โฆษณาสารอาหาร ทำให้ฉลาด ใช้ลูกเล่นไม่ระบุชื่อ ผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องขออนุญาตจากอย.
อย. เตือนประชาชนไม่เป็นเหยื่อของโฆษณาสารอาหาร ทำให้ฉลาด ใช้ลูกเล่นไม่ระบุชื่อ ผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องขออนุญาตจากอย.
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมี การโฆษณาอาหารในลักษณะไม่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ โดยบอกแต่เพียงสรรพคุณของสาร อาหาร เช่น วิตามินบี 12 ทำให้ฉลาด เกิด
ความคิดดีๆ ซึ่งการโฆษณาที่ไม่ระบุสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถทำได้โดย
ไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. จากนั้นผู้ประกอบการจะออกโฆษณาชุดใหม่ เพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีสารอาหาร
ดังกล่าว เช่น มีวิตามินบี 12 โดยมุ่งหมายให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าถ้ากินผลิตภัณฑ์ของตนก็จะได้วิตามินบี 12
ก็จะทำให้ฉลาด เกิดความคิดดีๆ ซึ่งวิธีโฆษณาแบบนี้เป็นวิธีที่ขาดจริยธรรม ทำให้ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภค
ที่ไม่เหมาะสม และหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงอยู่ เช่น มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ก็อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการได้รับปริมาณกาเฟอีน เกินขนาด รวมทั้งทำให้เด็กและสตรีมีครรภ์ซื้อมาดื่มด้วยความเข้าใจผิดได้
รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวว่า ในทางวิชาการแล้ว "วิตามิน บี 12" เป็นสารอาหารที่มี ความจำเป็นต่อร่างกาย
ในการสร้างเม็ดเลือด และช่วยการทำงานของระบบประสาท แต่ไม่ได้ หมายความว่าการช่วยการทำงานของ
ระบบประสาท จะทำให้ฉลาดขึ้น เพราะความฉลาดขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งพันธุกรรม การบริโภคอาหาร
การเลี้ยงดู การศึกษาค้นคว้า ฯลฯ ด้วย ทั้งนี้ อย. ไม่ได้ปิดกั้นเรื่องการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหาร แต่ขอให้ทำอย่างมีจริยธรรม มิ ใช่มุ่งหวังแต่การหารายได้เพียงอย่างเดียว สำหรับโฆษณาที่มีความผิดชัดเจน อย. จะดำเนิน คดีตามกฎหมาย และให้ยุติการโฆษณานั้น แต่หากไม่ยุติด้วยเห็นว่าโทษปรับน้อย ก็จะมี มาตรการเสนอเข้าคณะกรรมการ
อาหารเพื่อเพิกถอนทะเบียนตำรับสำหรับอาหารที่โฆษณานั้น ต่อไป
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 24 กันยายน 2553
ประเด็นสำคัญ สารอาหารประเภทวิตามิน
วิตามินเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณที่น้อยมาก แต่ขาดไม่ได้
ร่างกายขาดวิตามินจะทำให้มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกาย
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการปฏิบัติงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ควบคุมการใช้พลังงาน ทำให้ร่างกาย
มีความสามารถในการต้านทานโรค ควบคุมระบบประสาท ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย
วิตามินแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. วิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี และวิตามินเค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี
ที่มา : https://www.google.co.th/imglanding
ตารางแสดงแหล่งอาหารและความสำคัญของวิตามิน
ชนิดของวิตามิน | แหล่งอาหาร | ความสำคัญ |
วิตามินเอ | ตับ ไข่แดง นม น้ำมันตับปลามะละกอสุก มะม่วงสุก กล้วย ฟักทอง มันเทศ | -ช่วยบำรุงสายตา ผิวหนัง กระดูกและฟัน ถ้าขาด ไม่สามารถมองเห็นที่สลัว ๆ ตาแห้ง ผิวหนังแห้ง |
วิตามินดี | ตับ ไข่แดง | -ช่วยสร้างกระดูก ถ้าขาด เป็นโรคกระดูกอ่อน ฟันผุง่าย |
วิตามินอี | ผักใบเขียว น้ำมันพืช ถั่วชนิดต่าง ๆ | ควบคุมระบบการสืบพันธุ์ ถ้าขาดทำให้ เป็นหมัน |
วิตามินเค | ผักขม กะหล่ำปลีมะเขือเทศ ถั่วเหลือง เนื้อหมู ตับ น้ำมันพืช | -ช่วยให้เลือดแข็งตัว ถ้าขาด เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลไม่หยุด |
วิตามินบี 1 | ข้าวซ้อมมือ เนื้อหมู ตับ ไข่ ถั่ว มันเทศ ยีสต์ | -บำรุงประสาทและหัวใจ ถ้าขาด เป็นโรคเหน็บชา |
วิตามินบี 2 | เนื้อสัตว์ ตับ นม ยีสต์ ผักใบสีเขียว | -การเจริญเติบโตปกติ ผิวหนัง ลิ้นตา มีสุขภาพดี ถ้าขาด เป็นโรคปากนกระจอก |
วิตามินบี 6 | ตับ นม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เนื้อ | ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร |
วิตามินบี 12 | เนื้อหมู เนื้อปลา ตับ ไข่ นม | -การเจริญเติบโตของเม็ดเลือด ถ้าขาด เป็นโรคโลหิตจาง เจ็บลิ้นและปาก ประสาทไขสันหลังเสื่อม |
วิตามินซี | ผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว สับปะรด มะเขือเทศ ฝรั่ง | -รักษาสุขภาพเหงือกและฟัน หลอดเลือดแข็งแรง ถ้าขาด โรคเลือดออกตามไรฟัน เส้นเลือดฝอยเปราะ |
ประเด็นคำถาม
1. นอกจากร่างกายจะได้วิตามินจากอาหารที่กินแล้ว นักเรียนคิดว่าร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินได้
บ้างหรือไม่
2. นักเรียนควรจะซื้อวิตามินมากินเพิ่มเติมเองดีหรือไม่ เพราะเหตุใด
กิจกรรมบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อาหารหลัก 5 หมู่
กิจกรรมเสนอแนะ สำรวจอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ มีอาหารชนิดใดบ้าง ที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
เกลือแร่และวิตามิน
ที่มา https://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/pansre002/section4_p02.html
จันทรา ชาญนุวงศ์ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3267