เทคโนโลยีนาโนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกยุคปัจจุบันด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นดังเช่นทองคำนาโนที่นำมาประดิษฐ์เป็นรูปดอกมะลิซึ่งสามารถใช้เป็นเซนเซอร์ตรวจสอบสารอันตรายได้
หลังประสบความสำเร็จจากการสังเคราะห์ “ดอกกุหลาบนาโน” จากอนุภาคทองคำ นักวิจัยจุฬาฯ เดินหน้าสังเคราะห์ต่อได้ “ดอกมะลินาโนทองคำ” พร้อมทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีเป็นภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและใช้เป็นสีระบายคำ “แม่ของแผ่นดิน” รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ และอาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดอกมะลินาโนทองคำ” (Gold Nano-Jasmine) จากอนุภาคนาโนทองคำบริสุทธิ์ 99.9% ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีจุฬาฯ ด้วยทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรกมารการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.)
อนุภาคนาโนทองคำรูปดอกมะลินี้ มีขนาดเล็กเพียง 20 ไมโครเมตร กลีบดอกมีขนาด 2-10นาโนเมตรและหนา 30-60 นาโนเมตร ซึ่งลักษณะกลับที่ซับซ้อนคล้ายดอกมะลินี้จึงเหมาะแก่การผลิตเป็นเซนเซอร์เชิงโมเลกุล (Molecular Sensor) สำหรับตรวจหาสัญญาณรามาน (Raman Spectra) ในสารเสพติด สารเคมีหรือสารระเบิดได้ โดยรูปร่างของอนุภาคช่วยเพิ่มสัญญาณรามานจากการเกาะของสารเคมีเพียงไม่มีโมเลกุล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตรวจหาสารที่มีความเป็นพิษสูงๆ
ที่มาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า ลักษณะทองคำนาโนที่ทำเป็นรูปดอกมะลิเหมาะในการทำเซนเซอร์เชิงโมลกุลสำหรับตรวจสัญญารามานในสารเสพติด สารเคมี หรือสารระเบิดได้
เนื้อหาสาระ
ช่วงชั้น 4 สาระที่ 3 : สารและการเปลี่ยนแปลง มาตรฐาน ว 3.1
ความรู้เพิ่มเติมอกมะลินาโนมีขนาด 20 ไมโครเมตร กลีบดอกมีขนาด 2-10 ไมโครเมตร แต่ละกลีบดอกมีความหนา 30-60 นาโนเมตร กลีบดอกของดอกมะลิทองคำนาโนมีความหนาน้อยกว่า 100 นาโนเมตร จึงถือได้ว่าดอกมะลิทองคำนาโนเป็นโครงสร้างระดับนาโนเมตรและเป็นวัสดุนาโน ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยขนาดที่อยู่ในระดับนาโนเมตรและรูปร่างที่ซับซ้อนของกลีบดอก
1. ทองคำนาโนแตกต่างจากทองคำทั่วไปอย่างไร
2. จากคุณสมบัติของทองคำนาโนเหมาะในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด
ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "นาโนที่ฉันรู้จัก" มีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 3-5 คน พร้อมกับสืบค้นข้อมูลเกี่ยวทองคำนาโนโดยใช้เวลา 10 นาที
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นของกลุ่มๆ ละ 5 นาที โดยให้สมาชิกและครูร่วมกันตั้งคำถามและอภิปรายแสดงความคิด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
สุขศึกษาและพลานามัย (สารเสพติด)
- คณิตศาสตร์ (หน่วยนาโนเมตร)
อ้างอิง/แหล่งที่มา
นาโนเทคโนโลยี
- - เกี่ยวกับทองคำนาโน
ดที่สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เผยความสำเร็จในการสังเคราะห์ “
คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
มีรายละเอียดดังนี้ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3105