คุณแม่ยังสาว ปิ่น เก็จมณี หลังต้องไปรักษาตัวเพราะบาดเจ็บจากการตกม้า ซึ่งทำให้กระดูกสะโพกร้าว กำลังใจดีขอมีส่วนร่วมในงาน
ภาพไอคอนจาก : https://www.isnhotnews.com
ตั้งแต่ล้มป่วยต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกสะโพกซีกซ้าย มาได้พักใหญ่ ก็ยังไม่ได้เห็นคุณแม่ลูกสามอย่าง “ปิ่น เก็จมณี วรรธนะสิน” ออกมาเผยโฉมเลยสักครั้ง แต่ล่าสุด “ปิ่น” ควงคู่ลูกชายคนโต “น้องเจ้านาย” ออกงาน “78 คำสอนของแม่” ที่อาคารจามจุรีสแควร์
ภาพประกอบจาก : https://www.daradaily.com/news/
ปิ่น เก็จมณี ประสบอุบัติเหตุจากการตกม้า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการขี่ม้าแล้ว นี่นับเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเคยเจอ และเธอเองก็เคยตกม้าในสมัยวัยรุ่น ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็เพียงแค่ช้ำ ๆ เมื่อสแกนร่างกายด้วยเครื่องเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) เพราะเธอไม่สามารถเดินเองได้อีกแล้ว และมักจะปวดกระดูกในตอนกลางคืน ปวดถึงขนาดที่ไม่สามารถนอนหลับได้ และต้องตื่นอย่างทรมานในทุกชั่วโมงของการนอน ในที่สุดเมื่อเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เธอก็พบว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับสะโพกข้างซ้ายของเธอที่ไม่ใช่เพียงการร้าวของกระดูก แต่กระดูกที่สะโพกข้างซ้ายของเธอตาย โดยอาการอยู่ในระดับที่ 2 จาก 3 ระดับ "
ขอบคุณข่าวจาก https://women.kapook.com/view17121.html
ครูได้อ่านข่าวและได้ดูรายการทูไนท์โชว์ เห็นความเข้มแข็งและการมองโลกในแง่ดีแล้วอดชื่นชมคุณปิ่นไม่ได้คุณปิ่นมีกำลังใจที่เข้มแข็งมาก และขอเป็นกำลังใจให้คุณปิ่นด้วยนะค่ะ
จากนั้นมีดูความรู้ที่อยู่ในข่าวกันค่ะ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา(เพิ่มเติม)
เครื่อง MRI
เครื่องตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก | |
MRI คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ (Radio Frequency) เพื่อช่วยในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลที่ได้มีรายละเอียดและความ คมชัดสูงช่วยให้แพทย์ สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือชนิด นี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และอันตรายใดๆ แก่ร่างกาย (https://www.piyavate.com/mri_th.php) |
โรคหัวกระดูกสะโพกขาดเลือด (Avascular necrosis)
ภาพประกอบจาก : https://www.nicholascappello.com/avn-young-hips-that-die/
โรคนี้พบบ่อยในคนที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี เชื่อว่าเกิดจากการที่เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวกระดูกสะโพกมีการอุดตัน ทำให้หัวกระดูกสะโพกค่อยๆตาย ผิวข้อสะโพกจะเสียไป จนในที่สุดหัวกระดูกสะโพกจะยุบตัว ทำให้คนไข้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติและมีอาการเจ็บปวดอย่างมาก ( https://www.thaijoints.com/?page_id=50)
สาเหตุ
ภาวะหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุหลัก (อารีศักดิ์ โชติวิจิตร, 2547 : 243) คือ จากการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่หัวกระดูกต้นขาโดยตรง และจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับอุบัติเหตุ แต่เกิดเนื่องจากการดูแลและปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ในที่สุด จนเกิดผลกระทบต่อตนเองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาการไม่สุขสบายกับการปวดข้อสะโพก การเดินและการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกไม่สามารถทำได้ตามปกติ ซึ่งมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลและมีความเครียดตามมา ซึ่งการรักษาภาวะหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ในทางการแพทย์ได้พิจารณา
(https://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=174)
การปลูกถ่ายกระดูก
