ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ MUSLIMTHAIPOST

 

ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ


885 ผู้ชม


ศึกษาบรรดาศพอาบยาอียิปต์โบราณเรือนร้อย เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของมัมมี่เป็นครั้งแรก พบว่าได้ว่าตายด้วยโรคมะเร็งเพียงรายเดียวเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า มะเร็งไม่ใช่เป็นโรคที่เป็นเองโดยธรรมชาติ   

                           ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ     ผลการตรวจมะเร็งจากมัมมี่ี(่Mummy)อียิปต์โบราณ    ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ

        ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศอย่างหนักแน่น เมื่อเสร็จจาก
การศึกษาบรรดาศพอาบยาอียิปต์โบราณเรือนร้อย เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของมัมมี่เป็นครั้งแรก เปิดเผยว่า 
ในจำนวนศพอาบยาหลายร้อยนี้ วินิจฉัยโรคได้ว่าตายด้วยโรคมะเร็งเพียงรายเดียวเท่านั้น นับว่าน้อยมาก
และมีความเห็นว่าโรคมะเร็งได้มาเป็นกันมากขึ้นอย่างมโหฬาร หลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนี่เอง
ในสังคมของชาติอุตสาหกรรม โรคมะเร็งกลายมาเป็นสาเหตุของการตายรองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
 ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ

                ( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์  https://www.thairath.co.th/content/life/120607 )

       จึงกล่าวได้ว่า มะเร็งไม่ใช่เป็นโรคที่เป็นเองโดยธรรมชาติ หากแต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะการหามาใส่ตัวเอง 
จากการทำตัวเอง ในการประพฤติปฏิบัติตัว และการทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดเป็นพิษ หรือเกิดจากสารก่อมะเร็ง 
คือกลุ่มสารที่ชักนำหรือมีโอกาสที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นมะเร็งในมนุษย์ได้ ได้แก่ อะฟลาทอกซิน 
ไดออกซิน แอสเบสตอส รวมทั้งแสงแดดอีกด้วย  มารู้จักสารก่อมะเร็งกันนะคะ

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่   3  สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.1   เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
                                และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และ
                                จิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว  3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   
                                การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
                                และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                  
เรื่อง   สารก่อมะเร็ง

           สารก่อมะเร็ง หมายถึง กลุ่มสารที่ชักนำหรือมีโอกาสที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นมะเร็งในมนุษย์ได้ 
การทดสอบความเป็นพิษของสารก่อมะเร็งมีขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนยุ่งยาก แม้ว่าจะสามารถ
ทดสอบพบว่าสารนั้นๆ มีแนวโน้มการก่อมะเร็งสูง แต่ก็ยากที่จะระบุถึงระดับความเป็นพิษ หรืออันตรายที่
เกิดขึ้นว่ารุนแรงมากน้อยเพียงไร
                                 ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ
                                                 โครงสร้างสารอะฟลาทอกซิน (aflatoxins)

         สารก่อมะเร็งอีกความหมาย หมายถึง สาร วัตถุ นิวไคลด์กัมมันตรังสี หรือการแผ่รังสีใด ๆ ที่เป็น
 ตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพของจีโนม หรือการรบกวนกระบวนการ
 สร้างและสลายในระดับเซลล์ ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดก็ถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งการกระตุ้นนั้นจะมา
 จากรังสีที่แผ่ออกมา อาทิ รังสีแกมมาหรืออนุภาคแอลฟา สารก่อมะเร็งอย่างหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไปคือ ควันบุหรี่

         สารก่อมะเร็งที่พบมีหลาย ชนิด ได้แก่ อะฟลาทอกซิน ไดออกซิน แอสเบสตอส รวมทั้งแสงแดดด้วย
สารก่อมะเร็งเหล่านี้บางชนิด เมื่ออยู่ในสภาวะหนึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อาจจะเปลี่ยนเป็น
สารก่อมะเร็งได้หากมีตัวเร่ง ปฏิกิริยา (catalysts) หรือเมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่าน กระบวนการทางชีวภาพ
(biological activities) ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์หรือพืช ตัวอย่างเช่น สารไนเตรตเมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกาย 
จะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนได้ อันเนื่องจากกระบวนการย่อยอาหาร ในกระเพาะอาหาร
ของมนุษย์ เป็นต้น

         และสารบางชนิดอาจจะเป็นตัวช่วยเสริมฤทธิ์ สารก่อมะเร็ง แต่สามารถกระตุ้นให้ก้อนเนื้อร้าย 
เจริญเติบโตขึ้น ซึ่งก้อนเนื้อร้ายนี้เดิมเกิดขึ้น เนื่องจากสารก่อมะเร็งมาก่อน นอกจากนี้ สารก่อมะเร็ง
บางชนิดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดมะเร็งในรุ่นลูกหลานต่อไปได้

