พระเอกนิสัยดี เจอพิษไวรัสทำหน้าชา..ปากเบี้ยว


1,094 ผู้ชม


นักแสดงหนุ่ม โอ อนุชิต สพันธ์พงษ์ ที่ร่วมแสดงด้วยนั้น ได้เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังป่วยเป็นโรคไวรัสที่ปลายประสาทคู่ที่ 7 ทำให้ประสาทซีกซ้ายชาจนใช้การไม่ได้ มีอาการปากเบี้ยว หน้าชาครึ่งซ้าย   

       ภาพไอคอนจาก : https://news.giggog.com/333727

พระเอกนิสัยดี เจอพิษไวรัสทำหน้าชา..ปากเบี้ยว
ภาพประกอบจาก : 
https://www.google.co.th/imgres?


       โอ อนุชิต ป่วยเป็นโรคไวรัสลงปลายประสาทคู่ที่7
โอ อนุชิต เผยป่วยเป็นโรคไวรัสลงปลายประสาท ทำปากเบี้ยว หน้าชา แพทย์สั่งกายภาพบำบัด คาด 1 เดือนหาย แจงเหตุเกิดจากพักผ่อนน้อย หนุ่มโอ เล่าถึงอาการป่วยของเขาว่า เป็นมาได้ 10 วันแล้ว เริ่มแรกเหมือนนอนตกหมอน ปวดคออยู่ 2 วัน สักพักก็เริ่มปวดหัว แต่ไม่ใช่ปวดหัวจากข้างใน มันปวดที่เส้น จากนั้นเวลายิ้มปากก็จะขยับไม่ได้ อาการต่อมาคือ เวลาล้างหน้าน้ำจะเข้าตาซ้าย แม้ว่าจะหลับตา แต่คือมันหลับไม่สนิท แล้วก็เริ่มเคี้ยวอาหารในปากไม่ได้ ซึ่งอาการเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง (ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก : https://pha.narak.com/topic.php?No=56930)
***ไวรัสอะไรทำไมร้ายกาจขนาดนี้  วันนี้จะพานักเรียนไปไขความจริงกันค่ะ****^

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา(เพิ่มเติม)
เรื่องระบบประสาท

พระเอกนิสัยดี เจอพิษไวรัสทำหน้าชา..ปากเบี้ยว

          ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อไวรัสปลายประสาทคู่ที่ 7 หรือโรคปากเบี้ยวนี้ เราเรียกว่าโรค “Bell palsy” เพราะได้ชื่อมาจาก Charles Bell ศัลยแพทย์ชาวสกอตต์ ซึ่งเป็นผู้บรรยายอาการของโรคนี้ไว้เป็นท่านแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 
       ลักษณะอาการที่แสดง 
       ออกจะเป็นอาการกล้ามเนื้อ ใบหน้าอ่อนแรงอันเกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve) อักเสบหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทางเดินของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ดังกล่าวจะออกจากก้านสมอง ผ่านใต้กะโหลกศีรษะมาโผล่ที่หน้าหูแล้วแยกเป็นสองแขนงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านเดียวกัน แขนงบนช่วยในการหลับตา แขนงล่างช่วยดึงกล้ามเนื้อมุมปาก เช่น การยิ้ม การห่อปาก นอกจากนี้ยังมี แขนงย่อย ๆ ไปเลี้ยงที่เยื่อแก้วหูและรับรสที่ลิ้นอีกด้วย 
      โรคติดเชื้อไวรัสปลายประสาทคู่ที่ 7 นี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนอาการหน้าเบี้ยวมักเกิดขณะที่เส้นประสาทมีอาการอักเสบ บวม หรือถูกกดทับ ในคนที่ปกติแข็งแรงดีมาก่อน เชื่อว่าสาเหตุการเกิดโรคอาจเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย จนทำให้มีการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังพบบ่อยในสตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วย เบาหวาน มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือต่อมน้ำเหลือง ผู้ติดเชื้อ ไวรัสเอชไอวี และกลุ่มผู้ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เป็นต้น 
       อาการของโรค Bell palsy 
       ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยสามารถสังเกตได้เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกว่าหน้าหนัก ๆ หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง ทานน้ำมีน้ำไหลจากมุมปาก บางรายมีอาการลิ้นชาหรือหูอื้อ ๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เร็ว เพราะตกใจหรือมีคนทักหรือกลัว ตัวเองเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง อุดตัน แต่สามารถแยกอาการ ได้โดยโรคหลอดเลือดสมอง อุดตัน มักมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรงข้างเดียวกับที่มีปากเบี้ยว ตาเห็นภาพซ้อน เดินเซหรือมีอาการบ้านหมุน 
        การรักษา
        เมื่อผู้ป่วยมาพบเข้ารับการรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และตรวจร่างกายโดยแพทย์ระบบประสาท ในบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจเลือดหรือเอกซเรย์สมองเพิ่มเติม ส่วนวิธีการรักษานั้นอย่างแรกเราต้องทราบก่อนว่าอาการ Bell palsy ในแต่ละรายไม่เท่ากัน สาเหตุหรือการบวมอักเสบของเส้นประสาทก็แตกต่างกัน ในบางรายที่มีอาการน้อย อาจจะไม่ต้องทำอะไรก็หายเองได้ใน 2-3 สัปดาห์ 
        
