ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุอันดับหนึ่งของเมืองไทย


1,195 ผู้ชม


ป่าพรุสิรินธรหรือป่าพรุโต๊ะแดง เป็นป่าที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงสนพระทัยเป็นกรณีพิเศษโดยเสด็จด้วยพระองค์เองมาที่ป่าแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง   

ป่าพรุสิรินธร  ป่าพรุอันดับหนึ่งของเมืองไทย
                  
       ป่าแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 
สยามบรมราชกุมารี”  อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ภายใต้โครงการศูนย์ศึกษา
การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดนราธิวาส  โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ
ป่าพรุสิรินธร มีคำขวัญประจำผืนป่าว่า “พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน” ถือเป็นป่าพรุสมบูรณ์ที่มีขนาดใหญ่
ที่สุดในเมืองไทย มีพื้นที่ประมาณ 125,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในนราธิวาส คือ อำเภอเมือง ตากใบ 
สุไหงโกลก และสุไหงปาดี

                                                       ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุอันดับหนึ่งของเมืองไทย

                                                     ที่มา  https://images.google.com/imgres?imgurl
          ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ป่าพรุสิรินธรจึงมีความสำคัญกับชุมชนรอบๆผืนป่าอย่างมาก
 ทั้งเป็นแหล่งจับปลาเพื่อการบริโภคและป่าสวยงามมาส่งขาย เป็นแหล่งเก็บหาของป่า อาทิ ผลหลุมพี เที๊ยะ เงาะป่า มะม่วงป่า น้ำผึ้ง เห็ด ผักกูด ใบกะพ้อ เป็นต้น
              
          ความสำคัญของป่าพรุสิรินธรอีกอย่างหนึ่งก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในอันดับต้นๆของนราธิวาส 
เป็นดังห้องเรียนธรรมชาติอันมากไปด้วยสิ่งน่าสนใจและเรื่องราวให้ชวนค้นหา โดยทางผู้ดูแลป่าพรุได้ทำเส้นทางท่องเที่ยวหลักๆไว้บริเวณ  "ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” อ.สุไหงโกลก

ที่มา :  https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000144210

ประเด็นการศึกษา  ชนิดของป่าไม้ไทย
 
         ป่าไม้ถือเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่และสำคัญที่สุด  จากสภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อนมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน มีสภาพภูมิประเทศตั้งแต่หาดทรายชายทะเล
จนถึงยอดเขาสูงถึง ๒,๕๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บางพื้นที่มีความแห้งแล้งและมีไฟป่าเป็นประจำ 
ดินแปรผันไปมากมายหลายชนิด มีคุณลักษณะและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันไปจึงทำให้ประเทศไทยมีป่าอยู่
หลายชนิดด้วยกัน สามารถแบ่งป่าในประเทศไทยออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)  ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 
       ป่าไม่ผลัดใบ เป็น ป่า ที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี ป่ากลุ่มนี้มีประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ป่า ของประเทศไทย และสามารถแยกออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้อีกหลายชนิด คือ 
          1. ป่าดิบชื้น มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำทะเล จนถึงระดับ 100 เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 2,500 มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมีมากชนิด เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม หวาย ไผ่ต่าง ๆ และเถาวัลย์นานาชนิด 
         2. ป่าดิบแล้ง มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามบริเวณที่ราบและหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี มีพรรณไม้หลักมากชนิดด้วยกัน เช่น กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน เต็งตานี พะยอม สมพง มะค่า ยางน่อง กระบก พลวง เป็นต้น พืชชั้นล่างก็มี
พวกปาล์ม พวกหวาย พวกขิง ข่า แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก 
        
3. ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้พบอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป มีกระจัดกระจายอยู่
ทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ราบสูงภาคเหนือ  ในป่าชนิดนี้บรรยากาศมีความชื้นสูงมากจะเห็นได้ว่าตามต้นไม้ 
มีพืชจำพวกมอสปกคลุมอยู่ทั่วไป ป่าตามบริเวณหุบเขามีความอุดมสมบูรณ์มากและประกอบด้วย
พืชพันธุ์ไม้นานาชนิด ส่วนบนสันเขาและยอดเขาบางแห่งมักจะมีพืชพันธุ์อยู่น้อยชนิดกว่าตามหุบเขา  ป่าชนิดนี้ส่วนมากไม่มีการทำไม้ในอดีต เพราะว่าภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชัน ไม่มีทางชักลาก เข้าไปถึงได้ลำบาก 
พันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ ได้แก่ไม้ก่อต่าง ๆ เช่น ก่อเดือย ก่อตี่ ก่อแป้น เป็นต้น นอกจากนั้นก็มีไม้ยาง 
ไม้ตะเคียน เช่นเดียวหรือคล้ายกับป่าดงดิบอื่น ๆ 
        
