดอว์ 
 ทางพลเอกตันฉ่วย ซึ่งเป็นผู้ที่รักสัตว์อย่างมาก และอยากให้ประชาชนชาวพม่าได้ชื่นชม นกเพนกวิน
 รัฐบาลไทย โดย องค์การสวนสัตว์ จึงได้จัดส่งไปเป็นของขวัญในวันเปิดสวนสัตว์เมื่อวันที่ 26 มี.ค.51
 ยังความปลาบปลื้มดีใจแก่ผู้นำตันฉ่วย และประชาชนชาวพม่าเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ก.ค.53 
 ที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าได้มอบ ละมั่งพันธุ์พม่า จำนวน 2 คู่ และ เต่าดาวพม่า อีกจำนวน 5 คู่ ให้คนไทย
 ได้ชื่นชมเช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่า...เป็นทูตแห่งมิตรภาพระหว่างไทย-พม่า

  ( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/edu/100717 ) 

                              " ละมั่ง (Eld
                                                        ภาพ ละมั่ง 
        ละอง, ละมั่งพันธุ์พม่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภาษาพม่า เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "ทมิน" มีสีขนตาม
ตัวเข้มกว่าละมั่งสายพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และ ส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขา
ยื่นขึ้นมาบริเวณตัวลำเขา คำว่าละอง ใช้เรียก ตัวผู้  ละมั่ง คือ ตัวเมีย ถิ่นอาศัยการกระจายในแถบ 
ตะวันออกเฉียงเหนือของ อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ เกาะไหหลำ ของประเทศจีน ไม่พบ 
ในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องดีมากที่พม่าส่งมาให้เราคนไทยได้ชื่นชมและศึกษากันค่ะ 
                                                 

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  
                               ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
                               และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน
                              ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                              และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

เรื่อง   ละมั่ง...พันธุ์พม่า
           
            ชื่ออังกฤษ  : Burmese Brow-Antlered Deer (Eld's Deer)
             ชื่อทางวิทยาศาสตร์  :  Cervus eldi thamin 
             ชื่อภาษาพม่า  :   ทมิน   
            อาณาจักร        :  Animalia 
            ไฟลัม      :   Chordata 
            ชั้น    :   Mammalia 
            อันดับ :  Artiodactyla 
            วงศ์    :  Cervidae 
            สถานภาพการคุ้มครอง ไซเตส : บัญชีหมายเลข 1
            สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : เสี่ยงสูญพันธุ์

             " ละมั่ง (Eld

                                                           ภาพ ละมั่งพันธุ์พม่า 

           ลักษณะทั่วไป                          
           มีสีขนตามตัวเข้มกว่าละมั่งสายพันธุ์ไทย ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และ ส่วนใหญ่
จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณตัวลำเขา  
           ละองกับละมั่ง    
           ละองและละมั่งเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน ละอง คือตัวผู้ ละมั่งคือตัวเมีย                   
           ถิ่นที่อยู่
           กระจายในแถบ ตะวันออกเฉียงเหนือของ อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ 
เกาะไหหลำ ของประเทศจีน ไม่พบ ในประเทศไทย ตลอดจนแหลมมลายู 
           อาหาร           
           การกินอาหารของละมั่งคล้ายกับพวกวัว ควาย ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่างๆตามพื้นทุ่งโล่ง
หรือป่าโปร่ง แต่ไม่ค่อยชอบกินใบไม้
           แหล่งที่พบ
           พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในอดีตละมั่งชุกชุมทั่วไป มีรายงานพบฝูงละมั่งขนาดใหญ่ 
จำนวนถึง 50 ตัว แต่ปัจจุบันพบละมั่งอยู่ ตัวเดียวหรือฝูงเล็กๆ ตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง หรือ  ป่าทุ่งใกล้ ๆ 
หนองน้ำ ในตอนกลางวันที่อากาศร้อนจะหลบร้อนไปอยู่ตามใต้ร่มไม้ ชายป่า ตัวผู้ขี้ร้อนมักจะลงนอน
แช่ปลักโคลนตามหนองน้ำ อย่างพวกควาย           
          ลักษณะเด่น
          เขาบนหัวละมั่ง...มีกิ่งปลายแหลมยื่นมาข้างหน้า อีกทั้งปลายลำเขาที่โค้งงอมาด้านหน้า และ
 แตกปลายออกเป็นแขนงกิ่งเล็ก ๆ 
          การสืบพันธุ์ 
          ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ละมั่งตั้งท้องนานราว 220 ถึง 240 วัน ออกลูก
ครั้งละตัว ลูกกวางแรกเกิดมีลายจุดทั่วตัว เมื่อโตขึ้น จุดบนลำตัวค่อยจางไป หย่านมเมื่ออายุได้ 7 เดือน 
เมื่ออายุ 18 เดือนก็เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ละองและละมั่ง  มีอายุขัยราว 10 ปี
          สถานภาพปัจจุบัน 
         ไอยูซีเอ็น จัดสถานภาพประชากรของละองและละมั่ง ไว้ในระดับเสี่ยงสูญพันธุ์ และ ไซเตส 
 Cites จัดให้อยู่ใน บัญชีหมายเลข 1
                          
