แนวคิดแบบ “เกลือจิ้มเกลือ” จัดการน้ำเสียด้วยเถ้าถ่านจากโรงงาน


862 ผู้ชม


วิจัยทั้งปัญหาน้ำเสียและเถ้าถ่านที่เกิดจากโรงงานล้วนก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม   

แนวคิดแบบ “เกลือจิ้มเกลือ”  จัดการน้ำเสียด้วยเถ้าถ่านจากโรงงาน
         นายสุทธิกร สุวรรณไตรย์ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยขอนแก่น เห็นปัญหาพี่น้องทางใต้ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ทำเหมืองดีบุกเก่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จะได้รับอันตรายจากอาร์เซนิคหรือสารหนู ซึ่งสารหนูส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น เป็นสาเหตุของโรคไข้ดำที่ทำให้มีอาการเป็นผืนดำบริเวณร่างกายที่สัมผัสกับโลหะหนัก  และน้อยคนที่ศึกษาเรื่องการปนเปื้อนของสารหนู เนื่องจากเราตรวจสอบโลหะหนักชนิดนี้ได้ยาก    

 แนวคิดแบบ “เกลือจิ้มเกลือ” จัดการน้ำเสียด้วยเถ้าถ่านจากโรงงาน
      งานวิจัยของเขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาว่า การใช้เถ้าถ่านหินเคลือบด้วยเฟอรัสคลอไรด์นั้นจะช่วยลดปริมาณสารหนูได้ดีหรือไม่ ซึ่งเฟอรัสคลอไรด์นี้มีสมบัติในการจับโลหะหนักอย่างนิกเกิล โครเมียม รวมถึงสารหนู โดยเบื้องต้นทดสอบในน้ำที่สังเคราะห์ให้มีปริมาณสารหนู จากนั้นทดสอบการดูดซับโลหะหนักของเถ้าถ่านหิน ซึ่งพบหากไม่เคลือบเฟอรัสคลอไรด์จะลดปริมาณสารหนูได้ 50% แต่หากเคลือบเฟอรัสคลอไรด์จะลดปริมาณสารหนูลงได้ถึง 90%
       สุทธิกรยังไม่ทดสอบความสามารถการดูดซับสารหนูในน้ำเสียของจริง ซึ่งจะเริ่มทดสอบได้เมื่อระบบบำบัดน้ำในระดับห้องปฏิบัติการที่เขาออกแบบมาเสร็จสิ้นเสียก่อน โดยระบบดังกล่าวจะบำบัดน้ำเสียได้ในอัตรานาทีละ 250 มิลลิลิตร เมื่อประสบความสำเร็จจึงจะขยายสู่ระดับการบำบัดจริงต่อไป  ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญของงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์หาสารหนูซึ่งทำได้ยากและมีความแปรปรวนสูง
                           ที่มา : https://news.siamza.com/read/309043/         

ประเด็นการศึกษา  สารหนู
สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะ จะมีสีเหลืองห
รือสีเทา สารหนูเป็นสารที่รู้จักกันมานานกว่า 3,000 ปี โดยมีการใช้ในทางการแพทย์และใช้เป็นยาพิษพบได้ทั่วไปในส่วนประกอบของหิน ถ่านหินและดิน  การชะล้างของหินและแร่ที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบ เช่น อาร์ซีโนไพไรท์ (FeAsS)ทำให้พบสารหนูทั่วไปในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในดิน พบได้ตั้งแต่ 0.1 - 40 mg/Kg และอาจพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ทะเลสาปแม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำพุ  
สารหนูในสิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณขึ้นเนื่องจากมีการทำเหมืองแร่   การถลุงโลหะ  ออกไซด์ของสารหนูในรูป อาร์เซนิคไตรออกไซด์ถูกนำมาใช้ในการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น สารหนูในรูปของธาตุจะใช้เป็นส่วนผสมของโลหะอัลลอยด์ เช่น ผสมกับตะกั่วในแบตเตอรี หรือในรูปของ
แกลเลียมอาร์เซไนด์ (gallium arsenide) สำหรับเคลือบสีในนาฬิกาดิจิตอล   
ร่างกายสามารถขับสารหนูออกได้เองในเวลา 2-3 วัน เมื่อได้รับสารหนูปริมาณไม่มากนัก ปริมาณของสารหนูในร่างกายสามารถตรวจพบได้จากปริมาณของสารหนูที่พบได้ในเส้นผมและขน
ประเด็นคำถาม
1.  เขียนสัญลักษณ์ของธาตุสารหนู   และอยู่หมู่ใดของตารางธาตุ
2.  ถ้าได้รับสารหนูปริมาณมากเกินไปจะเกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
3,  ในชีวิตประจำวันคนเรามีความเสี่ยงต่อการนำโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายทางใดบ้าง  
กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้นักเรียนสืบค้นนอกจากสารหนูยังมีโลหะหนักใดบ้างที่จัดเป็นสารพิษต่อร่างกาย  
การบูรณาการ
     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  อธิบายความหมายของเกลือจิ้มเกลือ

ที่มา :  
    https://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=119  
    https://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue2/articles/art2.html
    https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080718073243AAfs4mc

 

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3250

อัพเดทล่าสุด