คนขาดเพื่อน..เหมือนสูบบุหรี่


976 ผู้ชม


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน...แต่ถ้ามนุษย์แยกตัวออก ขาดเพื่อน..จะเกิดอะไรขึ้น   

 

  *****ระบบขัดข้องเปลี่ยนภาพไอคอนไม่ได้ ขออภัยทุกท่านด้วยนะค่ะ*****__****

   นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบริกแฮม ยัง ของสหรัฐฯคำนวณออกมาได้ว่า   ผู้ที่ขาดเพื่อนมีโอกาสที่จะอยู่รอดชีวิตอยู่ได้แค่พอๆกับผู้ที่สูบบุหรี่มากวันละ 15 มวน หรือคนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเท่านั้น ข้อมูลที่ได้จากการศึกษากับนักศึกษา  150  คน
      หัวหน้าคณะวิจัย จูเลียน โฮล์ต ลันสตัด ได้บอกแนะนำว่า   หนทางที่จะเอาเพื่อนฝูงมิตรสหายและครอบครัวช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่มีหลายทางด้วยกัน"   ผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับหมู่คณะ และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อคนอื่น ความรู้สึกมีเป้าหมายและความหมายจะช่วยแปลงให้เกิดความรู้สึก หันมาดูแลตนเองและเลิกทำเรื่องเสี่ยงต่างๆลง.

ขอบคุณข่าวดีๆๆจากไทยรัฐออนไลน์ค่ะ เข้าถึงข้อมูลได้ที่ https://www.thairath.co.th/content/edu/100023

การขาดเพื่อนจะร้ายแรงขนาดไหนต้องติดตามพิษของบุหรี่ก่อนนะค่ะ

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ว 1.1  : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง และดูแลสิ่งมีชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การทำงานของเซลล์ประสาท

                              คนขาดเพื่อน..เหมือนสูบบุหรี่

                          ภาพบุหรี่จาก : https://www.sahavicha.com/readme.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=473

บุหรี่  มีอันตรายต่อสุขภาพอย่างมากมายตามที่เราได้รับรู้จากหนังสือ สื่อต่างๆ ในวันนี้ครูจะเล่าถึงผลกระทบของบุหรี่ต่อสมองค่ะ  

ส่วนประกอบที่สำคัญของบุหรี่คือนิโคติน (Nicotine) เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่ง ไม่มีสี ซึ่งพบในต้นยาสูบทุกสายพันธุ์ และความเข้มข้นจะมีมากในใบยาสูบมากกว่าส่วนอื่นๆ เมื่อนำใบยาสูบมาตากแห้งแล้ว จะมีนิโคตินประกอบอยู่ 0.3-5% ของน้ำหนักทั้งหมด ปฏิกิริยาทางชีวเคมีจะเกิดขึ้นที่รากของต้น และเปลี่ยนมาสะสมที่ใบ นิโคตินมีฤทธิ์เป็นพิษกับระบบประสาท และถือเป็นยาฆ่าแมลงอย่างหนึ่ง แต่ถ้าได้รับในจำนวนไม่มาก จะก่อให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่ถ้าได้รับในจำนวนมาก อาจจะถึงตายได้ โดยเมื่อได้รับมากถึงจำนวนหนึ่ง จะเปลี่ยนจากการกระตุ้นสมองเป็นการกดสมอง

สารนิโคติน ยังสามารถพบได้ในพืชจำพวกอื่นอีกคือ พืชตระกูล Solanaceae (nightshade) ได้แก่ มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, มะเขือม่วง, พริกไทยเขียว และในใบของต้น Coca แต่พบว่ามีจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนัก (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99)

ลกระทบที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของนิโคตินคืออาการเสพติด ซึ่งงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่นิโคตินไปกระตุ้นวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ  ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลของนิโคตินต่อการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทโดปามีน(Dopamine) ซึ่งเกี่ยวข้องกับวงจรประสาทดังกล่าว ทำให้เกิดการกดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้) (https://www.wing2.rtaf.mi.th/W2DATA/hostpital/tobacco.html)

คำถามสู่การอภิปราย

1. แม้จะรู้ว่าบุหรี่มีโทษแต่ทำไมคนถึงชอบสูบบุหรี่(คำถามเชิงเปิด)
2. ในบุหรี่มีส่วนประกอบใดบ้าง
3. บุหรี่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทอย่างไร

 โดปามีน (dopamine) เป็นสารเคมีที่พบตามธรรมชาติในร่างกายซึ่งสังเคราะห์โดยเนื้อเยื่อประสาทและต่อมหมวกไตเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที้เป็นทั้งสารสื่อประสาทและฮอล์โมน นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นของการสังเครา์ะห์ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine หรือ noradrenaline) และ เอพิเนฟริน (epinephrine หรือ adrenaline)

 

          โคปามีน (dopamine) ในสมองที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทจะกระตุ้นโดปามีนรีเซปเตอร์ (dopamine recetor) ในระบบประสาทซิมพาเทติค (sympathetic nervous system) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โคปามีนยังมีบทบาทเป็นฮอร์โมนที่หลั่งโดยไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เพื่อยับยั้งการหลั่่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมพิทุอิทารี่ส่วนหน้า (anterior lobe of the pituitary) แต่เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (growth hormone)

 

          บทบาทของโดปามีน (dopamine) จะทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ การเรียบเรียงความนึกคิด การทำหน้าที่ของสมองในกาีรควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้ามีการเสียสมดุลระหว่างแอซิติลโคลีน (acetylcholine) กับ โดปามีน (dopamine) จะทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง เนื่องจากการขาดสารโดปามีน (dopamine) ในสมองเพราะมีการเสื่อมและตายของเซลล์สมองในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน

 

ภาพการสังเคราะห์สารสื่อประสาทกลุ่มแคททีโดลามีน (The catecholamines)https://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch1/chapter1/link11.html

ความรู้สู่บูรณาการ
วิชาสุขศึกษา

กิจกรรมเพิ่มเติม
ให้นักเรียนศึกษาวิธีการเลิกบุหรี่

ความรักความอบอุ่นในครอบครัวและมิตรภาพของเพื่อน จะช่วยเยียวยาผู้ติดบุหรี่และสุรา และยังทำให้เราใส่ใจบุคคลรอบข้างมากขึ้น ทำให้มีกำลังใจและความหวังในการใช้ชีวิตนะค่ะ

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/content/edu/100023
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%
             95%E0%B8%B4%E0%B8%99
)
https://www.wing2.rtaf.mi.th/W2DATA/hostpital/tobacco.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3073

อัพเดทล่าสุด