พลาสติกรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม


822 ผู้ชม


ปัญหาจากการใช้พลาสติกคือ การย่อยสลายที่ใช้เวลานานมากๆ ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาในหลายๆประเด็น  

       “ขวดน้ำพลาสติกชีวภาพ” คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพดีเด่น ด้านผู้ผลิตเผยมีบริษัทน้ำดื่มติดต่อเข้ามาหลายราย แต่ยังต้องพัฒนาเพื่อลดต้นทุนให้แข่งขันได้กับขวดน้ำพลาสติกจากปิโตรเคมี 
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย ประกาศผลรางวัลผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพดีเด่น ประจำปี 2010 (Bioplastic Products Award: BPA2010) ภายในงานอินโนไบโอ
พลาสต์ 2010 (InnoBioPlast2010) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 ก.ย. 53 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ขวดน้ำรักษ์สิ่งแวดล้อม จาก บริษัท ไบโอ กรีน เวิล์ด จำกัด ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 คือ บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ จาก บริษัท แคปปิตัล เทรดดิ้ง จำกัด และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 คือ ซองพลาสติกชีวภาพบรรจุสารดูดความชื้นจาก บริษัทแอ็ดวานซ์ แพคเกจจิ้ง จำกัด

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์

       จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า ขวดน้ำพลาสติกชีวภาพกับขวดน้ำพลาสติก PET แตกต่างหรือไม่อย่างไร
เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
ช่วงชั้นที่ 4 สาระที่  3 : สารและสมบัติของสาร   ว 2.1 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร  การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อ
สารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

       ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ
       พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) หมายถึงพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นพืช สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ (biodegradable) 
ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม  วัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพมีหลายชนิด เช่น cellulose collagen casein polyester แป้ง (starch) โปรตีนจากถั่ว และข้าวโพด เป็นต้น และในบรรดาวัสดุธรรมชาติทั้งหลาย แป้ง นับว่าเหมาะสมที่สุดเพราะมีจำนวนมากและราคาถูก เนื่องจากสามารถหาได้จากพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง เป็นต้น 
        พลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากแป้งโดยตรงจะมีขีดจำกัด เพราะจะเกิดการพองตัวและเสียรูปร่างเมื่อได้รับความชื้น จึงได้มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายแป้ง แล้วเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นมอเนอ
เมอร์(monomer) ที่เรียกว่ากรดแลคติก (lactic acid) จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการ polymerization ทำให้กรดแลคติกเชื่อมกันเป็นสายยาวที่เรียกว่า พอลิเมอร์ (polymer) 
       คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. จุดเด่นของพลาสติกชีวภาพคืออะไร
2. จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพลาสติกชีวภาพกับพลาสติกจากปิโตรเคมี
       กิจกรรมเสนอแนะมีรายละเอียดดังนี้
ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "พลาสติก"  มีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งสมาชิกในห้องออกเป็น 2 ทีม 
2. ให้ตัวแทนนักเรียนของแต่ละทีม จับสลากเลือกหัวข้อในการศึกษา ระหว่าง พลาสติกจากปิโตรเคมีภัณฑ์ในการทำขวดน้ำ  และพลาสติกชีวภาพในการทำขวดน้ำ เพื่อร่วมอภิปรายเรื่อง พลาสติกชีวภาพดีกว่า
พลาสติกจากปิโตรเคมีอย่างไร
3.  ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกทั้งสองทีม 
4.  ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปจุดเด่น และจุดด้อยของพลาสติกชีวภาพที่ใช้ในการทำขวดน้ำกับพลาสติกจากปิโตรเคมี
       การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
- ภาษาไทย  ฝึกฝนให้นักเรียนทุกคนร่วมกิจกรรมโต้วาที
       อ้างอิง/แหล่งที่มา
พอลิเมอร์ชีวภาพ

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3157

อัพเดทล่าสุด