" แม่น้ำอเมซอน (Amazon River)" จัดเป็น 1 ใน 10 แหล่งผจญภัยแดนหฤโหดแห่งอเมริกาใต้
" แม่น้ำอเมซอน (Amazon River) " ดินแดนหฤโหดแห่งอเมริกาใต้
แม่น้ำอเมซอนกำลังเผชิญกับวิกฤติปริมาณน้ำครั้งสำคัญ หลังจากพื้นที่หลายส่วนโดยเฉพาะช่วง"ตอนปลายของแม่น้ำ" ที่อยู่ลึกเข้าไปภายในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แถบตะวันออกเฉียงเหนือของเปรูกำลังมีระดับน้ำลดต่ำที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ จนทำให้การสัญจรทางน้ำซึ่งเป็นช่องทางหลักของผู้คนที่อาศัยในพื้นที่ในการติดต่อกับโลกภายนอกต้องถูกตัดขาด ระดับน้ำในแม่น้ำอเมซอน ซึ่งเป็นสายน้ำที่มีความยาวเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ ได้ทำสถิติลดต่ำที่สุดในรอบ 40 ปีแล้ว หลังจากฤดูแล้งในอเมริกาใต้ในปีนี้มีระยะเวลายาวนานกว่าปกติ
เมืองอิกิโตส ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตป่าอเมซอนของเปรูที่อยู่ห่างจากปากแม่น้ำในบราซิลมากกว่า 3,000 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากชาวเมืองกำลังประสบภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงจากการที่แม่น้ำอเมซอนมีระดับน้ำลดต่ำลงจนเรือไม่สามารถแล่นเข้า- ออกได้ตามปกติ
ภาพแม่น้ำอเมซอน
(ที่มาไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/oversea/108335 )
แม่น้ำอเมซอน ถือได้ว่าเป็นแหล่งผจญภัยที่น่าตื่นเต้น และน่ากลัวได้เป็นอย่างดี ความยาวของสายน้ำกับฝนตกชุกตลอดทั้งปี ทำให้ไม่มีที่ใดอุดมสมบูรณ์ที่สุดเท่า สัตว์น้ำพันกว่าชนิด กับความดุร้ายสไตล์สัตว์ป่าของนากยักษ์ หรือโลโบ้ เดล ริโอ, ปิรันย่า , จระเข้เคแมนเจ้ายักษ์, แมงมุมทารันตูล่า, มดคันไฟ ไม่มีที่ใดมากเท่าที่นี่มาดูกันว่า ดินแดนหฤโหดแห่งนี้ มีความน่าสนใจอย่างไรกันบ้างนะคะ
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เรื่อง แม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
ชื่อ : แม่น้ำอเมซอน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Amazon River
ชื่อโปรตุเกส : Rio Amazonas
ชื่อภาษาสเปน : RI'o Amazonas
ข้อมูลทั่วไป
เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,250 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแม่น้ำไนล์ และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำอเมซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในฤดูฝน
พื้นที่
อเมซอนมีพื้นที่กว่า 7 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ทางตอนเหนือของภาคกลางของอเมริกาใต้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิลแต่ก็ยังข้ามไปชายแดนของประเทศโบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กิอานา (และมีบางส่วนของกิอานาฝรั่งเศส) สุรีนัม และเวนเนซูเอล่า อเมซอนมีพื้นที่ประมาณ 58.5% ของบริเวณที่เป็นผืนดินของบราซิล
ปริมาณน้ำ
แม่น้ำอเมซอนจึงไหลผ่านอาณาบริเวณมากกว่า 6 ล้านตารางกิโลเมตร (2.3 ล้านตารางไมล์) ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในประเทศบราซิล ส่วนที่เหลืออยู่ในประเทศเปรู โบลิเวีย และ เวนเนซูเอล่า คาดว่าแม่น้ำอเมซอนปล่อยน้ำอยู่ที่ระหว่าง 34 และ 121 ล้านลิตร (9 และ 32 ล้านแกลลอน) ของน้ำต่อวินาที และมีการตกตะกอนบริเวณใกล้ปากแม่น้ำโดยเฉลี่ย 3 ล้านตันต่อวัน น้ำที่ไหลออกจากแม่น้ำทุกปีคิดเป็นหนึ่งในห้าของน้ำจืดทั้งหมดที่ไหลลงสู่มหาสมุทรของโลก การไหลออกของน้ำหรือตะกอนมีจำนวนมหาศาลซึ่งความเค็มและสีมหาสมุทรแอตแลนติคจะเปลี่ยนไปเป็นระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร (ประมาณ 200 ไมล์) นับจากปากแม่น้ำ
