" ภูฏาน " ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีชื่อเรียกว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)
อาณาจักร " ภูฏาน " ประเทศแห่งเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ประเทศแห่งเทือกเขาหิมาลัย ชูนโยบายท่องเที่ยว "เชิงคุณภาพ"
หวังเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3 เท่า จากเดิม 30,000 คน เป็น 100,000 คน ภายในปี 2012 และเพิ่ม
การเก็บภาษีท่องเที่ยวรายวันจำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคน (ราว 32,000 บาท)
หลังปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ โดยต้องการขยายการท่องเที่ยวภูฏานให้เติบโตมากขึ้น
เน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกต้องจ่ายค่าวีซา และค่าทำเนียมขั้นต่ำ ราว 200
ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 64,000 บาท) เพื่อเข้ามาเที่ยวในภูฏาน
วัดป่าทักชัง - Taktshang Goemba หรือ "รังเสือ - Tiger Nest" อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวพุทธในภูฏาน
ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตรชายเขตเมืองปาโร
( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/oversea/111695 )
ภูฏาน (Bhutan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก
ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน มารู้จักการกำเนิดของเทือกเขาหิมาลัย
และ ประเทศภูฏาน (Bhutan) กันค่ะ
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการ
ต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
ชื่อ : เทือกเขาหิมาลัย
ชื่ออังกฤษ : Himalaya Range
เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ
ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และ
ยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga)
อาณาเขต
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล
ความสำคัญ
เทือกเขาหิมาลัยเป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ
และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่
ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ
การกำเนิด
เทือกเขาหิมาลัยเกิจากจากชนกันของขอบทวีปตรงส่วนที่เป็นแผ่นดิน ระหว่างอินเดียกับทวีปเอเชีย
จนดันเปลือกโลกให้ดันตัวสูงขึ้นมา
โดยยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกัน
ของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ซึ่งถือว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
ยอดเขาเอเวอเรสต์
ข้อมูลเพิ่มเติม
ประเทศ : ภูฏาน (Bhutan)
สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และ
อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ
มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป
ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน
อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด
ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate
ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด
เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่
นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาล
ในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
ประเทศ ภูฏาน (Bhutan) หรือ ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)
เป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
1. เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
2. ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
3. ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน
ลักษณะภูมิอากาศไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือ
ซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5
องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
1. ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
2. ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
3. ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส
เหมาะแก่การเดินเขา
4. ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า
และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และ
เขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายาก
มากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และ
มีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
ประเทศภูฏาน
ได้รู้จัก ประเทศภูฏาน และเทือกเขาหิมาลัยกันแล้วนะคะ เป็นสถานที่น่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) กำเนิดจากสาเหตุใด
2. ประเทศภูฏานตั้งอยู่ที่ใด
3. ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) มีลักษณะพิเศษอย่างไร
4. เทือกเขาหิมาลัย เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำสำคัญใดบ้าง
5. ยกตัวอย่างยอดเขาบนเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. กิจกรรมทัศนศึกษาสำรวจเทือกเขา ต่าง ๆ ในประเทศไทย
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนนับจำนวนยอดเขาบนเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
และทำสถิติว่าอยู่ในเขตประเทศใดมากที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศของประเทศภูฏาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนลองประดิษฐ์ภูเขาจำลอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range)
ขอขอบคุณ
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/111695
2. https://th.wikipedia.org/wiki/เทือกเขาหิมาลัย
3. https://th.wikipedia.org/wiki/ ประเทศภูฏาน
4. https://www.khirivoyages.com/Photo/Gallery/Gallery/43_060120100634.jpg
5. https://imagecache6.allposters.com/LRG/21/2154/AW8CD00Z.jpg
6. https://www.bloggang.com/data/vinitsiri/picture/1259936722.jpg
7. https://www.khirivoyages.com/Photo/Gallery/Gallery/44_060120100634.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3168