       ตัวอย่างของสารก่อมะเร็งต่อไปนี้ เป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งบางชนิด
ก็ทราบแน่นอนแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่บางชนิดก็จัดอยู่ในระดับที่มีแนวโน้ม ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งได้

                     ชื่อสาร                                                               แหล่งของสารก่อมะเร็ง 
      อะฟลาทอกซิน (aflatoxins) 
      อะมิโนไตรอะโซล (aminotriazol)                                   พบในประเภทอาหารที่ขึ้นรา
      2,4-D 
      2,4-Dichlorophenoxy acetic acid 
      2,4,5-T 
      2,4,5-Trichlorophenoxy acetic acid                              ยากำจัดวัชพืช  
      แอสเบสตอส (asbestos) 
      เบนโนมิล (bennomyl) 
      แคปแทน (captan)                                                            พบในวัสดุก่อสร้าง  
      คาร์เบนดาซิม (carbendazim) 
      จุนสี (copper sulfate) 
      ไดโนแคป (dinocap)                                                       ยากำจัดเชื้อรา  
      เบนซิน (benzene) 
      คาร์บอน เททระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) 
      ไตรคลอโร เอทิลีน (trichloro ethylene)                        ตัวทำละลาย 
      ไบทูเมน (bitumen) 
      คาร์บาริล (carbaryl) 
      คลอเดน (chlordane)                                                       สารอุดรอยรั่ว สารกันน้ำ 
      ไดคลอฟอส (dichlorvos) 
       มาลาไธออน (malathion) 
      นิโคติน (nicotine) 
      เพนตาคลอฟินอล (pentachlorphenol) 
      เพอร์เมธริน (permethrin)                                                 ยาฆ่าแมลง 
      ครีโอโสต (creosote) 
    ไซเปอร์เมธริน (cypermethrin)                                          สารในน้ำยารักษาเนื้อไม้ 
      1,2,ไดคลอโรมีเธน (1,2,-dichloromethane)                 สารช่วย (additive) ในน้ำมันที่มีสารตะกั่ว  
    ไดคลอโรมีเธน (dichloromethane)                                  สารช่วย (additive) ในน้ำยาล้างสีทาบ้าน  
     ไดเอทิลีน ไกลคอล (diethylene glycol)                          ตัวทำละลายในน้ำยาขจัดรอยเปื้อน 
    ไดเอทิลสตีลเบสเตอรอล (diethylstilbesterol) และอื่นๆ    ฮอร์โมนสังเคราะห์  
     สารไนโตรซามีน                                                              สารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้ง ย่าง ทอด 
     สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates)                              
     สารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon)

     นี่เป็นตัวอย่างสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่กำลังติดอันดับอยู่ในขณะนี้ 

         ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ  
ภาพผักผลไม้ที่มีประโยชน์

  ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ     ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และดูแลสุขภาพ  ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดสารพิษ ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงแหล่งแออัด รับอากาศบริสุทธิ์
อยู่เสมอ และบริหารจิตใจให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยค่ะ

          
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. นักวิทยาศาสตร์ศึกษามัมมี่เพื่อตรวจหาโรคชนิดใด
        2. สารก่อมะเร็งคืออะไร
        3. ยกตัวอย่างสารก่อมะเร็งมา 3 ชนิด 
        4. สารไนโตรซามีน เป็นสารก่อมะเร็งที่พบในอาหารประเภทใด   
        5. ยากำจัดเชื้อรา มีสารใดที่เป็นสารก่อมะเร็ง
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องสารก่อมะเร็ง จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้า และบอกวิธีการป้องกันตนเองจากสารก่อมะเร็ง
       3. ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลแหล่งที่มีการค้นพบมัมมี่

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย        นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์     นักเรียนนับจำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีสารก่อมะเร็งอยู่
                                                                    และทำสถิติว่าผลิตภัณฑ์ใดมีสารก่อมะเร็งมากที่สุด
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ  นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศและประวัติศาสตร์บริเวณ
                                                                    ที่ค้นพบมัมมี่                                                         
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ฯ      นักเรียนออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ตุ๊กตามัมมี่
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                นักเรียนวาดภาพมัมมี่
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อสารก่อมะเร็ง

ขอขอบคุณ  ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ ตรวจมะเร็งจากมัมมี่(Mummy)อียิปต์โบราณ
       สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย     
                     
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้

      1. https://www.thairath.co.th/content/life/120607
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/สารก่อมะเร็ง
      3. https://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=66&i2=35
      4. https://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=77
      5. https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Aflatoxin_b1_3d_structure.png
      6. https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/126/922/original_tutan2.jpg?1285882615
      7. https://www.foodsafety.bangkok.go.th/newweb/picture/news_1240201378_9666.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3272

อัพเดทล่าสุด