ต้นน้ำของแม่น้ำอเมซอน
ต้นน้ำหลักของอเมซอนคือ แม่น้ำอุคายาลี (Ucayali) และแม่น้ำมารานอน (Maranon) ซึ่งแม่น้ำทั้งสองสายนี้จะมีกำเนิดอยู่ที่ภูเขาแอนเดสซึ่งเป็นภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งตลอดปี และไหลขนานไปทางเหนือก่อนที่จะไปบรรจบกันที่เนาต้า ประเทศเปรู
ทิศทางการไหลของแม่น้ำอเมซอน
จากการบรรจบกันของแม่น้ำอุคายาลี (Ucayali) และแม่น้ำมารานอน (Maranon) ทำให้แม่น้ำอเมซอนไหลไปทางทิศตะวันออกลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติค แม่น้ำอเมซอนไหลเข้ามหาสมุทรแอตแลนติคผ่านปากแม่น้ำกว้างที่น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกัน ซึ่งคาดว่ามีกว้างประมาณ 240 กิโลเมตร (ประมาณ 150 ไมล์) ที่นี่มีการตกตะกอนที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเป็นเกาะแก่งที่แยกแม่น้ำออกเป็นสาขาต่าง ๆ ที่ปากแม่น้ำใหญ่กว้างประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ซึ่งสาขาที่แยกออกไปนี้เป็นที่รู้จักว่า ปารา (Para) ซึ่งแยกจากสาขาที่เล็กกว่าโดยเกาะ มาราโจ(Marajo Island) ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 36,000 ตารางกิโลเมตร (14,000 ตารางไมล์) ระหว่างช่วงที่มีกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำ หรือคลื่นลมพัดจากมหาสมุทร ก็จะพัดพาเอากระแสน้ำที่ความเร็ว 650 กิโลเมตร (มากกว่า 400 ไมล์) ที่ความเร็วเกินกว่า 65ไมล์ต่อชั่วโมง (40ไมล์ต่อชั่วโมง) ปรากฏการณ์เช่นนี้มักก่อให้เกิดคลื่นที่มีความสูงถึง 5 เมตร (16 ฟุต)
สัตว์ในท้องถิ่นของป่าอเมซอน
ป่าอเมซอนประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีใครทราบว่าจริง ๆ แล้วมีสัตว์กี่สายพันธุ์ในป่าอเมซอน แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามีอยู่ระหว่าง 800,000 ชนิดและ 5 ล้านสายพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในป่าอเมซอน ซึ่งคิดเป็น 15 ถึง 30% ของสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งหมดในโลก ตามที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติได้จัดทำรายการปลาน้ำจืดพันธ์ใหม่ มีการค้นพบว่า มีปลามากมายประมาณ 3,000 ชนิดในแม่น้ำและทะเลสาบที่อยู่ในอเมซอน ปลาที่พบในบริเวณนี้คือ pirarucu ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นปลาน้ำจืดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีตัวอย่างวัดได้ยาวกว่า 6.5 ฟุต (2 เมตร) และมีน้ำหนัก 275 ปอนด์ (125 กิโลกรัม) ปลา tambaqui ซึ่งเป็นปลาที่กินผลไม้ในตระกูล characin ซึ่งมีฟันแข็งแรงสามารถกระเทาะเมล็ดที่มีความแข็งได้ เช่น เมล็ดของต้นยาง และต้นปาล์ม jauari และ ปลาปิรันญ่า
ภาพนากยักษ์ หรือโลโบ้ เดล ริโอ ภาพปิรันย่า(ปลาจอมโหด)
ภาพจระเข้เคแมนเจ้ายักษ์ ภาพแมงมุมทารันตูล่า
ภาพมดคันไฟ ภาพปลาpirarucu
สัตว์ที่มีชื่อเสียงในแม่น้ำอเมซอน ได้แก่ นากยักษ์ หรือโลโบ้ เดล ริโอ, ปิรันย่า , จระเข้เคแมนเจ้ายักษ์, แมงมุมทารันตูล่า
และมดคันไฟ
ข้อมูลเพิ่มเติม
10 อันดับ แหล่งผจญภัยที่อันตรายที่สุดในอเมริกาใต้