      อย่างไรก็ตามการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ยากลุ่มสเตีย รอยด์ (Steroid) สามารถช่วยลดการบวมและอักเสบของเส้นประสาท ทำให้หายเร็วขึ้น โดยการให้ยาในวันแรก ๆ ที่เริ่มมีอาการจะให้ผลในการรักษาที่ค่อนข้างดี นอกจากนี้ยังมียาต้านไวรัสเริม และยาวิตามินบี ซึ่งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ 
       สำหรับอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถหลับตาได้สนิทหรือกะพริบตาน้อยลงมีผลทำให้กระจกตาแห้งนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรค Bell palsy คือ ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบหรือมีแผลที่กระจกตา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้โดยการปิดตาและหยอดน้ำตาเทียม นอกจากนี้ยังต้องมีการรักษา ด้วยการทำกายภาพด้วยการ ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น หรือใช้วิธีแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม ซึ่งก็มีรายงานว่าสามารถช่วยได้ในบางราย 
       หลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและทำการรักษาแล้ว ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นมากใน 2-3 อาทิตย์แรก และประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นจะหายสนิท ส่วนอาการที่เหลือจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ ใน 3-6 เดือน แต่ในรายที่เส้นประสาทมีปัญหาอยู่เดิม เช่น เบาหวาน หรือเกิดจากเชื้องูสวัด มักจะไม่หายสนิท โอกาสเป็นซ้ำอีกพบน้อยมาก แต่ถ้าเกิดเป็นซ้ำหลายครั้งควรรีบไปพบประสาทแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหรือตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ เพิ่มเติม 
       โรคปากเบี้ยวนี้ถึงแม้แพทย์จะยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายมาก แต่ก็เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากมีอาการปากเบี้ยว บังคับหน้าไม่ได้ หรือเผชิญกับเจ้าเชื้อไวรัสตัวนี้อย่างแน่นอน ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วเราอาจถูกไวรัสร้ายตัวนี้คุกคามกลายเป็นเหยื่อรายต่อไปก็ได้. (ปรับปรุงจาก : https://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=generalhealth&id=4027)

คำถามสู่การอธิปราย
1. เส้นประสาทคู่ที่ 7 ชื่ออะไรและทำหน้าที่อย่างไร(เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 
เส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve
เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ)

2. ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้บ้าง เพราะเหตุใด

3. นักเรียนวิวิธีป้องกันโรคนี้อย่างไร

กิจกรรมเพิ่มเติม
      ศึกษาการทำงานของเส้นประสาทคู่อื่นๆและการดูแลรักษา

กิจกรรมบูรณาการ
บูรณาการเนื้อหาเรื่องไวรัสและการทำงานของระบบประสาท

อ้างอิง

https://news.giggog.com/333727

https://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=generalhealth&id=4027)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3142

อัพเดทล่าสุด