พี่ตูน ทรุด..หมอนรองกระดูกเคลื่อน


910 ผู้ชม


นักร้องที่การันตรีว่าชื่อนี้ทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพลง Rock ความหมายดีๆ และมีเอกลักษณ์ที่ทำให้วัยรุ่นชื่อชอบ เกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน   

ภาพไอคอนจาก :  
https://www.surinnet.net/board/reply.php?b_id=90568&board_type=02&theme=03

       แพทย์ รพ.พระราม 9 แถลงอาการป่วยนักร้องดัง "ตูน บอดี้สแลม" พบหมอนรองกระดูกเคลื่อน ต้องดามเฝือกอ่อนที่คอ และสั่งพักงานนาน 1 เดือน    เปิดเผยว่า ทีมแพทย์ได้รับคนไข้เข้ามารักษาเมื่อเวลา 02.30 น. คนไข้มีอาการปวดคออย่างมาก แขนขวาร้าว โดยแพทย์รักษาด้วยการให้ยาเบื้องต้น และได้ทำการเอกซเรย์ ด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กแรงสูง หรือ เอ็มอาร์ไอ เมื่อเช้า พบกระดูกต้นคอเคลื่อนไปด้านหลังบางส่วน ระหว่างท่อนที่ 6- 7 ส่งผลให้ปวดต้นคอ หากไม่รับรักษาอาจจะทับเส้นประสาทมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย   ขอบคุณเนื้อหาข่าวจากhttps://www.thairath.co.th/content/ent/107883

 

       มันเกือบจะล้ม มันเหนื่อยมันล้า เหมือนแทบขาดใจ เดินมาจนท้อไม่เจอจุดหมายปลายทางที่ฝัน...วันนนี้ครูไม่ได้มาเป็นศิลปินนะค่ะ แต่พอดีได้อ่านข่าวว่าวงนักร้องที่ชื่นชอบนั้นคือ พี่ตูน บอดี้สแลม เกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน ด้วยความเป็นห่วงรีบเช็คข่าวดู และพบว่า ดีนะที่เราเรียนวิชาชีววิทยา เราอ่านเข้าใจได้เลย อาการเป็นห่วงก็ลดลง สำหรับนัเรียนไม่ต้องห่วงค่ะ..นอกจากจะห่วงพี่ตูนแล้ว มาเอาความรู้วิชาชีววิทยาไปด้วยเลยดีกว่า...เหมือนเดิมค่ะ ร่วมส่งกำลังใจให้พี่ตูนของเราหายป่วยเร็วๆๆ กลับมาร้องเพลงให้เราฟังอีกนะค่ะ

 

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา(เพิ่มเติม) สำหรับม.ปลาย(แต่น้องม.ต้นก็อ่านได้สบายมากค่ะ)
หน่วยการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต  เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน

 

มาทำความรู้จักกับหมอนรองกระดูกกันก่อนนะค่ะ

หมอนรองกระดูกสันหลัง
(Intervertebral Disc)

หมอนรองกระดูกสันหลัง Intervertebral Disc
เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายหมอนรองศีรษะ หน้าตาดังรูปขวามือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้วเศษ หนาประมาณหนึ่งเซนติเมตร เชื่อมต่ออยู่ระหว่าง กระดูกสันหลัง แต่ละข้อ ตั้งแต่
ระดับคอจนถึงก้นกบ เมื่อนับทั่วแล้วในคนปกติมีทั้งหมด 23 ชิ้น

 

   

หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral disc
มีลักษณะโดยรวมคล้ายๆโดนัท มีเปลือกเหนียว
ภายนอกเปรียบเสมือนเปลือกขนมปังซ้อนกันเป็นชั้นๆหนาๆลักษณะเป็นวัสดุเหนียวซ้อนเป็นชั้นๆ เป็นวงรอบ ดังรูปซ้ายเรียกว่าเปลือก 
แอนนูลัส ไฟโบรสัส (Anulus Fibrosus)ซึ่งมีหน้าที่ในการเป็นเหมือนปลอกหมอนที่หุ้มไส้หมอนไว้ภายในอายุมากขึ้น เปลือก Anulus Fibrosus นี้จะแตกปริฉีกง่ายขึ้นและเป็นสาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้น
HNP , Herniated Nucleus Pulposus 

 

       หมอนรองกระดูกสันหลัง มีไส้อ่อนนุ่มอยู่ตรงกลางมีชื่อว่านิวเคลียส พัลโพสุส (Nucleus Pulposus)ไส้อ่อนนุ่มกลางนี้ตอนวัยเด็กจะมีลักษณะคล้ายเจล และค่อยๆลักษณะแห้งลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งทำให้คุณสมบัติ
ที่ยืดหยุ่นรองรับแรงกระแทกของหมอนรองกระดูกหลังนี้ค่อยๆลดลงไปด้วยตามวัย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหว กระดูกสันหลัง เวลาก้ม-เงยได้น้อยลง

คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้เช่นนี้ทำให้ กระดูกสันหลัง ทั้งท่อนยาวโดยรวมยืดหดได้เล็กน้อยตามน้ำหนักตัวและแรงโน้มถ่วงโลก อีกทั้งสามารถเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันได้คล้ายกระดูกงูหรือสปริงทำให้ร่างกายสามารถก้ม - เงย บิดตัวซ้าย-ขวาได้ โดยที่ กระดูกสันหลัง แต่ละข้อไม่ทรุดหรือหลุดออกจากกัน

เนื่องจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับเส้นประสาท(สีเหลืองภาพซ้าย) ดังนั้นเมื่อมีการโป่งยื่นหรือแตกเคลื่อน ของ หมอนรองกระดูกสันหลังแล้วส่วนที่เรียกว่า Nucleus Pulposus  จะถอยหลังออกมากดทับกับเส้นประสาทได้ดังภาพซ้ายมือ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับนั้น กลายเป็นโรคที่เราเรียกว่า หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท(HNP,Herniated Nucleus Pulposus)

การรักษาโรค หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็ให้ความสำเร็จที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง การรักษาควรเริ่มจากการพบแพทย์รับประทานยา ทำกายบริหารรวมทั้งการทำกายภาพบำบัด ขั้นต่อไปคือการฉีดยาระงับการอักเสบรอบๆเส้นประสาท(SNRB, Selective Nerve Root Block)เพื่อลดการบวมอักเสบถ้าถึงที่สุดการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ไม่ได้ผลจึงใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งมีหลายวิธีเช่นกันและปัจจุบันแผลมีขนาดเล็กมากดังภาพขวา

ขอบคุณความรู้ดีๆจาก https://www.naturefoam.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=336396

ชวนคุย
1. หมอนรองกระดูกคืออะไร
2. หมอนรองกระดูกอยู่บริเวณใดของกระดูก มีหน้าที่อย่างไร
3. สาเหตุใดทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่หรือได้รับอันตรายได้บ้าง

ความรู้คู่บูรณาการ

บูรณาการกับวิชาพลศึกษา เพื่อออกกำลังกาย

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/content/ent/107883

https://www.naturefoam.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=336396
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3130

อัพเดทล่าสุด