โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ในการแล็กซีทางช้างเผือก นักวิทยาศาสตร์ทำแผนที่ 3 มิติของ "กาแลกซีทางช้างเผือก" พบมีมวลมากกว่าที่คิด 50% และกว้างกว่าเดิม 15% ล้างความเชื่อกาแลกซีบ้านเกิดของเราเล็กกว่า "แอนโดรมีดา" กาแลกซีเพื่อนบ้าน แต่ขนาดที่ใหญ่ขึ้น เร่งให้กาแลกซีทั้งสองชนกันเร็วขึ้น ภายใน 2-3 พันล้านปีนี้ ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า กาแล็กซีที่โลกเราเป็นสมาชิกคือกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งอยู่ใกล้กับกาแล็กซีแอนโดรมีดา เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4 สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏสิ มั พันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกาแล็กซี กาแล็กซี (GALAXY) คือ ระบบที่กว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวฤกษ์ ก๊าซและฝุ่นท้องฟ้า ที่เรียกว่า เนบิวลา และที่ว่างเปล่า รวมกันอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน เพราะมีแรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน เอกภพมีกาแล็กซีหรือดาราจักรประมาณหนึ่งแสนล้านกาแล็กซี จึงจำแนกลักษณะของกาแล็กซี ได้ 4 พวกดังนี้ 1. กาแล็กซีกลมรีรูปไข่ ( ELLIPTICAL GALAXIES ) มีลักษณะกลมกลางสว่างเป็นรูปไข่ที่มีความแบนต่างกันตั้งแต่ อี7 ( แบนมาก ) ถึง อี0 ( ไม่แบนเลย ) 2. กาแล็กซีก้นหอย หรือ แบบกังหัน ( SPIRAL GALAXIES ) มีบริเวณตรงกลางสว่างและมีแขน แยกออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1 ) จุดตรงกลางสว่าง มีแขนหลายแขนใกล้ชิดกัน เรียกว่า สไปรัล เอส เอ 2 ) จุดกลางสว่างไม่มาก มีแขนหลวมๆ เรียกว่า สไปรัล เอส บี เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือกและแอนโดรเมด้า 3 ) จุดกลางไม่เด่นชัด มีแขนแยกออกจากกัน เรียกว่า สไปรัล เอส ซี 3. กาแล็กซีก้นหอยคาน ( BARRED SPIRAL GALAXIES ) มีลักษณะที่มีแกนเป็นศูนย์กลาง ที่ปลายของแกนทั้งสองข้างมีแขนต่อออกไปเป็นกังหัน แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1 ) แกนกลางและแขนสว่างชัดเจน เรียกว่า เอส บี เอ 2 ) แกนกลางสว่างไม่มาก และ มีแขนหลวมๆ เรียกว่า เอส บี บี 3 ) แกนกลางไม่ชัดเจน และ มีแขนหลวมๆที่แยกจากกัน เรียกว่า เอส บี ซี 4. กาแล็กซีไร้รูปร่าง ( IRREGULAR GALAXIES ) มีลักษณะที่แตกต่างไปจาก 3 แบบข้างต้น มีอยู่น้อยมากในเอกภพ เช่น กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่และเล็ก คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน 1. กาแล็กซีคืออะไร และแบ่งได้กี่ประเภท 2. โลกของเราอยู่ในระบบสุริยะที่อยู่ในกาแล็กซีใด มีรูปร่างอย่างไร กิจกรรมเสนอแนะมีรายละเอียดดังนี้ ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "กาแล็กซี" มีรายละเอียดดังนี้ 1. แบ่งสมาชิกในห้องออกเป็น 8 กลุ่ม โดยให้จับสลากศึกษาเกี่ยวกับ 1. ความหมายของกาแล็กซี 2. รูปร่างของกาแล็กซี 3. กาแล็กซีทางช้างเผือก 4. กาแล็กซีแอนโดรมีดา 2. ให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 3. ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกภายในห้องเรียน 4. ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้เกี่ยวกับกาแล็กซีในสมุดบันทึก การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ - สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการคำนวณระยะทางในหน่วยปีแสง อ้างอิง/แหล่งที่มา - กาแล็กซี
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3158 |