กองทัพตั๊กแตนบุกชาวเกษตรออสซี่


744 ผู้ชม


ท้องฟ้าและไร่นา ในเขตนอร์ท เซาท์ เวลล์ และวิคตอเรียของออสเตรเลีย ถูกปกคลุมไปด้วยฝูงตั๊กแตนนับล้าน   

ภาพไอคอน : https://atcloud.com/stories/62088

       บรรดาเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลของรัฐนิว เซาท์ เวลส์ เผชิญ กับปัญหาใหญ่ เมื่อฝูงตั๊กแตนปาทังก้าหลายพันล้านตัวบุกกัดกินพืชไร่สร้างความเสียหายแก่พืชผลที่เพาะปลูกไว้ เป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อน หลังจากที่ต้องประสบปัญหาภัยแล้งติดต่อกันมาหลายปี ขณะที่ความเสียหายจากฝีมือของฝูงตั๊กแตนเหล่านี้คาดว่าสูงหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ ตั๊กแตนจำนวนมหาศาลฝูงนี้ได้เดินทางผ่านรัฐควีนสแลนด์ และกำลังมุ่งหน้าลงใต้ ซึ่งบางส่วนเดินทางไปถึงนครเมลเบิร์นและหลายพื้นที่ในรัฐทางใต้แล้ว (https://www.ch7.com/news/news_international_detail.aspx?c=3&p=9&d=80727)

       มารู้จักตั๊กแตนดีกว่า

สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา
สาระการเรียนรู้ 1.1
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และเทคโนโลยีชีวภาพ

เนื้อหาสำหรับนักเรียนทุกคน


ตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta (Linnaeus))

กองทัพตั๊กแตนบุกชาวเกษตรออสซี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Patanga succincta Linnaeus
    อันดับ         Orthoptera
     ชื่อวงศ์        Acrididae
       ชื่อสามัญ  Bombay locust
         ชื่ออื่น             ตั๊กแตนก่า 
(https://pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/pupan/index.php?q=node/223)


รูปร่างลักษณะ

           - มีขนาดใหญ่ รูปร่างเรียวยาว บินเร็ว และว่องไว
           
- ตัวผู้มีความยาววัดจากหัวถึงปลายปีก 6-6.5 เซนติเมตร 
           
- ตัวเมียยาว 7.6-7.8 เซนติเมตร
           - ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับสีน้ำตาลแก่

- แก้มทั้ง 2 ข้างมีแถบสีดำพาดจากขอบตารวมด้านล่างถึงปาก
- ปีกยาวเลยปลายส่วนท้องไปประมาณ 1/5 เท่าของตัว
- ปีกคู่แรกแข็งมีแถบสีเหลืองและสีน้ำตาล ยาวไปต่อกับแถบสีเดียวกันกับแถบที่อยู่บน
             สันอกและหน้าผากพอดี
- ปีกคู่ที่ 2 เป็นเยื่อบางใส
- โคนปีกมีสีม่วงแดงหรือสีชมพู

วงจรชีวิต

- ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์เพียง 1 ครั้ง
- ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
- อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย 1:1
- ตัวเมียวางไข่ในดิน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม (เป็นระยะฝนแรกของปี)
- วางไข่เป็นฝักลึกลงไปในดิน ที่มีลักษณะร่วนซุย ลึก 2-7 เซนติเมตร และมีความชื้นพอเหมาะ
- ฝักไข่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว 2.3-5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มม. ห่อหุ้มด้วยฟองน้ำสีขาว
- ตัวเมียวางไข่ได้ 1-3 ฝัก
- ไข่ 1 ฝัก มีจำนวน 96-152 ฟอง เพราะฉะนั้น ไข่ 1-3 ฝักมีจำนวนรวม 288-451 ฟอง
- อายุไข่ 35-51 วัน (เมษายน-พฤษภาคม)
- ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
- ตัวอ่อนลอกคราบ 7-8 ครั้ง
- ช่วงอายุตัวอ่อน 56-81 วัน มี 9 วัย
- เริ่มเป็นตัวแก่ประมาณเดือนกรกฎาคม
- อายุตัวเต็มวัย 8-9 เดือน (สิงหาคม-เมษายน)
- ตั๊กแตนเมื่อวางไข่แล้วก็จะตายในที่สุด(https://agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/other/patanga/patanga.htm)

กองทัพตั๊กแตนบุกชาวเกษตรออสซี่

ภาพประกอบวัฏจักชีวิตของตั๊กแตนปาทังกา : 
https://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/pests/e272-1.gif

กองทัพตั๊กแตนบุกชาวเกษตรออสซี่

วงจรการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ : https://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/pests/e272-2.gif

คำถามเร้าความสนใจ
1. นักเรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับตั๊กแตนอย่างไรบ้าง
2. ในชุมชนนักเรียนมีวิธีการแก้ไขแมลงที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรอย่างไร

ความรู้สู่บูรณาการ

บูรณาการเนื้อหา เรื่องระบบทางเดิน ระบบประสาทของตั๊กแตน

กิจกรรมเพิ่มเติม

ศึกษาสมุนไพรที่ใช้จัดการกับแมลงที่รบกวนผลผลิตทางการเกษตร

อ้างอิง

https://atcloud.com/stories/62088
https://www.ch7.com/news/news_international_detail.aspx?c=3&p=9&d=80727
https://agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/other/patanga/patanga.htm
https://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/pests/e272-1.gif
https://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/pests/e272-2.gif

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3133

อัพเดทล่าสุด