         " ละมั่ง (Eld  ข้อมูลเพิ่มเติม 

          ละมั่ง  

               " ละมั่ง (Eld

                                                       ภาพละมั่งพันธุ์ไทย

                  เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่
1.2-1.3 เมตร น้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาว
ตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด 
ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ 
ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขา
ไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่น ๆ

           อุปนิสัย 
           ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินใบหญ้า 
ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ละอง ละมั่ง
ผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

           ที่อยู่อาศัย 
           ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง

           เขตแพร่กระจาย 
           ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ 
ในประเทศไทย อาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา

           สถานภาพ 
           มีรายงานพบเพียง ๓ ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่ง
จัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix

           สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ 
           ปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง 
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับ
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

         " ละมั่ง (Eld  สำหรับ "ละมั้ง" เป็นกวางขนาดกลาง เล็กกว่ากวางป่า เป็นกวางที่รูปร่างสวยงามมาก และ " ละมั่ง (Eld
ถือว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย  การที่พม่ามอบละมั่งพันธุ์พม่า ให้แก่ไทยจึงถือว่า "ละมั่ง"  เป็น
ทูตมิตรภาพระหว่างประเทศ ของไทยและพม่าได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ "

                       " ละมั่ง (Eld
                                                  ภาพละมั่ง

         
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. ละมั่งพันธุ์พม่า เป็นสัตว์ประเภทใด
        2. ละมั่งพันธุ์พม่ามีชื่อเรียกภาษาพม่าว่าอย่างไร
        3. ละองกับละมั่ง แตกต่างกันอย่างไร
        4. ลักษณะเด่นของละมั่งคืออะไร
        5. กวางเกี่ยวข้องกับละมั่งอย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

      1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องละมั่งพันธุ์พม่า เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสงวน 
       3. กิจกรรมทัศนศึกษาชม "ชีวิตละมั่งพม่า " ที่สวนสัตว์ต่าง ๆ ในประเทศไทย

การบูรณาการ

      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย        นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับละมั่งพม่า
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    ทำสถิติจังหวัดที่พบละมั่งในประเทศไทย                                                    
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ  นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของละมั่งพม่า    
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ตุ๊กตาละมั่งพม่า
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ              นักเรียนวาดภาพละมั่งพม่า
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์ของละมั่งพม่า
           

           " ละมั่ง (Eld


" ละมั่ง (Eld" ละมั่ง (Eld  ขอขอบคุณ                               
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1. 
https://www.thairath.co.th/content/edu/100717
      2. https://www.moohin.com/animals/mammals-47.shtml
      3. https://www.verdantplanet.org/animalfiles/eldsdeer_(Cervus_eldii).php
      4. https://www.pahdongdoy.com/season_all/aninmalsave/pagebody/Cervus_eldi.asp
      5. https://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=14971.0
      6. https://pirun.ku.ac.th/~b4803021/23601.jpg
      7. https://www.dek-d.com/404.html
      8. https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=babbbirdbird&month=07-05-2006&group=2&gblog=10

                                                        '
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3022

อัพเดทล่าสุด