ในปัจจุบันภาคใต้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกซึ่งมีพาหะนำโรคคือ ยุง และในปัจจุบันได้มีการนำอนุภาคนาโนมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายตลอดจนการนำมาผลิตเป็นยุ้งกันยุงซึ่งนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการปราบยุงก้นปล้อง
นาโนเทค" พัฒนามุ้งผสมสารสกัดเลียนแบบ "เก๊กฮวย-ดาวเรือง" ฆ่ายุงตายจากเส้นใยภายใน 6 นาที ทำได้ทั้งแบบเคลือบและผสมลงในเส้นใย ระบุไม่เป็นอันตรายต่อคน เพราะมีตัวรับสารต่างกันจากแมลงและเป็นสารที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก .นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พร้อม ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเปิดตัว "มุ้งนาโนฆ่ายุง" ที่ผสมสาร"เดลตาเมธริน" (Deltamethrin) สารสังเคราะห์เลียนแบบสารในกลุ่ม
"ไพเรธรอยด์" (Pyretroid) สารสกัดธรรมชาติจากดอกดาวเรืองและเก๊กฮวย ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการแนะนำให้ใช้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อตัวรับ(Receptor) ที่ปลายขาของยุง ได้รับสารดังกล่าวจากการชนหรือสัมผัสกับมุ้งที่ผสมสารดังกล่าว จะทำให้ยุงบินช้าลงและตายในที่สุด ทั้งนี้ ยุงแต่ละชนิดมีความไวต่อสารสังเคราะห์ชนิดนี้ได้ต่างกัน โดยยุงรำคาญและยุงก้นปล่องจะไวต่อสารชนิดนี้มากที่สุด โดยจะตายภายใน 6 นาทีหลังจากได้รับสาร แต่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีตัวรับสารดังกล่าวจึงไม่ได้รับอันตรายเช่นเดียวกับยุง
ในกระบวนการผลิตนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เคลือบสารเดลตาเมธรินลงบนเส้นใยสำหรับมุ้งที่ผลิตขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยฝ้าย และผสมสารชนิดนี้ลงในเม็ดพลาสติกเพื่อขึ้นรูปเป็นเส้นใย ซึ่งในวิธีการหลังนั้นทำให้เก็บสารที่ผลต่อการฆ่ายุงได้นานกว่าการนำมุ้งไปชุบ 5 เท่า
ด้าน ดร.ศิระศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาธุรกิจ นาโนเทค อธิบายว่า จำเป็นต้องใช้สารสังเคราะห์เลียนแบบสารสกัดจากดาวเรือง เนื่องจากสารสกัดจากธรรมชาติจะสลายตัวเมื่อผ่านความร้อน ทั้งนี้หากใช้สารที่คั้นจากดอกดาวเรืองหรือดอกเก๊กฮวยไปฆ่ายุงจะทำให้ยุงตายได้เช่นกัน

จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า อนุภาคนาโนมีบทบาทในการผลิตเส้นใย วัสดุและอุปกรณ์มากขึ้น ดังนั้นประชาชนต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโยลีนาโนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการอุปโภคสิ่งต่างๆ

ช่วงชั้น 4 สาระที่ 3 : สารและการเปลี่ยนแปลง มาตรฐาน ว 3.1

โดยนาโนเทคโนโลยีแบ่งเป็น 3 ด้านคือ ด้านชีวภาพ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ และด้านวัสดุโดยส่วนใหญ่จะพบผลงานวิจัยนาโนเทคโนโลยีด้านวัสดุโดยเฉพาะอนุภาคนาโน
ในด้านวัสดุนาโนคนไทยมุ่งสนใจวัสดุ 3 ชนิดคือ นาโนซิลเวอร์ นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ และท่อคาร์บอนนาโน ทั้งนี้ “ขนาด” มีความสำคัญต่อนาโนเทคโนโลยี ซึ่งขนาดที่ยิ่งเล็กยิ่งสร้างให้วัสดุต่างๆ มีคุณสมบัติใหม่เพิ่มขึ้นและทำปฏิกริยาได้ดียิ่งขึ้น

1. นาโนเทคโนโลยีมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตด้านใดบ้างอย่างไร
2. หากนักเรียนใช้วัสดุนาโนซึ่งมีขนาดเล็กมาก หากอนุภาคเหล่านั้นหลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจะส่งผลกระทบหรือไม่อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "นาโนที่ฉันรู้จัก"