แผ่นดินไหวบ้านเขาสะเทือนถึงบ้านเรา(ได้)


635 ผู้ชม


แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทุกมุมโลกเป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ที่อยู่บริเวณรอยต่อแผ่นดินไหว   

        เมื่อวันที่ 4 .เอเอฟพีรายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 7.1 ริกเตอร์ รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี ทางตอนใต้ของเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อเวลา 04.35 ตามเวลาท้องถิ่น และเกิดอาฟเตอร์ช็อก อีก 12 ครั้ง ขนาดตั้งแต่ 3.9-5.3 ริกเตอร์ ซึ่งรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว แต่ไม่ได้ประกาศเตือนสึนามิ มีผู้บาดเจ็บ 2 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว ขณะที่นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ ผู้นำนิวซีแลนด์ลงพื้นที่เพื่อตรวจความเสียหายแล้ว แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวส่งผลให้บ้านเรือนพังทลาย ประชาชนวิ่งหนีตายกันอลหม่าน ท้องถนนเต็มไปด้วยเศษหินดินทราย ระบบน้ำประปา ไฟฟ้าและสาธารณูปโภคล้มเหลวทั้งหมด และมีบางคนติดอยู่ในซากตึกที่ถล่มลงมา ขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองไครสต์เชิร์ชต้องปิดให้บริการชั่วคราว แต่ภายหลังเปิดบริการได้แล้ว มูลค่าความเสียหายสูงถึง 1,044ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 32,500 ล้านบาท
ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์

        จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า อันตรายและภัยพิบัติที่เกิดจากเหตุแผ่นดินไหว

เนื้อหาสาระ
ช่วงชั้น 4 สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  
ว 
6.1 : เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ "การเกิดแผ่นดินไหว"
        
แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อนเมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน
        ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1. ภัยจากการสั่นไหวของพื้นดิน ก่อนให้เกิดการปรับตัวของดินที่ต่างกัน การพังทลายของดินและโคลนและการที่ดินมีสภาพกลายเป็นของเหลว 
2. ภัยจากการยกตัวของพื้นดินในบริเวณรอยเลื่อน 
3. ภัยที่เกิดจากคลื่นใต้น้ำที่เรียกว่า "Tsunami" คลื่นนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง 
4. ภัยจากไฟไหม้หลังการเกิดแผ่นดินไหว 

        วิธีการป้องกันตนเองอย่างภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้ 
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบสุข ถ้าท่านอยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน 
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มากและระเบียบและหน้าต่าง 
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ 
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอก คือ ที่โล่งแจ้ง 
5. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น 
6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว 
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. 
สาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากอะไรบ้างอย่งไร
2. 
หากนักเรียนประสบเหตุการณ์แผ่นดินจะมีวิธีการดูแลตนเองและผู้อื่นอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด
กิจกรรมเสนอแนะ  
ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "แผ่นดินไหวมีรายละเอียดดังนี้
1. 
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 3-5 คน พร้อมกับสืบค้นข้อมูลเกี่ยวสาเหตุแผ่นดินไหว ความรุนแรงของแผ่นดินไหว และการป้องกันภัยพิบัติของแผ่นดินไหวโดยใช้เวลา 10 นาที
2. 
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นของกลุ่มๆ ละ นาที โดยให้สมาชิกและครูร่วมกันตั้งคำถามและอภิปรายแสดงความคิด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
ภาษาต่างประเทศ :  การเขียนข้อมูลการเตือนภัยแผ่นดินไหวและวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในรูปแบบภาษาอังกฤษ
อ้างอิง/แหล่งที่มา
แผ่นดินไหว 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3132

อัพเดทล่าสุด