4. ป่าสน มักจะกระจายเป็นหย่อม ๆ ทางภาคเหนือ ภาคระวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ
ภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,600 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 เมตร พรรณไม้
ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด มีสนสองใบกับสนสามใบเป็นหลัก นอกนั้นก็มีพวกไม้เหียง ไม้พลวง ก่อ กำยาน ไม้เหมือด พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่าง ๆ และพืชกินแมลงบางชนิด 
        5. ป่าพรุ และ ป่าบึงน้ำจืด เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้ 
อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เท่าที่มีการสำรวจ
พบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า 470 ชนิด และในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง 50 ชนิด 
ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,300-2,600 มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว 
หว้าน้ำ หว้าหิน ช้างไห้ ตีนเป็ดแดง จิกนม เป็นต้น พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ ขวน ปาล์มสาคู รัศมีเงิน กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น 
       6. ป่าชายเลน หรือ ป่าบึงน้ำเค็ม เป็นป่าน้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่ว ๆ ไป นับเป็นเอกลักษณ์น้อยชนิดและขึ้นเป็นกลุ่มก้อน เท่าที่สำรวจพบมี 70 ชนิด พรรณไม้หลักมีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น นอกนั้นเป็นพวกแสม ไม้ถั่ว ประสัก หรือพังกา โปรง ฝาก ลำพู-ลำแพน เป็นต้น  ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพ ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก เป็นต้น 
      7. ป่าชายหาด เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน พรรณไม้น้อยชนิด และผิดแผกไปจาก ป่า อื่นอย่างเด่นชัด  ถ้าเป็นแหล่งดินทรายจะมีพวกสนและพรรณไม้เลื้อยอื่น ๆ บางชนิด ถ้าดินเป็นกรวดหิน 
พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง ไม้เมา หูกวาง และเกด เป็นต้น

                                                  ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุอันดับหนึ่งของเมืองไทย

                                    ที่มา :  https://images.google.com/imgres?imgurl

      ป่าผลัดใบ ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ผลัดใบหรือทิ้งใบเป็นองค์ประกอบสำคัญ การผลัดเปลี่ยนใบจะใช้เวลา
ค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง สังคมพืชกลุ่มนี้มีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย และแยกเป็นชนิดย่อย ๆ คือ 
      1. ป่าเบญจพรรณ มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขาที่สูง
ปริมาณน้ำฝนไม่เกิน ๑,๐๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี เป็นสังคมพืชที่มีความหลากหลายทางมวลชีวะมากสังคมหนึ่ง พรรณไม้จะผลัดใบมากในฤดูแล้งเป็นเหตุให้พรรณไม้เหล่านี้มีวงปีในเนื้อไม้หลายชนิด พรรณไม้ขึ้นคละปะปนกัน ที่เป็นไม้หลักก็มี สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พฤกษ์ถ่อน  ตะเคียนหนู หามกราย รกฟ้า พี้จั่น และไผ่ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น 
      2. ป่าเต็งรัง มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร   ดินมักเป็นดินทรายและดินลูกรัง มีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน ๑,๐๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมักเป็นชนิดที่
ทนแล้งทนไฟป่า เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด ประดู่ แสลงใจ เม่า มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน ฯลฯ เป็นต้น 
พืชชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพวกหญ้า ไผ่ต่าง ๆ ที่พบมากที่สุดคือไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก พวกปรง พวกขิง ข่า กระเจียว 
เปราะ เป็นต้น 
     3. ป่าหญ้า เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ถูกทำลายไปหมด ดินมีสภาพ
เสื่อมโทรมจนไม้ต้นไม่  อาจขึ้นหรือเจริญงอกงามต่อไปได้ พวกหญ้าต่าง ๆ จึงเข้ามาแทนที่ พบได้ทางภาคเหนือ 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย  หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา แฝก หญ้าพง อ้อ แขม เป็นต้น ไม้ต้นมีขึ้นกระจายห่าง ๆ กันบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า สีเสียดแก่น ประดู่   ติ้ว แต้ว ตานเหลือง และปรงป่า เป็นต้น ไม้เหล่านี้ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี

                                                 ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุอันดับหนึ่งของเมืองไทย

                                       ที่มา  https://images.google.com/imgres?imgurl

ประเด็นคำถาม
         ป่าพรุสิรินธรจัดเป็นป่าประเภทใด  มีลักษณะอย่างไร

การบูรณาการ
       กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เขียนคำขวัญในการอนุรักษ์ป่าพรุ
       กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ       หาคำศัพท์ป่าประเภทต่างๆ  
                                                              เชิญชวนนักท่องเทียวมาเที่ยวป่าพรุสิรินธร
       
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ  รายชื่อพันธ์ไม้ในป่าพรุ

กิจกรรมเสนอแนะ  สืบค้นระบบนิเวศในป่าพรุ  ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ที่มา  :  https://www.tropicalforest.or.th/p38.htm  
https://www.trekkingthai.com/forest/frguide/frguide07.htm  
https://www.trekkingthai.com/forest/frguide/frguide.htm  
https://www.trekkingthai.com/forest/frguide/frguide01.htm 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3253

อัพเดทล่าสุด