พบปลาไหลเผือกบนตัวปลามีเลข


829 ผู้ชม


นายเกตุ ทองอยู่ ชาวบ้านไปจับปลาและพบปลาไหลเผือกติดไซที่ดักอยู่มีลักษณะสีทอง บนตัวปลามีเลขปรากฏเป็นสีดำเลข 41   

                          พบปลาไหลเผือกบนตัวปลามีเลข

             นายเกตุ  ทองอยู่  ชาวบ้านไปจับปลาและพบปลาไหลเผือกติดไซที่ดักอยู่มีลักษณะสีทอง  บนตัวปลามี
เลขปรากฏเป็นสีดำเลข  41 ชาวบ้านแห่มามุงดูเลขเด็ด  บางคนไม่เคยเห็นมาก่อน สร้างความแปลกประหลาดให้
ชาวบ้าน  
                               ที่มา  :  https://www.thairath.co.th/content/region/118905
ประเด็นศึกษา  ปลาไหลนาหริอปลาไหลบึง  เป็นปลา  ส่วนรากปลาไหลเผือกหรือไม้เท้าฤาษี  เป็นพืชสมุนไพร
          ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก 
มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลา
ทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหางแบนยาว
คล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป กระดูกเหงือกมีทั้งหมด 3 คู่  ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็น
สีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว 
หรือสีด่าง (Albino, Lutino) มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร

           ปลาไหลนา จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาไหลนา ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหารเมื่อยังเล็กจะเป็นตัวเมีย และจะกลายเป็นตัวผู้เมื่อโตขึ้น ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในการวางไข่ คือ เดือนสิงหาคม โดยไข่จะมีเพียง 1 ฝัก เป็นลักษณะไข่จม
ไม่สัมผัสกับวัสดุใด ๆ ใต้น้ำ เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบอกเมื่ออายุได้ 5 - 6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบอกหายไป และเริ่มกินอาหารได้เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้ว
จะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม 
ปลาไหลเผือกพบได้ทั่วไป ทั่วทุกภาคในประเทศไทย และพบในพม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว อินโดนีเซีย ซึ่งคนพื้นเมือ
งในประเทศเหล่านี้ใช้ปลาไหลเผือกในการเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ไข้มาเลเลีย แก้ไข้เรื้อรัง แก้ปวด แก้ฝี แก้แผลเรื้อรัง แก้บวม แก้บิด แก้ปวดท้อง เป็นต้น
 
                                              พบปลาไหลเผือกบนตัวปลามีเลข

                                                     ที่มา  :  https://www.google.co.th/imglanding

ลักษณะของพืช
             ปลาไหลเผือกเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยแข็ง เรียวปลายแหลม ดอกเป็นช่อใหญ่ยาว สีเหลือง น้ำตาลผลสีน้ำตาลรูปไข่
การปลูก
             การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดหรือจะใช้กิ่งตอนก็ได้ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ 
ความชื้นสูง ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น การปลูกควรจะปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกและวิธีดูแลรักษาเช่นเดียวกับไม้ทั่วๆไป
นั่นเอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
               รากแห้ง (รากกลมยาว เป็นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งสีขาว)
รสและสรรพคุณยาไทย
               รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย รากใช้เป็นยาแก้ไข้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
               รากปลาไหลเผือกมีสารสำคัญ ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ไม่มีรายงานทางเภสัชวิทยาของรากปลาไหลเผือกแต่มีรายงานว่า ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาเลเรียในห้องทดลองได้  ส่วนเรื่องพิษเฉียบพลัน กองวิจัยการแพทย์ 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษ
วิธีใช้
             เอารากแห้งของต้นปลาไหลเผือกมาแก้ไข้ได้ โดยเอามาใช้ครั้งละ 1 กำมือ(หนัก 8-15 กรัม)  ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งเช้าและเย็นหรือเวลาที่เป็นไข้สารสกัดรากปลาไหลเผือกทำให้เกิดการตื่นตัวทางเพศ ทำให้มีความคงทนในการมีเพศสัมพันธ์ได้นานขึ้นจากความเชื่อของคนพื้นเมืองในประเทศที่มีสมุนไพรปลาไหลเผือกอยู่ เชื่อว่าสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณในการเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งมีการศึกษาทั้งในหนูสูงอายุ หนูอายุปานกลาง หนูหนุ่มที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดรากปลาไหลเผือกถูกปลุกเร้าทางเพศและมีความคงทนในการมีเพศสัมพันธ์ได้ดีกว่าหนูกลุ่มควบคุม ซึ่งการศึกษาดังกล่าวสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของคนพื้นเมืองเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในคนถึงประสิทธิผลของสมุนไพรชนิดนี้
             สารที่มีรสขมในรากปลาไหลเผือกคือ Eurycomalactone, Eurycomanol 
และ Eurycomanone ทั้งสามชนิดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาเลเรียฟาลซิปาลัม (Plasmodium falciparum) ในหลอดทดลอง
จากการใช้ของหมอยาพื้นบ้านที่ใช้รากปลาไหลเผือกต้มกินแก้มาลาเรีย และในการศึกษาทดลองหลายการศึกษา
พบว่า  สารสกัดจากรากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง ซึ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จาก
ปลาไหลเผือกของคนพื้นเมือง ซึ่งต้องมีการหาขนาดที่เหมาะสมและปลอดภัยที่จะใช้ในคนต่อไป
สารสกัดรากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ต้านเชื้อ HIV
            ในการตรวจสอบเบื้องต้น(Screening Test) สำหรับฤทธิ์การต้านมะเร็งพบว่า สารสกัดปลาไหลเผือกเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด (Human lung cancer (A-549) cell lines) เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (human breast cancer (MCF-7) cell lines) นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย
           สารสกัดรากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)  มีการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากรากปลาไหลเผือกกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายซึ่งนำไปสู่การจดสิทธิบัตรสารเคมีและวิธีการสกัด โดยมีสรรพคุณในการเพิ่มกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของนักกีฬา

ประเด็นคำถาม
         1. ปลาไหลเผือกกับปลาไหลนาเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
         2. รากปลาไหลเผือกมีประโยชน์มากมายมีลักษณะอย่างไร  
การบูรณาการ
            กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ  เรียนรู้การขยายพันธุ์ปลาไหลเผือก  วิธีการเก็บรักษา
กิจกรรมเสนอแนะ
       สืบค้นข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์  วงศ์  การรักษาและข้อควรระวังในการใช้รากปลาไหลเผือก
 
ที่มา  :  https://www.samunpai.com/samunpai/show.php?cat=1&id=76
           https://www.thrai.sci.ku.ac.th/node/909

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3255

อัพเดทล่าสุด