อันดับ 1 : ป่าอเมซอน (AMAZON)
อันดับ 2 : เทือกเขาแอนดีส (ANDES)
อันดับ 3 : ทุ่งหญ้าเซอราโด้ (CERRADO) ประเทศบราซิล
อันดับ 4 : พาทาโกเนีย ประเทศอาร์เจนติน่า(PATAGONIA)
อันดับ 5 : ป่าบนภูเขา (CLOUD FOREST)
อันดับ 6 : ที่ราบสูงอัลติปลาโน่ (ALTIPLANO)
อันดับ 7 : แม่น้ำอเมซอน (AMAZON RIVER)
อันดับ 8 : ทะเลทรายอะตาคาม่า (DESERT OF THE ATACAMA)ประเทศชิลี
อันดับ 9 : ป่าแพนทานัล (PANTANAL)ประเทศบราซิล
อันดับ 10 : หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (FALKLANDS)
มดคันไฟในแม่น้ำอเมซอน ที่มา จาก Youtube.com
จะเห็นได้ว่าแม่น้ำอเมซอนมีความซับซ้อน ลึกลับ น่ากลัว จนจัดเป็น 1 ใน 10 สถานที่อันตรายที่สุดใน
อเมริกาใต้ ดินแดนหฤโหดแห่งนี้เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์แปลก ๆ และโหดร้ายหลายชนิด แต่ก็เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ติดอันดับโลกเลยทีเดียวค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. แม่น้ำอเมซอน (Amazon River) ตั้งอยู่ที่ใด
2. แม่น้ำอเมซอน (Amazon River) มีลักษณะพิเศษอย่างไร
3. สิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้างที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
4. แม่น้ำอเมซอน (Amazon River) มีความยาวเท่าใด
5. ต้นน้ำของแม่น้ำอเมซอน คือแม่น้ำใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการสำรวจสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
3. กิจกรรมทัศนศึกษาชมชีวิตสิ่งมีชีวิตแม่น้ำอเมซอน (Amazon River) ณ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น สวนสัตว์
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำสถิติว่าในแม่น้ำอเมซอน (Amazon River) มีสัตว์ชนิดใดมากที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศของแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนประดิษฐ์โมเดลทะเลทรายจำลองและตุ๊กตาสัตว์ในแม่น้ำอเมซอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงทนต่อการผจญภัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของแม่น้ำอเมซอน (Amazon River)
ขอขอบคุณ
สถานเอกอัครราชทูตบราซิล กรุงเทพ - ประเทศไทย
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/108335
2. https://th.wikipedia.org/wiki/แม่น้ำแอมะซอน
3. https://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=1177&Itemid=3
4. https://www.brazilembassy.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=192&Itemid=343
5. https://blog.eduzones.com/images/blog/sms/2008071913151.jpg
6. https://www.dumenu.com/community/attachments/month_1004/10040220088487cfa07f6ff431.jpg
7. https://www.hottnez.com/to-pee-or-not-to-pee-10-places-you-should-never-pee/
8.https://www.otterspotter.com/otter_giant.html
9.https://1.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SwP72FLrlHI/AAAAAAAAAd8/GlQCCW-se5o/s1600/Piranha1.jpg
10.https://www.nanmeebooks.com/webboard/uploadWebboard/brazil_pantanal_l.jpg
11.https://www.colombia.travel/en/images/stories/turistainternacional/Colombia/noticias/pirarucu.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3126