การผ่าตัดทดแทนเนื้อกระดูกที่ผิดปกติหรือเป็นโรค เช่น เนื้องอกกระดูก และส่วนกระดูกที่สูญหายไปเพราะการบาดเจ็บและแม้แต่ทดแทนส่วนของกระดูกที่เป็นมะเร็ง ในการ รักษาจำเป็นต้องตัดออก เพื่อมิให้มะเร็งลุกลาม การทำงานของกระดูกปลูกที่ใส่เข้าไปในบริเวณของร่างกาย เป็นลักษณะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกระดูกขึ้นใหม่โดยรอบบริเวณที่วางกระดูกปลูก หรือมีการงอกเข้าไปแทนที่ในชิ้นกระดูกปลูก โดยทำการละลายกระดูกปลูกออกเสียก่อน สรีรวิทยาของกระดูกในภาวะปกติจะมีการละลายกระดูกจากผิวในกระดูก และมีการสร้างกระดูกใหม่ที่ผิวภายนอก โดยวิธีนี้ก็จะทำให้กระดูกเจริญมีขนาดใหญ่ขึ้น การที่กระดูกหักกลับเข้าสู่สภาพปกติเป็นการสร้างกระดูกขึ้นใหม่เชื่อมสนิทจนไม่มีรอยแผลตรงส่วนที่หัก ในการละลายกระดูกหักจะมีเซลล์หลายนิวเคลียส เรียกว่า ออสติโอคลาสต์ (osteoclast) จะทำหน้าที่ทำลายเนื้อกระดูกที่ประกอบด้วยเกลือแร่ แล้วสลายตัวไป ส่วนการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ที่เกิดภายหลังการละลายกระดูก จะมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ซึ่งเปลี่ยนรูปมาจากเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูก เซลล์นี้จะสร้างเนื้อกระดูกระยะแรก (osteoid) ขึ้นที่ผิวของกระดูก โดยจะมีแร่ธาตุมาพอกเกาะเนื้อกระดูกที่สร้างระยะแรกนี้ และตัวเซลล์ที่สร้างกระดูกก็จะแทรกอยู่ในเนื้อกระดูกที่เซลล์สร้างขึ้นเอง ลักษณะของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่นี้บางทีไม่สามารถแยกจากเนื้อกระดูกเดิมได้
วิธีสร้างกระดูกแทนที่กระดูกปลูก (osteoconduction) หมายถึง การที่กระดูกปลูกทำหน้าที่เป็นตัวโครงให้กระดูกใหม่สร้างขึ้นแทนที่ ส่วนการที่กระดูกปลูกเหนี่ยวนำให้มีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ (osteoinduction) คือ การที่กระดูกปลูกทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ส่วน กระดูกของร่างกายผู้ป่วยที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสร้างกระดูกขึ้นโดยรอบกระดูกปลูก
ในกระดูกปลูกขนาดใหญ่ๆ หรือเป็นท่อนกระดูกที่ใส่เข้าไปในร่างกายในระยะแรกๆ จะมีการละลายกระดูกจนเกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง (osteoporosis) ทำให้กระดูกปลูกในระยะนี้อ่อนแอทานน้ำหนักไม่ได้ กระดูกจะเริ่มมีการละลายซึ่งจะกินเวลานานเป็นเดือนหรือหลายเดือน กระดูกใหม่ก็จะเกิดขึ้นตามแนวแรงกดที่กระดูกปลูกได้รับ กระดูกปลูกส่วนผนังกระดูก (cortex) จะติดได้ยากกว่ากระดูกปลูกที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ (cancellous) เพราะว่าลักษณะที่เป็นรูพรุนของกระดูกปลูกลักษณะนี้ จะทำให้มีการสร้างหลอดเลือดเข้าไปทดแทนได้เร็วกว่า (https://guru.sanook.com/encyclopedia)
การรักษา
ตามระยะความรุนแรงของโรคเป็นระดับขั้น เพื่อรักษาให้กระดูกต้นขาได้คงสภาพตามเดิมไว้ให้มากที่สุด ในปัจจุบันการบำบัดรักษาแบ่งออกเป็น การรักษาโดยไม่ผ่าตัด คือ พยายามจำกัดการเคลื่อนไหวหรือลดสาเหตุซึ่งมีมากมายให้ลดลง การให้ยา การลดการใช้งานของข้อ โดยเฉพาะการลงน้ำหนักของข้อเพื่อรักษารูปร่างของกระดูกเดิมไว้จนถึงที่สุดจนไม่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้สะโพกและขาได้ตามปกติ
ในปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีการนำเทคนิคการผ่าตัดใหม่ ๆ มาใช้ในการผ่าตัด การใช้ตัวยึดระหว่างอุปกรณ์ข้อสะโพกเทียมกับกระดูกต้นขาโดยใช้ซีเมนต์(bone cement)เป็นตัวยึดเพื่อให้เกิดความแข็งแรงคงทน เพราะเป้าหมายที่สำคัญของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทั้งข้อชนิดใส่ซีเมนต์เป็นตัวยึดนี้คือ การบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรค เพื่อดำรงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวและความมั่นคงของข้อสะโพก ดังนั้นการให้การพยาบาลผู้ป่วยจึงมีความสำคัญตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และภายหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
คำถามสู่การอภิปราย
1. โรคกระดูกสะโพกตายของปิ่นเกิดจากสาเหตุใด
2. เครื่องมือ MRI ใช้หลักการใดในการทำงาน
3. แนวทางการรักษาโรคกระดูกสะโพกตายมีวิธีการใดบ้าง
4. การปลูกถ่ายกระดูกมีวิธีการอย่างไร
ความรู้คู่บูรณาการ
บูรณาการกับวิชาพลศึกษา
กิจกรรมเพิ่มเติม
ศึกษาเรื่องกระดูกเพิ่มเติม
อ้างอิง
https://women.kapook.com/view17121.html
https://www.piyavate.com/mri_th.php
https://www.thaijoints.com/?page_id=50
https://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=174
https://guru.sanook.com/encyclopedia
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3187